คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 227

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 170 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามมาตรา172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้ เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พล.ต.อ. ป. กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจหาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องไต่สวนสถานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยเบื้องต้น
คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่า ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก และเมื่อไต่สวนได้ความดังกล่าวแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านนั้น เป็นคำร้องที่เกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริง มิใช่คำร้องที่ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้งขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคแรก
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของผู้ร้องว่า ต้องฟังพยานหลักฐานก่อน ให้ยกคำร้องก็หาใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันจะทำให้คดีเสร็จไปได้ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อตามมาตรา 24 วรรค 2 ไม่ หาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งผู้ร้องจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอไต่สวนสถานะสามีโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลไม่ชี้ขาดเบื้องต้นได้
คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่า ผู้คัดค้านไม่ได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก และเมื่อไต่สวนได้ความดังกล่าวแล้ว ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านนั้นเป็นคำร้องที่เกี่ยวกับปัญหาข้อเท็จจริง มิใช่คำร้องที่ยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้าง ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นก่อนดำเนินการพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคแรก
ส่วนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของผู้ร้องว่าต้องฟังพยานหลักฐานก่อน ให้ยกคำร้องก็หาใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันจะทำให้คดีเสร็จไปได้ทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อตามมาตรา 24 วรรคสอง ไม่ หาเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งผู้ร้องจะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: สิทธิในการยื่นคำขอใหม่หลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งถึงที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น. ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา. และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย. จึงไม่ต้องห้ามฎีกา.
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด. หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง. คืออาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน. หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง. ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด. ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511).
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว. หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง. ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก. จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอความช่วยเหลือทางศาล (คนอนาถา) และสิทธิในการนำเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังมีคำสั่งยกคำขอ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย จึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ว่าตนเป็นคนยากจน หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511)
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรค 4 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นโจทก์/จำเลยอนาถา: สิทธิในการยื่นคำขอใหม่หลังศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วเป็นที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย จึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511)
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลย ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 นั้นถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามาในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่ และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้นเมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้ว และจำเลยต้องชำระหนี้แล้วจึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ไม่ใช่คำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในกรณีร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57นั้น ถ้าบุคคลภายนอกมีคำขอสอดเข้ามาในคดีเพื่อเป็นคู่ความร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือไม่ร่วมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จะต้องแสดงเหตุที่จะขอเข้ามาในคดี คำขอเช่นนี้เป็นคำคู่ความตามฝ่ายที่เข้าร่วม หรือถ้าไม่เป็นฝ่ายใด แต่เพื่อบังคับตามสิทธิของตนก็เป็นคำฟ้อง ในกรณีที่ถูกเรียกให้เข้ามาในคดีเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็ต้องยื่นเอกสารแสดงเหตุว่าเข้ามา ในคดีเพราะเหตุใด ถ้าถูกเรียกเข้ามาเป็นฝ่ายจำเลย จะต้องยื่นคำให้การด้วย ตามมาตรา 177 วรรคท้าย ดังนี้ คำขอและเอกสารแสดงเหตุที่สอดเข้ามาจึงจัดว่าเป็นคำคู่ความถ้าศาลมีคำสั่งไม่ให้เข้ามาในคดี ย่อมมีผลเป็นการไม่รับคำคู่ความ แต่คำขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี ยังไม่มีการขอเข้ามาหรือแสดงเหตุที่เข้ามาเป็นคู่ความ หาใช่เป็นคำคู่ความไม่และมิใช่เป็นการตั้งประเด็นเพราะมิได้เป็นข้อเถียงหรือข้อแก้คำฟ้องแต่ประการใดคำสั่งคำขอชนิดนี้จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
คำขอให้เรียกคนภายนอกเข้ามาเป็นจำเลย มิใช่คำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 228(2) เพราะถ้าจำเลยแพ้คดีจะได้ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกที่จะเรียกเข้ามา ประโยชน์อย่างนี้มิใช่ประโยชน์ในระหว่างพิจารณาเพราะประโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อศาลพิพากษาคดีให้จำเลยแพ้แล้วและจำเลยต้องชำระหนี้แล้ว จึงจะรับช่วงสิทธิของโจทก์ไปไล่เบี้ยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์ทันที
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้อง ไม่เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของโจทก์เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเป็นจำเลยร่วม ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้อง ไม่เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามคำร้องขอของโจทก์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณา
of 17