คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพล พันธุมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมจากการฟ้องคดีในที่ดินผิดแปลง
การที่โจทก์ขอถอนฟ้องภายหลังจำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้วโดยไม่ใช่กรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องเนื่องจากมีข้อตกลง หรือประนีประนอมยอมความกับจำเลย จึงเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรอย่างไรก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการจัดทำแผนที่ที่ดินเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ตามคำขอของโจทก์ ย่อมเป็นการตัดตอน และเป็นการระงับค่าเสียหายไปได้ช่วงหนึ่งก่อน อันเป็น ประโยชน์แก่คู่ความทั้งสองฝ่าย นับเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ และเหมาะสมแล้ว แต่การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้า โดยไม่ได้ตรวจสอบที่ดินที่จะฟ้องให้แน่นอน เป็นเหตุให้ จำเลยทั้งห้าต่อสู้คดีและดำเนินกระบวนพิจารณา เสีย ค่าฤชาธรรมเนียมต่าง ๆ เรื่อยมา ถือได้ว่าเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ไม่จำเป็น อันเกิดเพราะความผิดหรือความประมาทเลินเล่อของฝ่ายโจทก์ สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิด ในค่าฤชาธรรมเนียมดังกล่าวแทนจำเลยทั้งห้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 166

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3523/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ต้องพิจารณาผู้เสียหายที่แท้จริงและเจตนาของผู้กระทำ
องค์ประกอบความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 นั้น ผู้กระทำผิดต้องเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์การที่จำเลยทั้งสองใช้ขวดขว้างและใช้มีดฟันประตูห้องพักผู้เสียหายทั้งสอง กับได้เรียกผู้เสียหายทั้งสองออกมาพูดคุยและขู่จะฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง โดยที่จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหายทั้งสองจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานบุกรุก องค์ประกอบความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น ต้องกระทำต่อทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย คำว่า"ทรัพย์ของผู้อื่น" ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายโดยตรงจากเจ้าของทรัพย์ให้เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์นั้น พ.กับธ. เป็นลูกจ้างของบริษัท บ.โดยบริษัทดังกล่าวจัดให้บุคคลทั้งสองพักอยู่ที่หอพักคนงานซึ่งทำให้ พ.และธ. มีเพียงใดใช้สิทธิอาศัยอยู่ในห้องพักเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าบริษัท บ. ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพักได้มอบหมายโดยตรงให้ พ.และธ. เป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาทรัพย์ดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของทรัพย์นั้น พ.และธ. จึงมิใช่ผู้เสียหาย เมื่อบริษัท บ. ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนไว้พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนใน ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และ พนักงานอัยการไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องในข้อหาฐานทำให้ เสียทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ไม่ปรึกษา
จำเลยแต่งตั้ง ส. เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายความให้ ส. มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย เมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส. ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณามิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง (1)เท่านั้น แต่จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้น และให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3144/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความประนีประนอมและผลผูกพันคำพิพากษา
จำเลยได้แต่งตั้ง ส.เป็นทนายความเข้าดำเนินคดี และระบุข้อความไว้ในใบแต่งทนายให้ ส.มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยเมื่อจำเลยยังมิได้ถอน ส.ออกจากการเป็นทนายความ การที่ ส.ไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ แม้จะไม่ได้ปรึกษากับจำเลยก่อน ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกระบวนพิจารณา มิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.พ.พ.มาตรา 145 จนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และจำเลยได้แต่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าฝ่ายโจทก์ฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคสอง(1) เท่านั้น จำเลยจะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นและให้พิจารณาคดีใหม่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนฐานฉ้อโกงเมื่อกรรมเดียวกันกับความผิดใช้เช็ค การฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3124/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คเป็นกรรมเดียวกัน การฟ้องซ้ำจึงต้องห้าม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คและนำเช็คนั้นมาแลกเงินสดไปจากโจทก์ โดยจำเลยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้งว่าบัญชีเงินฝากของจำเลยได้ปิดไปก่อนแล้ว