คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 227

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 170 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง การอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจสั่งให้รับฎีกาหรือไม่นั้น เป็นอำนาจเฉพาะของศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
ศาลชั้นต้นสั่งตำหนิไม่รับฎีกาฉบับแรกของผู้ร้องผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่ยอมทำฎีกาฉบับใหม่มายื่นแทน ในฎีกาชั้นนี้ผู้ร้องจะย้อนอ้างว่าฎีกาตามสิทธิในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 อีกไม่ได้เพราะคำสั่งศาลแพ่งที่ติอุทธรณ์ของผู้ร้องขาดตอนไปแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227,228 เป็นเรื่องคำสั่งไม่รับคำคู่ความของศาลชั้นต้นในกรณีอื่นไม่ใช่กรณีไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลก่อนพิพากษาห้ามอุทธรณ์ เว้นแต่มีการโต้แย้ง และศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้สืบพยานใหม่ได้
(1) ตามาตรา 226 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นั้น หมายความว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น ถ้ามิใช่คำสั่งมาตรา 227, 228 แล้วห้ามอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา แต่ถ้าได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลพิพากษาหรือชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว ฉะนั้น ถ้าไม่ได้แย้งไว้ ก็อุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้
(2) การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น ของฝ่ายผู้ค้าน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228 และถือว่าเป็นคำสั่งก่อนพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาด ตัดสินคดีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 226
(3) นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจนถึงวันฟังคำสั่งตัดสินชี้ขชาดคดีซึ่งมีเวลาที่จะคัดค้านคำสั่งได้ถึง 10 วันนั้น ถือว่ามีเวลานานพอที่จะโต้แย้งแล้ว จึงอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานไม่ได้
(4) ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ว่ารับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยกคำสั่งชี้ขาดหรือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243 (2)
(ข้อ 3 ประชุมใหญ่ครั้งที่ 33/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012-1013/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมคำให้การหลังชี้สองสถานและการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งไม่อนุญาต รวมถึงประเด็นอายุความและค่าทนาย
(1) คำให้การเพิ่มเติมของจำเลยนั้น เป็นคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 1 (5) เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เพิ่มเติมก็เป็นการไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา 18 จึงอุทธรณ์และฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่งมาตรา มาตรา 228 (3) โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้
(2) คำให้การเพิ่มเติมนั้น จะต้องยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมเสียก่อนวันชี้สองสถาน ถ้าทำภายหลังและคดีก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) ค่าทนายความชั้น3ีกานั้น เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะโจทก์หรือทนายโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ในคำแก้ฎีกา ศาลย่อมไม่ให้
หมายเหตุ คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวกับข้อ (1) นั้น วินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2505

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นต้องเป็นคุณแก่ผู้ขอ หากไม่ใช่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้
จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ หากศาลชั้นต้นสั่งว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม คำสั่งเช่นนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้ศาลไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็น จึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดีล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกาคู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยื่นคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็นจึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้อง ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกา คู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอุทธรณ์ฎีกาจากใบแต่งทนายต้องระบุชัดเจน หากไม่ได้ระบุ ศาลไม่รับอุทธรณ์
ใบแต่งทนายโจทก์ไม่ได้ระบุข้อความให้แจ้งชัดว่าหมายมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์เอง ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทนายโจทก์ร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ยกคำร้องของหมายโจทก์ยืนตามศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมเป็นที่สุด จะฎีกาต่อมาไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอุทธรณ์ฎีกาของทนายต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนาย หากไม่ชัดเจนศาลไม่รับอุทธรณ์
ใบแต่งทนายโจทก์ไม่ได้ระบุข้อความให้แจ้งชัดว่าทนายมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์เอง ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทนายโจทก์ร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ยกคำร้องของทนายโจทก์ยืนตามศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดจะฎีกาต่อมาไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอุทธรณ์ฎีกาของทนายต้องระบุชัดเจนในใบแต่งทนาย หากไม่ได้ระบุ ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์และคำสั่งเป็นที่สุด
ใบแต่งทนายโจทก์ไม่ได้ระบุข้อความให้แจ้งชัดว่าทนายมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์เอง ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทนายโจทก์ร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์สั่งให้ยกคำร้องของทนายโจทก์ยืนตามศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมเป็นที่สุดจะฎีกาต่อมาไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดในที่สาธารณะ & การเพิ่มเติมฟ้องความเสียหายสืบเนื่อง
เดิมโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยถมคูและเปิดทางน้ำให้โจทก์แล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าเนื่องจากจำเลยขุดคูกั้นน้ำเป็นเหตุให้ต้นข้าวตาย เสียหาย 3,600 บาทขอให้จำเลยร่วมกันใช้ ดังนี้ศาลอนุญาตให้เพิ่มเติมฟ้องได้เพราะคำฟ้องเพิ่มเติมนั้นเป็นเรื่องความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากการละเมิดตามฟ้องเดิม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
ลำห้วยที่จำเลยขุดกั้นน้ำนั้นแม้จะเป็นที่สาธารณะเมื่อโจทก์แสดงว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำโดยตรงของจำเลยดังนี้แล้วโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ปัญหาใดที่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องได้แล้ว คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาข้อนั้นได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2498)
of 17