พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7ตารางวาเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน1,200,000บาทดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ 7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์เมื่อทรัพย์สินของผู้เสียหายหลายคนถูกลักไปพร้อมกัน แม้ผู้เสียหายบางรายไม่ได้แจ้งความ
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ ไม่จำต้องร้องทุกข์ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่ 1 ว่าคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านและรายการทรัพย์สินที่ถูกลักไปมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2 รวมอยู่ด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีลักทรัพย์: การขยายผลไปยังทรัพย์สินของผู้เสียหายอื่น
ความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 ไม่ใช่เป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความกันได้ ไม่จำต้องร้องทุกข์ ดังนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนทราบว่ามีการกระทำความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากการแจ้งความร้องทุกข์ของผู้เสียหายที่ 1 ว่าคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านและรายการทรัพย์สินที่ถูกลักไปมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2 รวมอยู่ด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนมีน้ำหนักเบา สิทธิในที่ดินพิพาท การพิสูจน์ความไม่ถูกต้องของเอกสาร
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสาร ดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามการที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารมหาชนสันนิษฐานว่าแท้จริง ผู้ถูกอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง, คำร้องอนาถาต้องพิจารณาก่อนไต่สวน
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 127 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้วศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว
ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้วศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างลูกหนี้ใหม่กับเจ้าหนี้เดิม หากไม่ทำสัญญาใหม่ ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีการทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท.ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท. มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาระหว่าง ท. กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท. เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดท. สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350 คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันตัวผู้ต้องหาเสียชีวิตก่อนนัดพิจารณาคดี ผู้ประกันไม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยตายตั้งแต่ก่อนวันนัดพิจารณาคดีของศาลผู้ประกันจำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าจำเลยตายจริงหรือไม่หรือผู้ประกันจำเลยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจที่จะนำจำเลยมาศาลตามนัดหรือไม่ ก็ไม่มีทางที่ผู้ประกันจำเลยจะนำตัวจำเลยมาส่งศาลได้ การที่ผู้ประกันจำเลยมาศาลตามนัดในเวลา ต่อมาจึงไม่ใช่ความผิดของผู้ประกันจำเลย ผู้ประกันจำเลยจึงไม่ผิดสัญญาประกันศาลปรับผู้ประกันจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินก่อนสมรส: สิทธิในการแบ่งแยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าโจทก์จำเลยหามาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยาก่อนจดทะเบียนสมรส จึงเท่ากับโจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่ามีอยู่ก่อนสมรสอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1471 (1)ซึ่งแต่ละฝ่ายในฐานะเจ้าของย่อมมีอำนาจจัดการเองได้โดยลำพังตามมาตรา 1473และมาตรา 1336 แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน ก็ไม่ทำให้สินส่วนตัวนั้นกลับเป็นสินสมรสได้ หรืออีกนัยหนึ่ง การมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดร่วมกันของสามีภริยาที่มีอยู่ก่อนสมรส แม้จะยังไม่แบ่งปันกันเป็นสัดส่วนภายหลังสมรสก็หาทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรสหรือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปไม่เหตุนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันกับจำเลยอยู่ก่อนการสมรส เนื่องจากโจทก์จำเลยไม่ได้อยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีกต่อไป จึงไม่ใช่การฟ้องร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา อันต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการห้ามมิให้สามีหรือภริยายึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1487ก็ไม่ใช่บทบัญญัติห้ามมิให้ฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมที่มีอยู่ก่อนสมรสดังกรณีของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือขอแบ่งที่ดินดังกล่าวไปยังจำเลย จำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่แบ่งให้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา 1363 ได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้
โจทก์จำเลยอยู่กินกันฉันสามีภริยาด้วยความรักใคร่ปรองดองและต่างช่วยเหลือเกื้อหนุนกันในการประกอบอาชีพ และได้นำเงินที่โจทก์จำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อจำเลยคนเดียวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์จำเลยคนละกึ่ง เมื่อโจทก์ได้ออกจากบ้านจำเลยไปอยู่ที่อื่นไม่กลับมา และโจทก์ไม่ได้ร่วมจัดการที่ดินพิพาทอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอีกต่อไป โจทก์มีความประสงค์จะขอแบ่งที่ดินพิพาทและได้มีหนังสือเรียกให้แบ่งส่งไปถึงจำเลยแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยห้ามไม่ให้แบ่งประกอบกับเวลาที่ขอแบ่งนับเป็นโอกาสอันควรตาม ป.พ.พ.มาตรา1363 โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทตามส่วนได้