คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 200

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานไม่ได้บัญญัติไว้
บทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40,41 นั้น เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องแล้วได้สั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลจำหน่ายคดีถูกต้อง โจทก์ขอพิจารณาใหม่มิได้ มีสิทธิฟ้องใหม่เท่านั้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุที่คู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 การที่โจทก์ร้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปหรือขอให้ศาลนัดสืบพยานจำเลยต่อไป โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่จงใจขาดนัดก็คือการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั่นเอง คำว่า "ขาดนัดพิจารณา" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 ต้องถือตามมาตรา 197 วรรคสอง ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันสืบพยานโดยมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนลงมือสืบพยานมาตรา 197 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยไม่มีข้อที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพราะการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่ จะกล่าวอ้างได้เฉพาะเมื่อมีการพิจารณาฝ่ายเดียวและมีการขอให้พิจารณาคดีใหม่เท่านั้น เมื่อโจทก์และจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 197 วรรคสองและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามมาตรา 200 เสร็จสิ้นไปแล้วย่อมไม่มีการพิจารณาฝ่ายเดียวอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ สิทธิของโจทก์มีอยู่ทางเดียวตามมาตรา 200 วรรคสอง คือฟ้องคดีใหม่ภายในอายุความเท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากความผิดพลาดในการจดวันนัดพิจารณา ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดี โดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากความผิดพลาดในการจดวันนัดพิจารณา และการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาดเนื่องจากวันนัดสืบพยานไม่ตรงกับที่ศาลจดไว้ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ตามมาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527 ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดีโดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี: ความรับผิดชอบของเสมียนทนาย และผลของการไม่ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดโจทก์จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีฝ่ายใดร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ดังนี้ โจทก์จะมาร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เนื่องจากได้มอบให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่เสมียนทนายเชื่อตามบัญชีนัดความซึ่งปิดไว้ที่กระดานหน้าศาลที่ระบุว่าศาลนัดพิจารณาตอนบ่าย จึงมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในตอนเช้า หาได้ไม่ เพราะเสมียนทนายโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลตามที่ได้รับมอบหมาย การที่เสมียนทนายโจทก์ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำจะถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: หน้าที่ของทนายความและเสมียนทนายในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์จำเลยทราบนัดโดยชอบแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดโจทก์จำเลยไม่มาศาลโดยไม่มีฝ่ายใดร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 ดังนี้ โจทก์จะมาร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณา เนื่องจากได้มอบให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี แต่เสมียนทนายเชื่อตามบัญชีนัดความซึ่งปิดไว้ที่กระดานหน้าศาลที่ระบุว่าศาลนัดพิจารณาตอนบ่าย จึงมิได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในตอนเช้า หาได้ไม่ เพราะเสมียนทนายโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลตามที่ได้รับมอบหมาย การที่เสมียนทนายโจทก์ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำจะถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดระเบียบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อการพิจารณาใหม่ และสิทธิในการฟ้องคดีใหม่
โจทก์จำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา ซึ่งจำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน ศาลจำหน่ายคดี โจทก์ได้แต่ฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 200 วรรค 2 โจทก์ขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
of 5