คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพล พันธุมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินตามสัญญาซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มิใช่ลาภมิควรได้ ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้จำเลยครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายแล้วโดยมีข้อตกลงกันว่า หากปรากฏในภายหลังว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมีมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา โจทก์จะจ่ายค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่จำเลย แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ เมื่อมีการรังวัดที่ดินแล้วพบว่าจำนวนเนื้อที่ดินมีน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำนวนเงินที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ไม่ และเมื่อการฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินที่ชำระไว้ล่วงหน้าตามสัญญาซื้อขายที่ดินอันเกี่ยวด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เช่นกรณีพิพาทนี้ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อจำกัดการรับวินิจฉัยคดีอาญา และการแก้ไขโทษจำคุกที่ไม่สมเหตุสมผล
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ข้อหาความผิดดังกล่าวจึงต้องห้ามฎีกาทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แต่อัยการสูงสุดรับรองว่ารูปคดีมีเหตุอันควร ที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง จึงรับรองฎีกา ของโจทก์เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป อันเป็นการ รับรองให้ฎีกาเฉพาะในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งให้รับฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 และ 221ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4173/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถ: ผลกระทบต่อความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของสารเสพติด
ขณะที่จำเลยเป็นผู้ขับรถที่เสพเมทแอมเฟตามีนมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้ เมทแอมเฟตามีนมิได้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไปและเปลี่ยนมาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การกระทำ ของจำเลยจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลย่อมไม่อาจพิพากษา ว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวและไม่อาจมีคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยตาม มาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งได้ กรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับยกเลิกความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,153 วรรคหนึ่งเนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่มิได้ถูกยกเลิกไป กล่าวคือ ผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับเข้าร่างกายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์กลุ่มแอมเฟตามีนอื่นนอกจากเมทแอมเฟตามีน หรือวัตถุออกฤทธิ์อย่างอื่นที่อธิบดีกำหนด ยังคงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายเพียงแต่การกระทำของจำเลย ตามฟ้องไม่เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57,91 ซึ่งมีระวางโทษ สูงกว่าเท่านั้นและการเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถยังคงเป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3ทวิ) อีกด้วย ประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจึงมิได้มีผลทำให้ การเสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถไม่เป็นความผิดแต่ประการใด การที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลอื่นได้โดยง่ายถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้นเพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น อันจะเป็นการปกป้องประชาชนทั่วไปจากภัยอันตรายบนท้องถนน ที่มักเกิดขึ้นจากผู้ขับรถที่มีอากรมึนเมาเมทแอมเฟตามีน จึงสมควร ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4125/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการอุทธรณ์โดยทนายความที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ และการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ถูกต้อง
อ. ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวนคำฟ้องอุทธรณ์ของ จำเลยจึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้อง อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยเสียโดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ ที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับขี่หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนสถานะยาเสพติด ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
ขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 และฉบับที่ 135ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไป และระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้อยู่ในตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เสพเมทแอมเฟตามีนขณะขับรถ: ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร vs. พ.ร.บ.ยาเสพติด และการเพิกถอนใบอนุญาต
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่หรือรับ วัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิด และลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วยประกอบกับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก หากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้น เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ย่อมไม่อาจลงโทษบุคคลใด สำหรับการกระทำนั้นได้เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) และฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 อีกต่อไปและระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำ ที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ศาลย่อมไม่อาจ พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยและมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ กรณีนี้มิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ยกเลิกความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไป อีกทั้งการเสพ เมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับ ดังกล่าวเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวก็ยังเป็นความผิดตาม กฎหมายโดยกลายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 57 และ 91 ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่า นอกจากนี้ เดิมการเสพเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แสดงว่าการออก ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ที่จะลงโทษผู้เสพเมทแอมเฟตามีนให้หนักขึ้น ไม่ว่าผู้เสพ เมทแอมเฟตามีนจะเป็นผู้ขับรถหรือไม่ก็ตาม ทั้งการกระทำ ดังกล่าวยังเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ทวิ) ซึ่งเอาผิดกับผู้ขับรถ ที่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถอีกบทหนึ่ง อีกทั้งพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 102(3 ตรี) ก็ยังเอา ผิดกับผู้ขับรถที่เสพวัตถุออกฤทธิ์ด้วย บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าวยิ่งทำให้เห็นชัดขึ้นว่าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสพเมทแอมเฟตามีนยังคงเป็นความผิดต่อไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งศาลย่อมไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ ได้อยู่ในตัว แม้โจทก์ฎีกาฝ่ายเดียว หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาสูงเกินไป ศาลฎีกาย่อมกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทบัญญัติ พ.ร.บ.จราจรทางบก และ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ กรณีผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งบัญญัติห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่นที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา บทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับวัตถุออกฤทธิ์เข้าร่างกายเท่านั้น มิได้ประสงค์ที่จะเอาผิดและลงโทษผู้ขับขี่ที่เสพหรือรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เข้าร่างกายด้วยประกอบกับตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก หากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ย่อมไม่อาจลงโทษบุคคลใดสำหรับการกระทำนั้นได้เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับรถเสพเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539) และฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ออกมาใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วซึ่งมีผลทำให้เมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2อีกต่อไปและระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนจึงเป็นการกระทำที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และไม่อาจลงโทษจำเลยและมีคำสั่งให้พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยตามมาตรา 157 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ กรณีนี้มิได้เป็นเรื่องที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวได้ยกเลิกความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง เนื่องจากความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวยังคงมีอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไป อีกทั้งการเสพเมทแอมเฟตามีนก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่ มิได้ถูกยกเลิกไปโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวเช่นกัน การกระทำดังกล่าวก็ยังเป็นความผิดตามกฎหมายโดยกลายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา57 และ 91 ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่า นอกจากนี้เดิมการเสพเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แสดงว่าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้เสพเมทแอมเฟตามีนให้หนักขึ้น ไม่ว่าผู้เสพเมทแอมเฟตามีนจะเป็นผู้ขับรถหรือไม่ก็ตาม ทั้งการกระทำดังกล่าวยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ทวิ) ซึ่งเอาผิดกับผู้ขับรถที่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษในขณะปฏิบัติหน้าที่ขับรถอีกบทหนึ่ง อีกทั้ง พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522มาตรา 102 (3 ตรี) ก็ยังเอาผิดกับผู้ขับรถที่เสพวัตถุออกฤทธิ์ด้วย บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวยิ่งทำให้เห็นชัดขึ้นว่าการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขทั้งสองฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้การเสพเมทแอมเฟตามีนยังคงเป็นความผิดต่อไปตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อการเสพเมทแอมเฟตามีนของผู้ขับรถในขณะขับรถไม่อาจถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิวรรคหนึ่ง ศาลย่อมไม่อาจสั่งให้พักหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ ได้อยู่ในตัว
แม้โจทก์ฎีกาฝ่ายเดียว หากศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดมาสูงเกินไป ศาลฎีกาย่อมกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท - ศาลผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องส. ซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทในคดีนี้จำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ส.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเนื้อที่ 200 ตารางวากับจำเลย และพิพากษาให้โจทก์คดีนี้ในฐานะทายาทของส.โอนที่ดินพิพาทโดยปราศจากภาระติดพันใด ๆ ให้แก่จำเลย คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของส.ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนว่า สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมเงินขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้ และคดีก่อนจึงมีมูลจากสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ ฉบับเดียวกัน เพียงแต่โจทก์กล่าวอ้างในคดีก่อนว่า ส. ไม่เคยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยเท่านั้น หาได้ต่อสู้ ว่าเงินมัดจำ 20,000 บาท ตามสัญญาดังกล่าวเป็นเงินยืมไม่ ทั้ง ๆ ที่โจทก์อาจกล่าวอ้างในคดีก่อนได้ ฉะนั้น แม้คดีนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเงินจำนวน 20,000 บาท ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเงินยืม แต่จำเลยให้ส.ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้แทนสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมอำพราง ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะมิได้เกี่ยวข้องกับประเด็นในคดีก่อนดังโจทก์อ้างก็ตามแต่ตาม เนื้อหาแห่งฎีกาโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่า โจทก์ไม่จำต้อง ผูกพันตามสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทเพราะส.ไม่ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่าส.ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของตนจำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลยคดีนี้หรือไม่ นั่นเอง ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดมาแล้วว่า ส. ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทส่วนของตนจำนวน 200 ตารางวา ให้แก่จำเลยจริง เท่ากับฟังว่าเงิน 20,000 บาท เป็นเงินมัดจำ คำพิพากษาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีเดิมถึงที่สุดแล้วโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยอีก ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการ รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังยื่นคำให้การและการใช้ดุลพินิจของศาล รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว และไม่ใช่กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรอย่างไรก็ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง
เมื่อปรากฏว่าที่ดินตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินแปลงที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลย และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนนี้แล้วแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเนื่องจากล่วงเลยเวลาที่จะอนุญาตได้ หากศาลใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และปล่อยให้คู่ความดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเมื่อศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ฟ้องคดีในที่ดินที่ผิดแปลง โจทก์ย่อมนำคดีมาฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินแปลงที่พิพาทกันอย่างแท้จริงใหม่ได้ คู่ความทั้งสองฝ่ายก็จะต้องเสียเวลาเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอีก ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจัดทำแผนที่ที่ดินเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ ย่อมเป็นประโยชน์แก่คู่ความทั้งสองฝ่ายนับเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบและเหมาะสมแล้ว
การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบที่ดินที่จะฟ้องให้แน่นอน เป็นเหตุให้จำเลยต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณา เสียค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ เรื่อยมา ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น อันเกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา161 และมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมจากการฟ้องคดีในที่ดินผิดแปลง
การที่โจทก์ขอถอนฟ้องภายหลังจำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้วโดยไม่ใช่กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรอย่างไรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจัดทำแผนที่ที่ดินเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ตามคำขอของโจทก์ ย่อมเป็นการตัดตอน และเป็นการระงับค่าเสียหายไปได้ช่วงหนึ่งก่อน อันเป็น ประโยชน์แก่คู่ความทั้งสองฝ่าย นับเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ และเหมาะสมแล้ว แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้า โดยไม่ได้ตรวจสอบที่ดินที่จะฟ้องให้แน่นอน เป็นเหตุให้ จำเลยทั้งห้าต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณา เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ เรื่อยมา ถือได้ว่าเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น อันเกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 166
of 15