ธนาคารจึงไม่อาจจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ และการหลอกลวงนั้นทำให้จำเลยได้ไปซึ่งเงินสดจากโจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายโจทก์นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้วแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้กับความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยคดีก่อนในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ถอนฟ้องหรือศาลได้จำหน่ายคดี ดังนี้การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในข้อหาฐานฉ้อโกงอันเป็นกรรมเดียวกันในคดีนี้อีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีไม้หวงห้ามเกิน 20 ท่อน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้ปริมาตรไม่เกิน 4 ลูกบาศก์เมตร
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 วรรคสอง (2)บัญญัติว่า "ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร" ย่อมหมายความว่า การมีไว้ในความครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปหากเป็นไม้อื่น ๆ นอกจากไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. แล้ว จะเป็นความผิดตามมาตรา 69 วรรคสอง (2) ได้ก็ต่อเมื่อ ปริมาณไม้อื่น ๆ เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันแล้วเกิน 20 ต้น หรือท่อนก็ได้ หรือรวมกันแล้วมีปริมาตรไม้เกิน 4 ลูกบาศก์เมตร ก็ได้ เมื่อจำเลยมีไม้ประดู่ 47 ท่อน ไม้มะค่าโมง 47 ท่อนรวม 94 ท่อน จึงถือได้ว่าจำเลยมีไม้อื่น ๆ เป็นท่อนรวมกันแล้วเกิน 20 ท่อน การกระทำของจำเลยย่อมครบถ้วนองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 69 วรรคสอง (2) แม้ว่าไม้ท่อน ดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วมีปริมาตรไม้ไม่เกิน4 ลูกบาศก์เมตรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าและสิทธิครอบครอง: การยึดคืนทรัพย์สินหลังผิดสัญญา
โจทก์เป็นผู้เช่าตึกแถวที่เกิดเหตุจากเจ้าของเดิมเมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ออกไปจากตึกแถวและไม่ชำระค่าเช่า แก่เจ้าของเดิม บุตรสาวโจทก์ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชำระ ค่าเช่าที่ค้างชำระนั้น และจะชำระค่าเช่าเป็นรายเดือนต่อ ๆ ไป ถ้าผิดข้อตกลงยอมให้เจ้าของเดิมเข้าครอบครองตึกแถว ที่เกิดเหตุได้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์คัดค้านโต้แย้งข้อตกลงนี้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์โดยมิพักต้องคำนึงว่ามี หนังสือมอบอำนาจจากโจทก์ให้บุตรสาวโจทก์ทำบันทึกข้อตกลงนั้น หรือไม่ และข้อตกลงนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ ต่อมาบุตรสาวโจทก์และโจทก์ ผิดข้อตกลง จำเลยทั้งสองยังให้โอกาสแก่ฝ่ายโจทก์ ขอเวลาขนย้ายทรัพย์สินโดยไม่ติดใจเรียกร้องเอาค่าเช่าที่ค้างชำระแต่อย่างใด แต่โจทก์และครอบครัวก็มิได้ขนย้ายออกไป การที่ จำเลยทั้งสองเปิดกุญแจตึกแถวที่เกิดเหตุ หลังจากนั้นจึงใช้ กุญแจของจำเลยปิดตึกแถวที่เกิดเหตุไว้ย่อมเป็นอำนาจของ จำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้และถือว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้สิทธิ เข้ายึดถือครอบครองตึกแถวที่เกิดเหตุแล้วโดยชอบตามที่ได้ ตกลงกันไว้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงหาเป็นความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์หรือฐานบุกรุกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา และการลงโทษความผิดฐานมีอาวุธปืนกับพาอาวุธปืน แม้กระทำในวาระเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม
โจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้ กระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์มีคำขอให้ ลงโทษจำเลยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะมิได้ ระบุเลขที่บ้านของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลย ตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยใหญ่อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นที่อยู่ของจำเลย และบรรยายด้วยว่า จำเลยชื่อ ก. อายุ 38 ปีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(4) แล้ว ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะหรือในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อ การรื่นเริง การมหรสพโดยเปิดเผย โดยไม่มีเหตุสมควรและโดย ไม่ได้รับอนุญาต เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลย จะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ในวาระเดียวกัน การกระทำของจำเลย เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายลักษณะตัวจำเลยในคำฟ้อง และการแยกความผิดฐานมีอาวุธปืน
โจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุเลขที่บ้านของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์อันเป็นที่อยู่ของจำเลย และบรรยายด้วยว่า จำเลยชื่อ ก. อายุ 38 ปี เชื้อชาติไทยสัญชาติไทย ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยครบถ้วนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (4) แล้ว
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะหรือในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการรื่นเริง การมหรสพโดยเปิดเผย โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ในวาระเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
of 15