คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวน
ป.รัษฎากร มาตรา 14 บัญญัติว่า ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน และมาตรา 15 บัญญัติว่า เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภท แต่ในหมวด 6 มิได้ระบุว่า อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรประเมินและไม่มีบทบัญญัติว่าไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น อากรแสตมป์จึงไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน เจ้าพนักงานจึงมีอำนาจเรียกเก็บค่าอากรแสตมป์ได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อน การที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บอากรแสตมป์จากโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การคืนเงินภาษี และการหักกลบลบหนี้ โดยต้องมีการแจ้งประเมินภาษีเป็นหนังสือเสียก่อน
เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 14 และมาตรา 77 และมาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเเจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2 ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลยยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว หากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี มูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 4,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว เมื่อจำเลยยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากผลการตรวจสอบดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8855/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หักกลบลบหนี้ไม่ได้ หากชำระโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย
เมื่อได้ความว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวน 5,964,000 บาทที่โจทก์ได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามการยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 แต่จำเลยเห็นว่าในการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการตามปกติเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2539 โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับเพิ่มเติม 2,800,000 บาท ในการยื่นแบบเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2539 โจทก์ต้องชำระเบี้ยปรับ 8,050 บาทซึ่งโจทก์ชำระไว้แล้ว 3,220 บาท คงเป็นเบี้ยปรับที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลยจำนวน 2,804,830 บาท เบี้ยปรับนี้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 89/2 ให้ถือเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 14 และมาตรา 77 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ประมวลรัษฎากร มาตรา 88/5 ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะสำหรับการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยกำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี ในกรณีนี้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามบทบัญญัติในส่วน 2 ของหมวด 2ลักษณะ 2 ก็ได้ การที่โจทก์เพียงแต่ได้รับแจ้งผลการตรวจสอบจากเจ้าพนักงานของจำเลย กรณีเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่ามีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีดังกล่าว อีกทั้งหากมีการแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.30) เพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์ได้ชำระภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มโดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระจำนวน 5,964,000 บาท และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (แบบ ค.10) แล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจนำเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับจำนวนเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์เนื่องจากการชำระภาษี โดยไม่มีหน้าที่ต้องชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม สินค้าคงเหลือ สถานประกอบการหลายแห่ง การยื่นคำขอรวม
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 14 และมาตรา 77 ซึ่งหากผู้ต้องเสียภาษีไม่ยื่นเสียภาษีหรือเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ ตรวจสอบพบแล้วจะทำการประเมินภาษีแล้วแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18เมื่อรับแจ้งแล้วผู้ต้องเสียภาษียังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาลต่อไปตามลำดับได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ก่อนทำการประเมินและแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษี ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ต้องเสียภาษีเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอนเมื่อยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอน ผู้ต้องเสียภาษีจึงยังไม่อาจที่จะตกลงสละสิทธิหรือประนีประนอมยอมความในหนี้ภาษีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ได้ ฉะนั้นข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ได้ทำไว้ก่อนมีการประเมินภาษีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับในข้อนี้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวยอมรับการอุทธรณ์รวมทั้งวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1เห็นว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้หนี้ภาษีอากรระงับและโจทก์มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามข้อต่อสู้และตามที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับอุทธรณ์การประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้อีก กรณียังฟังไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลง ของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้การเรียกร้องหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องจากโจทก์ระงับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/1(20) และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสี่นั้น แม้สถานที่เก็บสินค้าจะถือว่าเป็นสถานที่ประกอบกิจการซึ่งในกรณีปกติจะต้องยื่นคำขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือเป็นรายสถานประกอบการก็ดี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันแล้ว ในการขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอเครดิตรวมกัน คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้ว และโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือที่สำนักงานใหญ่ที่สาขาและที่เก็บสินค้ารวมกันแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในกรณีนี้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 6 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลงอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเลขที่ 19-23 ซอยพิชิตถนนมหาไชยแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้วย ในบัญชีระบุพยานโจทก์อ้างระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2535ลงวันที่ 6 มกราคม 2535 และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 22 กันยายน 2536 เป็นพยานแต่ศาลภาษีอากรกลางมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและการสละสิทธิในหนี้ภาษี การประเมินภาษีเกิดขึ้นก่อนสิทธิในการประนีประนอมยอมความ
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา14 และมาตรา 77 ซึ่งหากผู้ต้องเสียภาษีไม่ยื่นเสียภาษีหรือเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินเมื่อตรวจสอบพบแล้วจะทำการประเมินภาษีแล้วแจ้งจำนวนภาษีที่จะต้องชำระไปยังผู้ต้องเสียภาษี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 เมื่อรับแจ้งแล้วผู้ต้องเสียภาษียังมีสิทธิที่จะอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และต่อศาลต่อไปตามลำดับได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ก่อนทำการประเมินและแจ้งไปยังผู้ต้องเสียภาษี ยังไม่อาจถือได้ว่าผู้ต้องเสียภาษีเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอนเมื่อยังถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้ภาษีที่แน่นอน ผู้ต้องเสียภาษีจึงยังไม่อาจที่จะตกลงสละสิทธิหรือประนีประนอมยอมความในหนี้ภาษีนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 850 ได้ ฉะนั้นข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงที่โจทก์ได้ทำไว้ก่อนมีการประเมินภาษีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับในข้อนี้ ดังจะเห็นได้ว่าต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวต่อคณะกรรมการ-พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวยอมรับการอุทธรณ์รวมทั้งวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ ซึ่งหากจำเลยที่ 1 เห็นว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้หนี้ภาษีอากรระงับและโจทก์มีความผูกพันต้องชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามข้อต่อสู้และตามที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใดที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งการประเมินภาษีไปยังโจทก์ รวมทั้งไม่จำเป็นต้องรับอุทธรณ์การประเมินและวินิจฉัยอุทธรณ์ให้อีก กรณียังฟังไม่ได้ว่าบันทึกข้อตกลงของโจทก์เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันมีผลทำให้การเรียกร้องหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องจากโจทก์ระงับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินพร้อมทั้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (20) และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสี่นั้น แม้สถานที่เก็บสินค้าจะถือว่าเป็นสถานที่ประกอบกิจการซึ่งในกรณีปกติจะต้องยื่นคำขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือเป็นรายสถานประกอบการก็ดี แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกันแล้ว ในการขอเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวยื่นคำขอเครดิตรวมกัน คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับอนุมัติจากอธิบดีของจำเลยที่ 1ให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกันแล้ว และโจทก์ก็ได้ยื่นคำขอเครดิตในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าคงเหลือที่สำนักงานใหญ่ ที่สาขาและที่เก็บสินค้ารวมกันแล้ว นอกจากนี้ยังปรากฏว่าอธิบดีของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในกรณีนี้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีสำหรับสินค้าคงเหลือของโจทก์ที่เก็บไว้ในคลังสินค้าเลขที่ 9/2 หมู่ที่ 6 ถนนบางนา-ตราด ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการ และที่เลขที่ 19 - 23 ซอยพิชิต ถนนมหาไชย แขวง-วังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ด้วย
ในบัญชีระบุพยานโจทก์อ้างระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแสดงแบบรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2535 ลงวันที่ 6 มกราคม2535 และระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติงานกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2536 ลงวันที่ 22 กันยายน 2536 เป็นพยานแต่ศาลภาษีอากรกลางมิได้นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงแต่อย่างใดฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของโจทก์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินภาษีที่ชำระโดยมิชอบ และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากรของผู้ประกอบการ
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร การที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจกท์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลัก จึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้น กรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนภาษีที่ชำระเกิน สิทธิเรียกร้องไม่เป็นลาภมิควรได้ และการประเมินภาษี
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรการที่จำเลยเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่โจทก์ชำระก็โดยอาศัยประมวลรัษฎากรเป็นหลักจึงเป็นการได้มาโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ขณะรับทรัพย์นั้นกรณีมิใช่ลาภมิควรได้อันจะขาดอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้ายื่นคำขอชำระค่าภาษีเอง มิใช่โดยการประเมินของเจ้าพนักงานตามมาตรา 87 หรือ 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่มาตรา 77 ทวิ บัญญัติว่า ภาษีการค้าเป็นภาษีอากรประเมินก็เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 14 หาใช่หมายความว่าภาษีการค้าทุกรายแม้ผู้ประกอบการค้าชำระภาษีเอง จักต้องถือว่าได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอุทธรณ์ตามมาตรา 30 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์เพียงแต่ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยาน มิได้ขอให้ชนะคดี จึงควรเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทต่างประเทศได้ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่ง และโจทก์ได้นำมาใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์แล้ว แต่บริษัทต่างประเทศส่งสินค้าซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นมาให้ขาดไป จึงได้ส่งเพิ่มเติมมาภายหลังคือสินค้าตามฟ้อง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาไว้ใช้แทนส่วนที่ชำรุด แต่บริษัทต่างประเทศที่ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ได้ส่งสินค้าตามฟ้องมาเพิ่มเติมเพราะส่งขาดไปเมื่อสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นที่ใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์จึงเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ได้รับยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคืนภาษีและการยกเว้นภาษีสำหรับส่วนประกอบเครื่องจักรชำรุด กรณีไม่ใช่ส่วนประกอบเดิม
โจทก์นำเข้าซึ่งสินค้า เมื่อสินค้าดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว โจทก์ได้ยื่นแบบใบขนสินค้านำเข้าแสดงรายการค้าและชำระภาษีศุลกากร ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจแบบที่ยื่นถูกต้องแล้วก็รับเงินภาษีอากรที่โจทก์ขอชำระ การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นนี้แม้ในส่วนภาษีการค้าจะได้กระทำแทนกรมสรรพากร ก็หาใช่เป็นการประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามาตรา 30 เสียก่อนฟ้อง เมื่อโจทก์เห็นว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นสินค้าอันได้รับยกเว้นภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และโจทก์มีหนังสือถึงกรมศุลกากรขอคืนเงินภาษีที่ได้ชำระไปนี้แล้ว แต่กรมศุลกากรและกรรมสรรพากรไม่ยอมคืนให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีดังกล่าวได้
โจทก์ได้นำเครื่องจักรพร้อมทั้งส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรนำเข้ามาในราชอาณาจักรทำการใช้งานผลิตสินค้ามาเป็นเวลานานแล้ว ส่วนสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งนี้มิใช่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่ แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลัง เพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด จึงหาใช่สินค้าที่จะได้รับการยกเว้นภาษีตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(11) ไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2519 และ 22/2519
of 2