พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถ่วงดุลอำนาจในกระบวนการสอบสวนและลงโทษข้าราชการอัยการ: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
พนักงานอัยการมีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหลายการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงต้องมีอิสระ ปราศจากอิทธิพลทั้งภายนอกจากทางการเมือง และภายในจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ประธาน ก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลย์อำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากจนเกินไป อันเป็นการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอิทธิพลครอบงำใด ๆ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง การที่จะแปลกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 15 ตรี วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 5 และมาตรา 20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธาน ก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงให้รองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 54 และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันจึงไม่อาจกระทำได้
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการลงโทษข้าราชการอัยการต้องเป็นไปตามกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมายที่วางกรอบการถ่วงดุลอำนาจอย่างชัดเจน
เจตนารมณ์ของกฎหมายประสงค์ให้ประธานก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลยอำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากเกินไปอันเป็นการการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระปราศจากอิทธิพลครอบงำใดๆเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงดังนั้นการที่จะแปลกฎหมายตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา15ตรีวรรคสี่ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ5และมาตรา20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธานก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงให้รองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ.ได้ในระหว่างที่ประธานก.อ.ยังไม่พ้นจากตำแหน่งย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นจึงขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯมาตรา54และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันเพราะมิฉะนั้นจะเปิดโอกาสให้มีการอ้างเหตุว่าประธานก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่าโดยทางใดแล้วใช้อำนาจของประธานก.อ.นั้นไปในทางที่ไม่ชอบไม่ควรรวมทั้งอาจใช้อำนาจสั่งพักราชการข้าราชการอัยการคนหนึ่งคนใดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯมาตรา57อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยข้าราชการอัยการ ต้องเป็นไปตามขั้นตอนและอำนาจที่กฎหมายบัญญัติ เพื่อให้การลงโทษชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานอัยการมีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินมีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหลายการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงต้องมีอิสระปราศจากอิทธิพลทั้งภายนอกจากทางการเมืองและภายในจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชาเจตนารมย์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ประธานก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลย์อำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากจนเกินไปอันเป็นการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระปราศจากอิทธิพลครอบงำใดๆเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงการที่จะแปลกฎหมายตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา15ตรีวรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ5และมาตรา20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธานก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงรองประธานก.อ.ทำหน้าที่ประธานได้ในระหว่างที่ประธานก.อ.ยังไม่พ้นจากตำแหน่งย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา54และขัดต่อเจตนารมย์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันจึงไม่อาจกระทำได้ คณะกรรมการอัยการ(ก.อ.)มีกรรมการทั้งหมด14คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า7คนแม้ประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้โดยให้รองประธานก.อ.เป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานโดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อก.อ.โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา20และ21แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ7และข้อ8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการการเลื่อนขั้นเงินเดือนการออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือนการกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการการให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่นๆบรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของก.อ.ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้นที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษแต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมืองหรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาจำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้วพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา56แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ7ก็บัญญัติให้อำนาจประธานก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวนหรือถ้าประธานก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้ เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดเรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น4ขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2521มาตรา54(2)แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49และข้อ7และข้อ8จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา54วรรคห้าแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่49ข้อ7และข้อ8ได้มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าวจึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก.อ. หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มติและคำสั่งลงโทษย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานอัยการมีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหลายการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงต้องมีอิสระ ปราศจากอิทธิพลทั้งภายนอกจากทางการเมือง และภายในจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา เจตนารมย์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ประธาน ก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลย์อำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากจนเกินไป อันเป็นการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอิทธิพลครอบงำใด ๆ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง การที่จะแปลกฎหมายตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 15 ตรี วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 49 ข้อ 5 และมาตรา 20 วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธานก.อ. ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธาน ก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงรองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ได้ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 54 และขัดต่อเจตนารมย์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันจึงไม่อาจกระทำได้ คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คน ตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ. ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุมถ้าประธานก.อ.หรือรองประธาน ก.อ. ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธานโดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ.โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือนการกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ. 2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ. สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ. ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้ เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 49 และข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าวจึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดกิจกรรมบริการสังคมตาม ป.อ.มาตรา 56(1) ต้องคำนึงความเห็นผู้กระทำความผิด และกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ตาม ป.อ.มาตรา 56 (1) การจัดให้ผู้กระทำความผิดกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์นั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานและผู้กระทำความผิดเห็นสมควร หาใช่ตามที่เจ้าพนักงานเห็นสมควรฝ่ายเดียวไม่ และสมควรกำหนดเวลากระทำกิจกรรมให้ชัดเจนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี การชำระหนี้ไม่ครบถ้วน และผลของการไม่โต้แย้งการขายทอดตลาด
