พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดตามข้อหาที่แจ้ง พ้นเหตุฎีกาเมื่อไม่ได้ยกข้อต่อสู้ตั้งแต่ต้น
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนัน มิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้า เมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะข้อหาที่แจ้งสอบสวน การให้การรับสารภาพไม่ขัดขวางการยกเหตุไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่น การพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนันมิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้าเมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว จึงจะฟ้องซ้ำไม่ได้
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุด เพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องคดีก่อนถึงที่สุด เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คดีก่อนต้องถึงที่สุดแล้ว ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ขณะคดีแพ่งเรื่องก่อนยังไม่ถึงที่สุดเพราะคดีดังกล่าวยังไม่มีการอ่านคำพิพากษา ศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ดังนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา หากจำเลยต้องการแต่ไม่มีทนายความ ศาลต้องจัดให้
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้า ไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิจำเลย จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามี และต้องการทนายความหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ มีการดำเนินการดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองก็ตามจำเลยก็ยกขึ้นอ้างให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้และกรณีเช่นว่านี้จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานประกอบกัน: คำให้การผู้เสียหาย, คำรับสารภาพผู้ร่วมกระทำผิด, พยานตำรวจสนับสนุนคดีปล้นทรัพย์
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้างแต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่ คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวน ในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่ แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความและมีคำให้การรับสารภาพของ จ. และ ส. ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ. และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ. และ ส. ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ. และ ส. ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส. จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยจ. กับ ส. ได้ให้การชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ. และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวน จ. และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส. ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้วเชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: คำให้การชั้นสอบสวน, คำรับสารภาพ, พยานประกอบ และการเชื่อถือได้ของพยาน
แม้ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายในคดีปล้นทรัพย์จะให้การแตกต่างจากคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณาไปบ้าง แต่ในชั้นสอบสวนผู้เสียหายก็ให้การยืนยันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยกับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนร้ายยืนคุมผู้เสียหายอยู่ในบ้านเกิดเหตุขณะที่คนร้ายอีกคนหนึ่งใช้ผ้ามัดมือของผู้เสียหายไว้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้ได้ให้การในวันเกิดเหตุนั้นเอง ได้กล่าวไว้อย่างละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนในการที่ถูกคนร้ายร่วมกันปล้นทรัพย์และใช้อาวุธปืนยิงจนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ยากที่ผู้เสียหายจะปรุงแต่งเรื่องขึ้นมาเองเพื่อปรักปรำหรือแกล้งใส่ร้ายจำเลย คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายนี้จึงรับฟังเป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาได้ เพราะผู้เสียหายเบิกความภายหลังเกิดเหตุเป็นเวลานานเกินสิบปี ผู้เสียหายคงไม่อาจจดจำรายละเอียดและเหตุการณ์ในการที่คนร้ายร่วมกระทำผิดได้ครบถ้วนดังเช่นที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนในวันเกิดเหตุนั้นเป็นแน่
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
แม้คำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นเพียงพยานบอกเล่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเสียเลย การที่จะรับฟังพยานบอกเล่าได้หรือไม่เพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่เหตุผลเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยรับฟังได้ในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ คดีนี้โจทก์มีผู้เสียหายมาเบิกความ และมีคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวนซัดทอดจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีเดียวกันว่า ในการร่วมกันปล้นทรัพย์ผู้เสียหายนี้ จำเลยเป็นผู้ชักชวน จ.และ ส.ไปด้วยกันซึ่ง จ.และ ส.ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่ จ.และ ส.ถูกจับกุม และเป็นการยากที่ จ.และ ส.จะปรุงแต่งขึ้นเพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลย จ.และ ส.ได้ให้การในชั้นสอบสวนตามความเป็นจริงโดยสมัครใจ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันดังกล่าว ก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟัง ย่อมนำมารับฟังประกอบคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายได้ นอกจากนั้นโจทก์ยังมีเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวน จ.และ ส.มาเบิกความสนับสนุนว่า ชั้นสอบสวนจ.และ ส.ให้การรับสารภาพและยังได้นำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมจำเลยก็ให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เมื่อฟังคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณา คำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนประกอบคำให้การรับสารภาพของ จ.และ ส.ในชั้นสอบสวน กับคำเบิกความของเจ้าพนักงานตำรวจตลอดจนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมดังกล่าวแล้ว เชื่อได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้ร่วมกับพวกอีกสองคนปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของโจทก์ในการบังคับคดีทำให้ไม่สามารถขยายระยะเวลาได้ แม้จะมีเหตุล่าช้า
โจทก์มีเวลาบังคับคดีนานถึง 10 ปี และโจทก์เคยขอให้ศาลออกคำบังคับมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะนำส่งจนเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีส่งคำบังคับคืนศาลชั้นต้น หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอตรวจสำนวนหลายครั้งแต่มิได้ขอให้ดำเนินการบังคับ คงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป9 ปีเศษ จนเหลือเวลาอีก 3 เดือนจะครบกำหนด 10 ปีจึงมาขอให้ส่งบังคับอีก แม้การส่งคำบังคับครั้งหลังดังกล่าวจะมีเหตุขัดข้องล่าช้าอยู่บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ไม่นำส่งคำบังคับในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2529และปล่อยเวลาล่วงเลยมานาน 9 ปีเศษ จึงมาขอส่งคำบังคับใหม่เมื่อใกล้จะครบกำหนด 10 ปี นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของโจทก์มาแต่แรกจึงถือไม่ได้ว่าเหตุตามคำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้โจทก์ขอให้บังคับคดีไม่ทันภายใน 10 ปี ที่จะขยายระยะเวลาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4869/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของโจทก์ทำให้ไม่ทันระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ศาลไม่ขยายเวลา
โจทก์มีเวลาบังคับคดีนานถึง 10 ปี และโจทก์เคยขอให้ศาลออกคำบังคับมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่สนใจที่จะนำส่งจนเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีส่งคำบังคับคืนศาลชั้นต้น หลังจากนั้นโจทก์ได้ขอตรวจสำนวนหลายครั้งแต่มิได้ขอให้ดำเนินการบังคับ คงปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป 9 ปีเศษ จนเหลือเวลาอีก 3 เดือนจะครบกำหนด 10 ปี จึงมาขอให้ส่งบังคับอีก แม้การส่งคำบังคับครั้งหลังดังกล่าวจะมีเหตุขัดข้องล่าช้าอยู่บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ไม่นำส่งคำบังคับในครั้งแรกตั้งแต่ปี 2529 และปล่อยเวลาล่วงเลยมานาน 9 ปีเศษ จึงมาขอส่งคำบังคับใหม่เมื่อใกล้จะครบกำหนด 10 ปี นับได้ว่าเป็นความบกพร่องของโจทก์มาแต่แรกจึงถือไม่ได้ว่าเหตุตามคำร้องขอขยายระยะเวลาของโจทก์เป็นพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้โจทก์ขอให้บังคับคดีไม่ทันภายใน 10 ปี ที่จะขยายระยะเวลาให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มิใช่ลาภมิควรได้ ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วโดยมีข้อตกลงกันว่า หากปรากฏในภายหลังว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมีมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จะจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลย แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อมีการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าจำนวนเนื้อที่ดินมีน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำนวนเงินที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินที่ชำระไว้ล่วงหน้าตามสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกี่ยวด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เช่นกรณีพิพาทนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาซื้อขาย