คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพล พันธุมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันในหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดและหนังสือรับสภาพหนี้
หนังสือค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างไม่มีจำกัด กับมีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองให้ไว้ต่อโจทก์ และมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 683,715 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์โดยยินยอมรับผิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น จำเลยที่ 2และที่ 3 หาจำต้องรับผิดร่วมด้วยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตนจะต้องรับผิดแต่แรกไม่เพราะเป็นความรับผิดคนละส่วนกัน
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินโจทก์ไป เป็นหนี้คนละจำนวนกับหนี้ตามฟ้องในคดีอาญาเรื่องก่อน การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คดีนี้ได้เคยแถลงไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่าผู้เสียหายตกลงกับจำเลยได้โดยผู้เสียหายได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ในคดีก่อนเท่านั้น หาใช่เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ในคดีนี้ไม่ เช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในคดีนี้จึงมีมูลหนี้อยู่จริงและหนี้นั้นยังไม่ระงับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งศาล การที่จำเลยอ้างเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถมาศาลได้ทันเวลา ถือเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลได้
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสามในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องชี้แจงเหตุผลในการที่จำเลยทั้งสามมีความจำเป็นจะต้องขอเลื่อนการสืบพยานเนื่องจากในระหว่างเดินทางมาศาล ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์บรรทุกสิบล้อชนกับรถยนต์บรรทุกหกล้อเป็นเหตุให้ขวางการจราจร ทำให้รถยนต์ประจำทางที่จำเลยที่ 3 นั่งมาเสียเวลาและจำเลยที่ 3 เดินทางมาถึงศาลเวลา 9.40 น.ทั้งเสียเวลาหาห้องพิจารณาคดี จึงรออยู่จนทนายจำเลยทั้งสามมาพบ ขอให้ศาลนำคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบต่อสู้คดี กรณีเช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 3ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้ว จำเลยที่ 3จึงอุทธรณ์ฎีกาได้ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 นั้น ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสามเลื่อนคดีและถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีพยานมาสืบ งดสืบพยานจำเลยทั้งสามนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 และที่ 2มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ทั้งที่มีโอกาสจะโต้แย้งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำเขตอุทยานฯ ด้วยสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว ศาลฎีกาเห็นควรให้ปรับโทษและรอการลงโทษ
สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยปลูกรุกล้ำเขตอุทยานแห่งชาติเป็นเพียงโรงไม้เล็ก ๆหลังเดียวแม้จะมีเสาปูนและฝาผนังบางส่วนเป็นคอนกรีตแต่สภาพก็ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างที่ถาวรมากนักพอที่จะเคลื่อนย้ายรื้อถอนออกได้ ทั้งบริเวณที่ปลูกสร้างเป็นที่โล่งริมทะเลใกล้สิ่งปลูกสร้างอื่นที่ปลูกอยู่ก่อนโดยชอบแล้ว ลักษณะไม่เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมจำพวกต้นไม้ หิน ลำธาร แหล่งน้ำ หรือหาดทราย ให้ได้รับความเสียหายจนเกิดเหตุพฤติการณ์แห่งคดียังไม่ร้ายแรง สมควรรอการลงโทษให้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำควรลงโทษปรับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐานประกอบกับพยานอื่น และข้อผิดพลาดในการคำนวณโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจจึงนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 2 ปี 4 เดือน เป็นการคำนวณโทษผิดพลาด ที่ถูกเป็น2 ปี 8 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำสารภาพและการคำนวณโทษผิดพลาด ศาลฎีกาไม่สามารถแก้ไขโทษให้ได้
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจจึงนำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 4 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 2 ปี 4 เดือน เป็นการคำนวณโทษผิดพลาด ที่ถูกเป็น 2 ปี 8 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนด ผู้ครอบครองไม่แจ้งการครอบครองไม่มีสิทธิ
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่ง ป.ที่ดิน โดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ร.บ.ให้ใช้ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตาม ป.ที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลง เป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินเกาะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวง หากไม่มีหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด จะขอออกไม่ได้
ที่ดินทั้ง 2 แปลง ที่โจทก์ขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นที่ดินที่ตั้งอยู่บนเกาะ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎกระทรวงฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กล่าวคือ โจทก์ต้องมีหลักฐานแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) มีใบจอง ใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว" อย่างใดอย่างหนึ่งมาแสดงหรือโจทก์ต้องเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือที่ดินที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติให้จัดแก่ประชาชน หรือที่ดินซึ่งได้มีการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแห่งชาติได้อนุมัติแล้ว แต่โจทก์หาได้มีหลักฐานดังกล่าว หรือหาได้เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามกฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แม้โจทก์จะได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินทั้ง 2 แปลง สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลที่ดิน พ.ศ. 2497 ประกาศใช้จนถึงปัจจุบัน และเป็นกรณีที่มิได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 อันอาจทำให้โจทก์มีสิทธิขอให้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินได้เป็นการเฉพาะรายตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59 ทวิ ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าที่ดินประเภทใด จะออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้หรือไม่นั้น จะต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวง ฉบับที่ 43(พ.ศ. 2537) ด้วย เมื่อปรากฏว่าที่พิพาททั้ง 2 แปลงเป็นที่เกาะและมิได้เป็นประเภทที่ดินซึ่งสามารถจะขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ตามกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้ง 2 แปลง ของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5957/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน การบรรยายฟ้องและขอบเขตการลงโทษในคดีทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 2 แทงผู้เสียหายที่ 2 แล้วต่อมาผู้เสียหายที่ 1 เข้าไปประคองผู้เสียหายที่ 2 จำเลย ที่ 2 ได้แทงผู้เสียหายที่ 1 ย่อมเป็นการกระทำที่ต่างกรรมกันอันเป็นความผิดหลายกระทง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมและไม่ได้ขอให้ศาลลงโทษจำเลยที่ 2ทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91แม้จะได้ความดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ทุกกรรม คงลงโทษจำเลยที่ 2 แต่เพียงกระทงเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า "ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า"เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย" ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วัน ตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวันมิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้วเมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า"ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย"ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วันตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวัน มิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลา ที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 15