พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13730/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้, การคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, และการหักเงินที่ชำระออกจากหนี้
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้อำนาจธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราดอกเบี้ยส่วนต่างสูงสุดที่จะใช้บวกกับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรืออัตรา เอ็ม.โอ.อาร์. เป็นอัตราสูงสุดที่จะเรียกจากลูกค้าทั่วไป หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้แตกต่างระหว่างลูกค้ารายย่อยชั้นดีกับลูกค้าทั่วไปด้วยวิธีบวกส่วนต่างเข้ากับอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี แต่ทั้งนี้เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จะเรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป มิใช่ธนาคารพาณิชย์จะกำหนด "ส่วนต่างที่จะใช้บวก" ได้โดยไม่มีหลักเกณฑ์กำกับ
ดอกเบี้ยที่กำหนดในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเขียนเป็นตัวอักษรว่า คิดในอัตราร้อยละ เอ็ม.โอ.อาร์ บวก 1.25 ต่อปี แต่เขียนเป็นตัวเลขอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี แตกต่างกันเพราะอัตราดอกเบี้ย เอ็ม.โอ.อาร์ ตามประกาศโจทก์ในขณะนั้นเท่ากับอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เมื่อคิดตามตัวอักษรจะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี เมื่อตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ จึงต้องถือเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวอักษร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 12 และ 13
เมื่อต้องมีการคำนวณหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่โดยใช้ดอกเบี้ยตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนด จึงต้องนำเงินที่จำเลยนำเข้าชำระรวมทั้งสิ้น 7 ครั้งไปหักออกจากหนี้ที่ค้างชำระด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้พิพากษาให้หักเงินดังกล่าวออกไม่ถูกต้อง
ดอกเบี้ยที่กำหนดในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเขียนเป็นตัวอักษรว่า คิดในอัตราร้อยละ เอ็ม.โอ.อาร์ บวก 1.25 ต่อปี แต่เขียนเป็นตัวเลขอัตราร้อยละ 14.75 ต่อปี แตกต่างกันเพราะอัตราดอกเบี้ย เอ็ม.โอ.อาร์ ตามประกาศโจทก์ในขณะนั้นเท่ากับอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เมื่อคิดตามตัวอักษรจะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13.25 ต่อปี เมื่อตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ จึงต้องถือเอาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวอักษร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 12 และ 13
เมื่อต้องมีการคำนวณหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่โดยใช้ดอกเบี้ยตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนด จึงต้องนำเงินที่จำเลยนำเข้าชำระรวมทั้งสิ้น 7 ครั้งไปหักออกจากหนี้ที่ค้างชำระด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิได้พิพากษาให้หักเงินดังกล่าวออกไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ระบุตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลฎีกาเห็นว่าประเมินชอบแล้ว หากตัวเลขชัดเจน
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะที่ระบุจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเป็นตัวเลขและตัวอักษรต่างกันเป็นเรื่องของความผิดพลาดในการทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ ย่อมไม่สามารถระบุเหตุผลได้ว่าเป็นเพราะเหตุใด เพราะเจ้าพนักงานเองก็เพิ่งมาทราบภายหลัง ซึ่งหากเจ้าพนักงานประเมินทราบความผิดพลาด เจ้าพนักงานประเมินย่อมต้องแก้ไขความผิดพลาดดังกล่าวก่อนส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่โจทก์ สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ให้เหตุผลที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะได้ระบุตัวเลขเป็นรายการเงินภาษี เงินเพิ่มและภาษีส่วนท้องถิ่น รวมเป็นเงินภาษีที่ต้องชำระไว้ชัดเจนแล้ว การที่ระบุตัวอักษรคลาดเคลื่อนไปจากรายการที่เป็นตัวเลข หาใช่กรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงตาม ป.พ.พ. มาตรา 12 ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงเป็นการชอบแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวหาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความจำนวนเงินในคำฟ้อง: ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขกับเจตนาของผู้ฟ้อง
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุ ล.ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุ มีจำเลยที่ 1ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามาชนรถที่ ล.ขับทำให้รถของนายลองที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน102,742 บาท โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่าให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 104,347บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยยี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้นจึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณตาม ป.พ.พ.มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขและตัวอักษรในคำฟ้อง ค่าเสียหายที่ศาลควรพิจารณาตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินสามจำนวน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลข ไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนา อันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษร เป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความเจตนาจริงจากคำขอท้ายฟ้องที่มีตัวเลขและตัวอักษรไม่ตรงกัน ศาลยึดเจตนาที่ชัดเจน ไม่ใช่ตัวอักษรตามกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุล. ได้ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปตามถนนเมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 สวนทางมาด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังล้ำเส้นกึ่งกลางถนนเข้ามา ชนรถที่ ล. ขับทำให้รถของ ล. ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้จัดการซ่อมแซมรถยนต์ คันดังกล่าวไปเป็นจำนวนเงิน 101,492 บาท และค่ายกลากรถ 1,250 บาท รวมเป็นเงิน 102,742 บาท โจทก์จึง ได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ดอกเบี้ยนับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,605 บาท จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันหรือแทนกันใช้เงิน 104,347 บาท ให้โจทก์ และในคำขอท้ายคำฟ้องระบุว่า ให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระค่าเสียหาย แก่โจทก์จำนวน 104,347 บาท แล้วมีข้อความในวงเล็บว่า(หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) คำฟ้องของโจทก์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย 104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเงินสามจำนวนเมื่อรวมกัน แล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บ ต่อท้าย 104,347 บาทว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน)นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็น ตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและการแก้ไขเช็คพิพาท: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์จำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุเจ็บป่วยมาหลายนัดและในการอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีที่แล้วมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับจำเลยและกำหนดเงื่อนไขการเลื่อนคดีของจำเลยในเหตุเจ็บป่วยหากจะมีอีกไว้แล้วแต่จำเลยไม่นำพาจะปฏิบัติตามพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ศาลกำชับไว้เป็นการประวิงคดีศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะมีคำสั่งว่าจำเลยประวิงคดีแม้จะเป็นคำสั่งในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกก็ตาม การแก้ไขจำนวนเงินในเช็คพิพาทที่เป็นตัวเลขให้ตรงกับจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรโดยไม่ทราบเจตนาของจำเลยผู้สั่งจ่ายไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้มีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็ค
จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทแม้ผู้ที่แก้ไขรายการเช็คพิพาทช่องจำนวนเงินให้ตรงกับยอดจำนวนเงินที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่จำเลยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดเพราะแม้ไม่มีการแก้ไขดังกล่าวจำเลยก็ต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ลงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12อยู่แล้วการแก้ไขนั้นจึงไม่ใช่การแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้เช็คพิพาทเสียไปตามมาตรา1007วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทจำนวนเงินไม่ตรงกัน ศาลใช้จำนวนเงินตามตัวอักษร และแก้ไขคำสั่งค่าทนายความ
จำเลยเป็นผู้เขียนจำนวนเงินในเช็คพิพาท แต่เขียนจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน เมื่อศาลไม่อาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงต้องถือเอาจำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ โดยที่โจทก์และทนายโจทก์มิได้แก้อุทธรณ์หรือยื่นคำร้องหรือกระทำการใด ๆ ต่อศาลอันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติในการดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งตัวเลข-ตัวอักษรในเอกสารฝากเงิน ศาลพิจารณาหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของผู้ฝาก
ในกรณีที่ตัวเลขกับตัวหนังสือในเอกสารแตกต่างกัน ถ้าเป็นเรื่องที่ศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ จึงให้รับฟังความจริงตามตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อาจนำสืบความจริงให้ปรากฏแก่ศาลได้ จะยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการฝากเงิน: ศาลพิจารณาตัวเลขและตัวหนังสือในเอกสารเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินที่แท้จริง
ในกรณีที่ตัวเลขกับตัวหนังสือในเอกสารแตกต่างกันถ้าเป็นเรื่องที่ศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงให้รับฟังความจริงตามตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อาจนำสืบความจริงให้ปรากฏแก่ศาลได้จะยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12มาบังคับไม่ได้