คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 227

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 170 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของร่วมแบ่งแยกที่ดินก่อนจำเลยซื้อฝาก และจำเลยรู้เห็นยินยอมการแบ่งแยก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวมกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดินจากเจ้าของรวมคนนั้น เมื่อโจทก์กับเจ้าของรวมได้รังวัดเพื่อแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนที่โจทก์ครอบครอง จำเลยก็รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมาจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่รับซื้อฝาก ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดแบ่งแยกไว้ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยรับซื้อฝากที่ดิน หาใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาหรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความไม่ กรณีเช่นนี้แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมาย เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไว้ ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำร้องขัดทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ราคาซื้อขายที่แท้จริงแทนราคาประเมินเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลักษณะ 6 หมวดที่ 3 ส่วนที่ 2 ว่าด้วยความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งหมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีว่าคยามรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายใดเพียงใด อันเป็นดุลพินิจของศาลส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก่อนที่จะรับคำร้องขอไว้พิจารณาอันเป็นการสั่งชั้นตรวจรับคำร้องขอของผู้ร้องตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องมีทุนทรัพย์ 500,000 บาท แต่ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์เพียง 220,000 บาท อันถือว่าคำร้องขอนั้นมิได้ปิดแสตมป์สมบูรณ์ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ คือ เสียค่าขึ้นศาลให้ครบได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอนั้น คำสั่งไม่รับคำคู่ความเช่นนี้ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227,228,247
ศาลชั้นต้นสั่งว่า คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลที่จะร้องขอ ซึ่งเท่ากับสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาของผู้ร้อง แล้วสั่งต่อไปว่า ถ้าผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในกำหนด 15 วัน ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดก็ให้ถือว่าทิ้งคำร้อง และสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มผู้ร้องมิได้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าให้ถือว่าทิ้งคำร้องนั้นมีผลแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่า ทิ้งคำร้อง เป็นการคลาดเคลื่อนผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีขัดทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ราคาซื้อขายจริง แม้ต่างจากราคาประเมินเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลักษณะ 6 หมวดที่ 3 ส่วนที่ 2 ว่าด้วยความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งหมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีว่าความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายใดเพียงใด อันเป็นดุลพินิจของศาลส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก่อนที่จะรับคำร้องขอไว้พิจารณา อันเป็นการสั่งชั้นตรวจรับคำร้องขอของผู้ร้องตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องมีทุนทรัพย์ 500,000 บาท แต่ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์เพียง 220,000 บาท อันถือว่าคำร้องขอนั้นมิได้ปิดแสตมป์สมบูรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ คือ เสียค่าขึ้นศาลให้ครบได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอนั้น คำสั่งไม่รับคำคู่ความเช่นนี้ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227,228 และ 247
ศาลชั้นต้นสั่งว่า คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลที่จะร้องขอ ซึ่งเท่ากับสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาของผู้ร้อง แล้วสั่งต่อไปว่า ถ้าผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในกำหนด 15 วัน ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดก็ให้ถือว่าทิ้งคำร้อง และสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มผู้ร้องมิได้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าให้ถือว่าทิ้งคำร้องนั้นมีผลแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่า ทิ้งคำร้อง เป็นการคลาดเคลื่อนผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซ้ำซ้อน: สิทธิฟ้องระงับเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดเดิม แม้ฟ้องคดีใหม่ภายหลัง
คดีก่อนผู้เสียหายฟ้องจำเลยที่ 1 ให้คดีนี้ในข้อหาบุกรุก ความผิดต่อเสรีภาพ และทำให้เสียทรัพย์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง ต่อมาพนักงานอัยการได้นำการกระทำอันเดียวกันกับคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกในข้อหาบุกรุก แม้คดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน คดีถึงที่สุดหลักจากที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีนี้ก็ตาม ก็ถือได้ว่าสำหรับจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธิของพนักงานอัยการที่นำคดีนี้มาฟ้องจึงระงับไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) มุ่งหมายถึงการกระทำก่อให้เกิดความผิดนั้น ๆ หาได้หมายถึงฐานความผิดที่ขอให้ลงโทษจำเลยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2509)
แม้จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็ตาม แต่ก็ย่อมได้รับผลตามคำพิพากษา เพราะคำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยไว้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกศาลจึงต้องยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น, สิทธิอุทธรณ์, การฟ้องสองฐานะ
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว มิได้ฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยข้อกฎหมายมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นได้ (อ้างฎีกาที่ 1689/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การงดสืบพยาน, คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น, สิทธิอุทธรณ์, การวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องคำให้การแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว มิได้ฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยข้อกฎหมายมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานโดยอาศัยข้อเท็จจริงในคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นนั้นได้ (อ้างฎีกาที่ 1689/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2292/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่อนุญาตยื่นคำให้การพ้นกำหนด – คำสั่งระหว่างพิจารณา – ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยมิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ โดยยังมิได้ตรวจดูคำให้การจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18แต่เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199และเป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างการพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การหลังขาดนัด และการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาคดี
จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่า การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจ ไม่มีเหตุควรอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ให้ยกคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งตามมาตรา 199 ซึ่งเป็นคำสั่งโดยปกติในระหว่างพิจารณาของศาลก่อนที่จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามาตรา 172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เพื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นไดว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 45
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พ.ต.อ.ป.กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่
of 17