คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพล พันธุมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักราชการเป็นคำสั่งทางปกครอง ชอบฟ้องต่อศาลได้
แม้อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535มาตรา 107 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 60และ 61 แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งมีคำสั่งพักราชการโจทก์ในระหว่างการสอบสวนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา อันเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองของจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 322/2541 ลงวันที่3 กรกฎาคม 2541 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งให้นิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง"หมายความว่า "(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราวเช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ" ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณามีผลทำให้กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ แม้จะเป็นการชั่วคราว แต่ก็ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ให้คำสั่งทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) คือ (1) การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการทำการพิจารณาทางปกครอง และมีคำสั่งทางปกครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จนต้องถูกสั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ย่อมเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความหมายแห่งป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองและการโต้แย้งสิทธิ: ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับให้รับฟ้อง กรณีคำสั่งพักราชการขัดต่อกฎหมาย
แม้อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 107ประกอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ. 2521 มาตรา 60 และ 61 แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งมีคำสั่งพักราชการโจทก์ในระหว่างการสอบสวนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาอันเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยเฉพาะของจำเลย ทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองของจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539เฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 322/2541ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอ ฟังผลการสอบสวนพิจารณาเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งให้นิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า"(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียนแต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ" ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณามีผลทำให้กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ที่ให้คำสั่งทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) คือ (1)การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการทำการพิจารณาทางปกครอง และมีคำสั่งทางปกครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จนต้องถูก สั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาย่อมเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55แล้ว จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการ ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและการรับอุทธรณ์ กรณีหน่วยงานราชการมีขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และมาตรา 229 บัญญัติให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องเสียในการอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียมที่จะต้องชำระให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งค่าทนายความที่ศาลสั่ง มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ก็ตาม แต่หากมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งสองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 วันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย พร้อมกันไปในวันเดียวกัน ล้วนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ และยังไม่ครบกำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ เหตุนี้แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าการเบิกจ่ายเงินค่าฤชาธรรมเนียมชักช้าเนื่องมาจากความบกพร่องในวิธีการเบิกจ่ายเงินที่มีขั้นตอนไม่เหมาะสมและไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก็ตามแต่ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวเช่นกันว่าจำเลยมิได้จงใจ ที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางในวันยื่นอุทธรณ์ประกอบกับยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา อุทธรณ์ดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ยังมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็ควรให้โอกาสแก่จำเลยชำระหรือวางเงิน ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยที่มิได้จงใจที่จะไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนโดยมิได้ให้โอกาสจำเลยก่อนนั้นเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าในวันที่ 17 มีนาคม 2540 จำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลชั้นต้นจนครบถ้วนแล้วศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาล ในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยนำมาวาง กับให้รับอุทธรณ์ของจำเลย และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลเพื่ออุทธรณ์: ศาลควรให้โอกาสจำเลยชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาอุทธรณ์เพื่อความเป็นธรรม
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 149 และมาตรา 229 บัญญัติให้จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำค่าธรรมเนียมศาลที่จะต้องเสียในการอุทธรณ์ และค่าธรรมเนียมที่จะต้องชำระให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งค่าทนายความที่ศาลสั่ง มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ก็ตาม แต่หากมีพฤติการณ์พิเศษจำเลยทั้งสองย่อมยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
วันที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าขึ้นศาล และสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย พร้อมกันไปในวันเดียวกัน ล้วนยังอยู่ในระยะเวลาอุทธรณ์ และยังไม่ครบกำหนดอุทธรณ์ในวันที่ 7 มีนาคม 2540 ตามที่ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ เหตุนี้แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่า การเบิกจ่ายเงินค่าฤชาธรรมเนียมชักช้าเนื่องมาจากความบกพร่องในวิธีการเบิกจ่ายเงินที่มีขั้นตอนไม่เหมาะสมและไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลาได้ก็ตาม แต่ย่อมแสดงให้เห็นได้อยู่ในตัวเช่นกันว่าจำเลยมิได้จงใจที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางในวันยื่นอุทธรณ์ประกอบกับยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ดังกล่าวเช่นนี้ เมื่อปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ยื่นไว้ยังมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยถูกต้องครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็ควรให้โอกาสแก่จำเลยชำระหรือวางเงินดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาอุทธรณ์ซึ่งยังจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยที่มิได้จงใจที่จะไม่ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลและค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนโดยมิได้ให้โอกาสจำเลยก่อนนั้น เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าในวันที่ 17 มีนาคม 2540จำเลยได้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์จำนวน 200,000 บาท และค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางต่อศาลชั้นต้นจนครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยนำมาวาง กับให้รับอุทธรณ์ของจำเลยและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์โดยใช้ดุลพินิจเดิม เหตุผลประกอบเพิ่มเติมไม่ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ แม้ลงโทษเดิม ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้ว แม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 แล้ว
แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6209/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอุทธรณ์โดยศาลอุทธรณ์ การหยิบยกเหตุผลประกอบเพิ่มเติม และการลดโทษรอการลงโทษ
แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้หยิบยกข้ออุทธรณ์ของจำเลยขึ้นวินิจฉัยโดยละเอียดในคำพิพากษา แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจในการลงโทษเหมาะสมแล้วแม้จะให้เหตุผลประกอบเพิ่มเติมว่า การกระทำของจำเลยเป็นการมอมเมาประชาชน ก็เป็นเหตุผลที่ศาลสรุปจากข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติจากในสำนวน มิใช่เป็นเรื่องการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่อันเป็นการต้องห้าม ถือว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยและแสดงเหตุผลโต้แย้งอุทธรณ์ของจำเลยแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุก จำเลยมีกำหนด 2 เดือน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหา ข้อกฎหมายมาด้วย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการชอบด้วยกฎหมาย มีพยานหลักฐานยืนยันการกระทำผิด
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฏว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวน ความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอน ของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน หาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคล และเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการ ก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสาร ได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวน ทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลย ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกัน ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหาแม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปลดข้าราชการอาศัยผลการสอบสวนทางวินัยที่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ย่อมชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำนวนการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและการสอบสวนทางวินัย ปรากฎว่าทางราชการได้ดำเนินการสืบสวนความผิดของโจทก์ไปตามระเบียบและขั้นตอนของกฎหมายเริ่มตั้งแต่มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงคณะกรรมการได้สอบปากคำพยานบุคคลและเอกสารผู้เกี่ยวข้อง เมื่อเห็นว่ามีมูลความจริงแล้ว จำเลยจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ที่แก้ไขแล้ว แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งคณะกรรมการก็ได้สอบสวนทั้งพยานบุคคลจำนวนหลายปากและพยานเอกสารได้ความสอดรับกันตั้งแต่ต้น แล้วจำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากราชการ เมื่อเป็นคำสั่งที่อาศัยผลจากการสอบสวนทางวินัยของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่จำเลยตั้งขึ้นตามกฎหมาย ซึ่งมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารยืนยันกันว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการเรียกเอาทรัพย์ตามที่ถูกกล่าวหา แม้ต่อมาโจทก์จะได้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการดังกล่าวก็มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสีย ดังนี้ ที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายเพราะเป็นคำสั่งที่ปราศจากพยานหลักฐานที่จะยืนยันว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นความจริงจึงชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบตามภูมิลำเนาเดิมหลังย้ายออก และสิทธิในการขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยทั้งสองได้ย้ายไปจากบ้านเลขที่ 252 ไปมีภูมิลำเนา อยู่ที่อื่นแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงมิใช่ภูมิลำเนาของ จำเลยทั้งสอง โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองย้ายไป อยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใด และการที่ยังมีชื่อของจำเลยทั้งสอง ในทะเบียนบ้านดังกล่าวด้วยเหตุผลเพียงไม่ได้แจ้งย้ายชื่อ ออกไปเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้บ้านหลังดังกล่าวยังคง เป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง เหตุนี้การส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานของโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 252 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมไม่มีทางที่จำเลยทั้งสองจะทราบว่าตนได้ถูกโจทก์ฟ้อง การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยาน จะถือว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือจงใจขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ได้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณา คดีใหม่นั้นได้มีการออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่ จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังไม่มีวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดที่จะนับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอ ให้พิจารณาใหม่ได้ คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ เพราะความจริงจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องแต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์มิได้เกี่ยวข้อง จำเลยทั้งสองมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี นิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน และได้แสดงเหตุผลต่าง ๆ ว่า ข้อเท็จจริงมิได้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้อง และปรากฏตามสำเนา หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องของโจทก์ว่ามีแต่เฉพาะ จำเลยทั้งสองเพียงฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายซื้อที่ดิน ตามที่โจทก์ฟ้อง ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อด้วยเลยถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุ ที่จำเลยทั้งสองจะชนะคดีโจทก์หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับ จำเลยทั้งสองคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์ ชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์ เป็นการไม่ถูกต้องนั้นเอง คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5698/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบ และสิทธิในการขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อมีเหตุผลที่อาจชนะคดี
จำเลยทั้งสองได้ย้ายไปจากบ้านเลขที่ 252 ไปมีภูมิลำเนาอยู่ที่อื่นแล้ว บ้านเลขที่ดังกล่าวจึงมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองย้ายไปอยู่ที่อื่นด้วยเหตุผลใด และการที่ยังมีชื่อของจำเลยทั้งสองในทะเบียนบ้านดังกล่าวด้วยเหตุผลเพียงไม่ได้แจ้งย้ายชื่อออกไปเพียงอย่างเดียวย่อมไม่ทำให้บ้านหลังดังกล่าวยังคงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง เหตุนี้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานของโจทก์ให้แก่จำเลยทั้งสองที่บ้านเลขที่ 252 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมไม่มีทางที่จำเลยทั้งสองจะทราบว่าตนได้ถูกโจทก์ฟ้อง การที่จำเลยทั้งสองไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและไม่ได้มาศาลในวันนัดสืบพยาน จะถือว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือจงใจขาดนัดพิจารณาย่อมไม่ได้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นได้มีการออกคำบังคับและส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา จึงยังไม่มีวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดที่จะนับกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีทางชนะคดีโจทก์ เพราะความจริงจำเลยทั้งสองเป็นผู้ซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้องแต่เพียงฝ่ายเดียว โจทก์มิได้เกี่ยวข้อง จำเลยทั้งสองมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน และได้แสดงเหตุผลต่าง ๆ ว่าข้อเท็จจริงมิได้เป็นไปตามที่โจทก์ฟ้อง และปรากฏตามสำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องของโจทก์ว่ามีแต่เฉพาะจำเลยทั้งสองเพียงฝ่ายเดียวที่เป็นฝ่ายซื้อที่ดินตามที่โจทก์ฟ้อง ไม่ปรากฏชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อด้วยเลย ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุที่จำเลยทั้งสองจะชนะคดีโจทก์หรืออีกนัยหนึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสองคัดค้านว่า คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองโดยฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการไม่ถูกต้องนั่นเองคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
of 15