คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 200

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7380/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันสืบพยานก่อนครบกำหนดเวลายื่นคำให้การ ถือเป็นกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะเข้าใจผิดเรื่องวันนัด
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ (ชั้นขอให้พิจารณาใหม่) ++
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (10) "วันสืบพยาน" หมายความว่าวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน
โจทก์ยื่นคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันให้รับฟ้องและนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เวลา 9 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยได้โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน2541 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำให้การได้ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 ฉะนั้นวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นวันสืบพยานโจทก์นัดแรกนั้นแม้โจทก์และพยานโจทก์จะมาศาลก็ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ได้เพราะยังไม่พ้นระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้เลื่อนคดีเพื่อรอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลายื่นคำให้การหากจำเลยไม่ยื่นคำให้การ วันที่ 21 กรกฎาคม2541 จึงมิใช่ "วันสืบพยาน" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้ไปศาลในวันดังกล่าวโดยเข้าใจว่าวันนัดคลาดเคลื่อนไปเพราะความผิดพลาดของโจทก์ แต่ก็เป็นคนละเหตุที่จะให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความสองคนขาดนัดศาล แม้คนหนึ่งป่วย ศาลถือจงใจขาดนัด เหตุอีกคนสามารถดำเนินคดีแทนได้
แม้ตัวจำเลยหรือทนายจำเลยเพียงคนเดียวลงชื่อทราบวันนัดของศาล ก็ต้องถือว่าตัวจำเลยและทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลแล้ว การที่ ว. ทนายจำเลยลงชื่อทราบวันนัดของศาล จึงต้องถือว่า พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งทราบวันนัดของศาลด้วยทุกครั้ง ที่จำเลยอ้างว่า ว. เจ็บป่วย พ. ทนายจำเลยอีกคนหนึ่งก็สามารถที่จะดำเนินคดีแทนได้ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองคนไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัด และไม่มีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความขาดนัดและจำเลยแถลงไม่ติดใจดำเนินคดี
คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด ต้องถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 200 วรรคแรกโดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6674/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ไปศาล
คดีแพ่งระหว่างโจทก์ทั้งห้าและจำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 5 ที่ 6 และที่ 7กับโจทก์ทั้งห้าต่างไม่ไปศาลตามวันเวลานัด ต้องถือว่าคู่ความ ทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4แถลงไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีกรณีดังกล่าวบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคแรก โดยศาลไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 5ที่ 6 และที่ 7 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งขาดนัดพิจารณาต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบเหตุ หากเกินกำหนดสิทธิขาด
ในวันนัดพิจารณาคำร้องขอปฏิเสธหนี้ผู้ร้องไม่ไปศาลศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาผู้ร้องยื่นคำร้องว่าไม่ทราบกำหนดนัดมาก่อนขอให้เพิกถอนคำสั่งเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่เกี่ยวกับการพิจารณาโดยขาดนัดในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมอันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา27ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา153ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่5กรกฎาคม2536ฉบับหนึ่งมาแล้วแสดงว่าผู้ร้องทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วอย่างช้าวันที่5กรกฎาคม2536แต่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อวันที่11สิงหาคม2536ซึ่งช้ากว่าแปดวันนับแต่ผู้ร้องทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ กรณีที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณาได้ต้องปรากฏว่าคู่ความฝ่ายนั้นทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาลเมื่อผู้ร้องยังโต้เถียงข้อเท็จจริงอยู่ว่าผู้ร้องไม่ทราบกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงมิใช่การขอพิจารณาคดีใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดสืบพยานที่ถูกต้องตามกฎหมาย การขาดนัดพิจารณาคดี และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองมิได้เพราะบ้านของจำเลยทั้งสองตามภูมิลำเนาที่โจทก์ฟ้องได้ถูกรื้อถอนไปแล้วโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า"อนุญาต"ซึ่งเท่ากับอนุญาตให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เท่านั้นแต่ศาลชั้นต้นกลับประกาศหนังสือพิมพ์นัดสืบพยานโจทก์ด้วยโดยไม่ปรากฎว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้โจทก์ทราบจึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วแม้จะปรากฎว่าทนายโจทก์ได้ส่งโทรสารแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจไปศาลในวันนั้นได้แต่ตามโทรสารทนายโจทก์ก็เข้าใจว่าเป็นวันนัดพร้อมไม่พอฟังว่าทนายโจทก์ได้ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์เช่นกันดังนั้นที่ศาลชั้นต้นถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา200จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสียแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยการประกาศทางหนังสือพิมพ์ และผลกระทบต่อการนัดสืบพยานที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทั้งสองมิได้เพราะบ้านของจำเลยทั้งสองตามภูมิลำเนาที่โจทก์ฟ้องได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลง ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันว่า"อนุญาต" ซึ่งเท่ากับอนุญาตให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่ศาลชั้นต้นกลับประกาศหนังสือพิมพ์นัดสืบพยานโจทก์ด้วย โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้โจทก์ทราบ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว แม้จะปรากฏว่าทนายโจทก์ได้ส่งโทรสารแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่อาจไปศาลในวันนั้นได้ แต่ตามโทรสารทนายโจทก์ก็เข้าใจว่าเป็นวันนัดพร้อม ไม่พอฟังว่าทนายโจทก์ได้ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์เช่นกัน ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 200จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสีย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดี ศาลชอบด้วยกฎหมายหากโจทก์ไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
เมื่อโจทก์จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีแม้โจทก์จะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ได้มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถยนต์ขัดข้องก็ตามก็มิใช่กรณีศาลสั่งจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลงหรือผิดระเบียบ จะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีไม่ได้ และกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ขอพิจารณาใหม่เพียงแต่ให้โจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเข้ามาใหม่ภายในอายุความเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4210/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดี: ศาลชอบที่จะจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ทราบวันนัดแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุ
โจทก์ทราบวันนัดสืบพยานโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดี แม้โจทก์จะอ้างว่าเหตุที่มิได้มาศาลตามกำหนดนัดเกิดเพราะรถยนต์ขัดข้องก็มิใช่กรณีที่ศาลจำหน่ายคดีไปโดยผิดหลงหรือผิดระเบียบ อันจะเป็นเหตุให้เพิกถอนคำสั่งได้และการที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์ที่จะขอให้พิจารณาใหม่ โจทก์เพียงแต่มีสิทธิที่จะเสนอคำฟ้องเข้ามาใหม่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200
of 5