การที่จำเลยนำเงินจำนวน12,000บาทและ3,000บาทไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์นั้นแม้ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามหมายบังคับคดีเพียง15,000บาทจริงก็ตามแต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็แถลงในวันเดียวกันว่าข้อตกลงดังกล่าวผู้แทนโจทก์และจำเลยตกลงกันเองเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้รับรู้ด้วยทั้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสำนวนการบังคับคดีแล้วก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับข้อตกลงการชำระหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยส่วนที่จำเลยนำเงินจำนวน7,000บาทไปชำระไว้ที่ศาลนั้นจำเลยได้ยื่นคำแถลงประกอบมีข้อความเพียงว่านำเงินที่ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่3,000บาทมาชำระและในวันที่10กันยายน2535จำเลยได้นำเงินชำระโจทก์แล้ว12,000บาทเท่านั้นจำเลยไม่ได้ส่งหรือแสดงหลักฐานการตกลงนั้นต่อศาลเพิ่งมาส่งภายหลังจากที่มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยไปแล้วจึงไม่มีทางที่ศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะล่วงรู้และรับรองข้อตกลงระหว่างผู้แทนโจทก์กับจำเลยนั้นได้ข้อตกลงที่ผู้แทนโจทก์ยอมลดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีลงเหลือเพียง15,000บาทจึงเป็นข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำต้องถือตาม การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วนไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดีและบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน8,149บาทจำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีกต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วนเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271และมาตรา278การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดตลาดที่ดินของจำเลยและดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้ การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้วส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฎข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลยแต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลยการแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรกซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้วซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลันแต่จำเลยหาได้ทำไม่จนกระทั่งการขาดทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลงจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันการบังคับคดี การขายทอดตลาดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องโต้แย้งทันที
การที่จำเลยนำเงินจำนวน 12,000 บาท และ 3,000 บาทไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์นั้น แม้ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามหมายบังคับคดีเพียง 15,000 บาทจริงก็ตาม แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็แถลงในวันเดียวกันว่าข้อตกลงดังกล่าวผู้แทนโจทก์และจำเลยตกลงกันเอง เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้รับรู้ด้วย ทั้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสำนวนการบังคับคดีแล้วก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับข้อตกลงการชำระหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนที่จำเลยนำเงินจำนวน 3,000 บาท ไปชำระไว้ที่ศาลนั้นจำเลยได้ยื่นคำแถลงประกอบมีข้อความเพียงว่า นำเงินที่ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 3,000 บาท มาชำระ และในวันที่ 10 กันยายน 2535 จำเลยได้นำเงินชำระโจทก์แล้ว 12,000 บาท เท่านั้น จำเลยไม่ได้ส่งหรือแสดงหลักฐานการตกลงนั้นต่อศาล เพิ่งมาส่งภายหลังจากที่มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยไปแล้ว จึงไม่มีทางที่ศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะล่วงรู้และรับรองข้อตกลงระหว่างผู้แทนโจทก์กับจำเลยนั้นได้ ข้อตกลงที่ผู้แทนโจทก์ยอมลดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีลงเหลือเพียง 15,000 บาท จึงเป็นข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำต้องถือตาม
การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วน ไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดี และบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน 8,149บาท จำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีก ต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดี เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 และมาตรา 278 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย และดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้
การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้ว ส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฏข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลย แต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลย การแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่า จำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้ จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลัน แต่จำเลยหาได้ทำไม่ จนกระทั่งการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วน ไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดี และบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน 8,149บาท จำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีก ต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดี เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 และมาตรา 278 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย และดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้
การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้ว ส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฏข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลย แต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลย การแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่า จำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้ จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลัน แต่จำเลยหาได้ทำไม่ จนกระทั่งการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนำทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์: การพิสูจน์เจตนาและความรับผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่2เพียงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้มิใช่ซื้อรถจักรยานยนต์จากป. ซึ่งจะต้องชำระเงินเต็มตามราคาทรัพย์สินที่ซื้อไว้แต่การรับจำนำเป็นเพียงการที่ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยโดยปกติทั่วไปราคาทรัพย์ที่จำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกันผู้จำนำอาจขอจำนำเพียง10ถึง20เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์ที่จำนำก็ได้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันมากเกินไปแต่บางรายผู้จำนำอาจขอจำนำทรัพย์ในราคาที่สูงผู้รับจำนำอาจกำหนดราคาทรัพย์ที่จำนำให้ไม่สูงมากนักเพราะอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำภายในระยะเวลาที่กำหนดและผู้รับจำนำต้องนำทรัพย์ที่จำนำออกขายแล้วได้เงินไม่คุ้มกับเงินที่รับจำนำพร้อมดอกเบี้ยก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่2รับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในราคา2,300บาทจึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รูปคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจร