คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุพล พันธุมโน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองยังคงมีผลผูกพันถึงที่ดินที่แบ่งแยก หากไม่มีความยินยอมจากผู้รับจำนอง
แม้จะมีการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกเป็นหลายแปลงก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองได้ตกลงยินยอมให้จำเลยทำการแบ่งแยกที่ดินที่จำนองออกไปโดยปลอดจากการจำนอง ต้องถือว่าการจำนองยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนที่แบ่งแยกออกไปด้วยกันอยู่นั่นเอง ตามป.พ.พ.มาตรา 717 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำนองแก่ที่ดินทุกแปลงที่แบ่งแยกออกไปจากที่ดินที่จำนองอย่างทรัพย์ที่จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเก็บรังนกอีแอ่นและทำลายรัง โดยใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่บัญญัติโทษหนักกว่า
รังนกอีแอ่น ในถ้ำเป็นทรัพย์ไม่มีเจ้าของ แต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยเข้ายึดถือเอา การที่บริษัทผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้เก็บรังนกอีแอ่น อันเป็นการผูกขาดจากรัฐบาล ผู้เสียหายมีสิทธิเพียงว่าถ้าประสงค์จะเก็บรังนกอีแอ่น ในถ้ำที่ผูกขาดย่อมมีสิทธิที่จะเข้าเก็บเอาได้ไม่ถูกหวงห้ามเสมือนบุคคลผู้ไม่ได้รับอนุญาต แต่จะมีกรรมสิทธิ์ได้ในรังนกอีแอ่น ยังจะต้องมีการเข้ายึดเอาอีกชั้นหนึ่งก่อนเมื่อผู้เสียหายยังมิได้เข้าถือเอารังนกอีแอ่น ตามมาตรา 1318แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้เสียหายจึงมิได้ เป็นเจ้าของในรังนกรายพิพาทการเก็บรังนกอีแอ่น ดังกล่าว ของจำเลยทั้งสามกับพวกจึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ ของผู้เสียหาย ขณะเกิดเหตุการกระทำของจำเลยทั้งสามกับพวกเป็นความผิดฐานเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรัง อยู่ ตามธรรมชาติแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้มีพระราชบัญญัติ อากรรังนกอีแอ่น พ.ศ. 2540 ยกเลิกพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอ่น ฉบับเดิมทั้งหมด โดยไม่มีบทบัญญัติใดระบุการเข้าหรือขึ้นไปบนเกาะที่นกอีแอ่นทำรังอยู่ ตามธรรมชาติ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นหรืออาศัยอำนาจผู้ได้รับอนุญาตหรือเจ้าหน้าที่ของ รัฐบาลตามมาตรา 6 พระราชบัญญัติ ฉบับเดิมและไม่มีบทกำหนดโทษเช่นพระราชบัญญัติฉบับเดิม ถือได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดจำเลยทั้งสามจึงพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินพิพาทเป็นธรณีสงฆ์ของวัด โจทก์ขอสิทธิครอบครองมิได้ การพัฒนาพื้นที่เป็นอำนาจหน้าที่
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้วแม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1 และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตามแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรองโดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมายล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมายล.1 และ ล.8 จึงรับฟังได้ ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: การครอบครองและสิทธิในที่ดินของวัด vs. เทศบาล
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย พระครู น.เจ้าอาวาสองค์แรกของจำเลยอุทิศถวายให้จำเลยสร้างวัดและทางราชการ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินศาสนสมบัติวัดไว้แล้ว แม้หนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดที่ระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลยตามเอกสารหมาย ล.1และ ล.8 จะเป็นเพียงสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นและรับรอง โดยเฉพาะสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดตามเอกสารหมาย ล.8 มีรายการที่ธรณีสงฆ์ซึ่งมีอาณาเขตที่ดินตรงกับสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย จ.6 และ จ.11 ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานทุกประการเพียงแต่เลขทะเบียนที่ดินเท่านั้นที่ไม่ตรงกัน สำเนาเอกสารหนังสือรับรองสภาพวัดของกรมการศาสนาและสำเนาทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติวัดเอกสารหมาย ล.1 และล.8 จึงรับฟังได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ไม่ใช่ที่ดินของเทศบาลโจทก์การที่โจทก์ขอออกหนังสือสิทธิครอบครองตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินเอกสารฉบับพิพาท จึงเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของจำเลย ทั้งการเข้าพัฒนาที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นเพียงการให้บริการแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาท ตามอำนาจหน้าที่ไม่ใช่เป็นการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ย่อมไม่ก่อให้โจทก์ได้สิทธิเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกทรัพย์คืนในคดีฉ้อโกง ต้องมีการสูญเสียทรัพย์สินจริงก่อน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ป.วิ.อ.มาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการฉ้อโกงต้องเกิดจากการสูญเสียทรัพย์สินโดยตรง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์: การยินยอมและเหตุผลในการพบปะเป็นสำคัญ
การที่ผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุ 15 ปีเศษยังเป็นผู้เยาว์อยู่ออกจากห้องไปพูดจาปรับความเข้าใจกับจำเลย ห่างจากห้องพักเกิดเหตุประมาณ 10 เมตร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปพูดกับจำเลยนั้น การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เสียหาย และไม่เป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้าย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายและพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกที่บรรทุกเกินน้ำหนักกฎหมาย เพราะก่อให้เกิดอันตรายต่อสังคมและทรัพย์สินสาธารณะ
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 18,990 กิโลกรัม โดยไม่นำพา ว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงเพียงใดต่อสภาพ ทางหลวงแผ่นดิน ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวมและมีไว้เพื่อประโยชน์ ของสาธารณชน การกระทำดังกล่าว ของจำเลยทำให้ผู้ร่วมใช้ เส้นทางสัญจรไปมาต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสภาพถนนที่ชำรุด ทรุดโทรมง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายที่เกิดจากสภาพ ของรถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักบรรทุกเป็นจำนวนมากเกินกว่า ที่ผู้ขับขี่จะควบคุมให้แล่นไปได้อย่างปลอดภัย เมื่อจำเลย ใช้รถยนต์บรรทุกของกลางในการกระทำความผิดเพื่อมุ่งแต่ประโยชน์สูงสุดในทางเศรษฐกิจของตนเพียงอย่างเดียวไม่สนใจว่าจะก่อผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอย่างไร ดังนั้นรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินที่เหลือเพิ่มขึ้น หักออกจากค่าทดแทนได้ สิทธิการฟ้องละเมิดไม่มี
พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ พ.ศ. 2508 ออกตามความใน พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 56 กำหนดให้ท้องที่อำเภอต่าง ๆ รวมทั้งอำเภอเมืองสมุทรสาครซึ่งที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่เป็นแนวเขตทางหลวง และต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ ในท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฯลฯ ให้แก่จำเลย โดยถือว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 แต่ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 และให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทนซึ่งข้อ 87 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 3 มาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และวรรคสองบัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ในกรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ขั้นตอนการดำเนินการเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งโจทก์ ดังนั้น การดำเนินการต่อไปตั้งแต่การมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนก็ดี การแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนก็ดี การอุทธรณ์ค่าทดแทนก็ดี กำหนดระยะเวลาที่โจทก์ต้องนำคดีมาร้องฟ้องต่อศาล ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ต่อไปที่เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ดีต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นหมายความว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับย่อมเป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่อาจสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เนื่องจากข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1786/2541) ตามคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและตามทางไต่สวนของผู้ร้องกับการเปิดหีบบัตรเลือกตั้งและนับบัตรเลือกตั้งใหม่ของหน่วยเลือกตั้งบางหน่วยในเขตเลือกตั้งที่ 1 ได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดบัตรเลือกตั้งที่กาบัตรลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ ณ หน่วยเลือกตั้งที่ 4 ของหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 ตำบลท้ายบ้านใหม่ จำนวน 199 บัตรและ 300 บัตรตามลำดับ และผลการตรวจนับบัตรเลือกตั้งปรากฏว่าได้จำนวนบัตรเลือกตั้งมากกว่าผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจริงอันส่อแสดงว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งกรรมการตรวจคะแนนหรือเจ้าหน้าที่คะแนนอาจเป็นผู้กาบัตรเลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจนเป็นเหตุให้จำนวนบัตรเลือกตั้งมีมากกว่าจำนวนผู้เลือกตั้งที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบและศาลฎีกาอาจมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 79(1)อันเป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลฎีกามีคำสั่งตามมาตรา 80 วรรคสอง แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน มาตรา 315 วรรคสองบัญญัติให้ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่า (1) ครบอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือ(2) เมื่อมีการยุบสภา หรือ (3) เมื่อสมาชิกภาพสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐสภาไม่อาจดำเนินการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบรัฐธรรมนูญสำคัญ 3 ฉบับให้เสร็จสิ้นลงได้ภายในกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 323 และ จนกระทั่งปัจจุบันอายุของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ครบกำหนดไม่มีการยุบสภา และยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่รัฐสภาจะพิจารณา และให้ความเห็นชอบร่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 3 ฉบับ ดังกล่าวได้อยู่ ความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้คัดค้านทั้งสามจึงยังมีอยู่ต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันมาตรา 315 วรรคสอง ก็บัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่เท่านั้น จึงไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลงได้แม้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการในเขตการเลือกตั้งที่ 1 อาจเป็นไปโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาก็ไม่อาจ มีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามคำขอของผู้ร้องทั้งสาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาตรา 79 ได้ ศาลฎีกาจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย
of 15