พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และข้อยกเว้นการนับเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7286/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การพิจารณาข้อยกเว้นเรื่องเวลาเดินทาง
คดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ที่ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ เมื่อปรากฏตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของพนักงานอัยการโจทก์ว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14 นาฬิกา และควบคุมตัวจำเลยเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2539 เวลา 14.30 นาฬิกา และโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2539 เวลา 15 นาฬิกา เห็นได้ว่า ฟ้องโจทก์ดังกล่าวนั้น ยื่นต่อศาลชั้นต้นเกินกำหนด 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับ โดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล ขึ้นวินิจฉัยด้วย จึงยังไม่เป็นการถูกต้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 7 และเมื่อคดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ฟ้องโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 หรือไม่ แล้วส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกาจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกาจึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข หากศาลชั้นต้นอนุญาตโดยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องดังกล่าวของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกานั้น จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.พ. หากศาลชั้นต้นอนุญาตโดยไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่จำเลยคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และรับอุทธรณ์โจทก์ส่งไปให้ศาลฎีกา จึงเป็นการขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7179/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการฟ้องเกินกำหนด: ผลกระทบต่อการรับฟ้องคดีอาญา
ตามพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 บัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ ส่วนการที่จะนำมาใช้ในท้องที่ใด เมื่อใดนั้นก็ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 บังคับสำหรับคดีที่เกิดขึ้นในบางท้องที่ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้นำมาใช้บังคับในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาได้ระบุให้ใช้เฉพาะในเขตหรืออำเภอเมืองบุรีรัมย์ คูเมือง นางรอง บ้านกรวด ประโคนชัยลำปลายมาศและสตึกเท่านั้น มิได้ระบุให้ใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่กิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์คดีที่เกิดขึ้นในท้องที่ตำบลทองหลางกิ่งอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ ในอันที่จะต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับด้วย การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเกินกำหนดเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับโดยมิได้ผัดฟ้องหาได้ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกปัญหาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินกำหนดระยะเวลาโดยมิได้มีการผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องจากอัยการสูงสุดขึ้นวินิจฉัยโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้นจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และการฎีกาที่ขัดต่อข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการบังคับให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ,71 ทวิ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาขอให้รอการลงโทษ เพราะแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้จ่ายเงินสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับจากค่าปรับหรือจ่ายเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หาได้บังคับให้จำเลยต้องจ่ายเงินสินบนนำจับด้วยไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้จ่ายเงินสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับจากค่าปรับหรือจ่ายเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หาได้บังคับให้จำเลยต้องจ่ายเงินสินบนนำจับด้วยไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันในหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิดและการรับสภาพหนี้
หนังสือค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างไม่มีจำกัด กับมีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองให้ไว้ต่อโจทก์ และมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1จะต้องรับผิดเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 683,715 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์โดยยินยอมรับผิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น จำเลยที่ 2และที่ 3 หาจำต้องรับผิดร่วมด้วยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตนจะต้องรับผิดแต่แรกไม่เพราะเป็นความรับผิดคนละส่วนกัน
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินโจทก์ไป เป็นหนี้คนละจำนวนกับหนี้ตามฟ้องในคดีอาญาเรื่องก่อน การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คดีนี้ได้เคยแถลงไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่าผู้เสียหายตกลงกับจำเลยได้โดยผู้เสียหายได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ในคดีก่อนเท่านั้น หาใช่เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ในคดีนี้ไม่ เช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในคดีนี้จึงมีมูลหนี้อยู่จริงและหนี้นั้นยังไม่ระงับ
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1ยักยอกเงินโจทก์ไป เป็นหนี้คนละจำนวนกับหนี้ตามฟ้องในคดีอาญาเรื่องก่อน การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คดีนี้ได้เคยแถลงไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่าผู้เสียหายตกลงกับจำเลยได้โดยผู้เสียหายได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ในคดีก่อนเท่านั้น หาใช่เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ในคดีนี้ไม่ เช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในคดีนี้จึงมีมูลหนี้อยู่จริงและหนี้นั้นยังไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผลของการรับสภาพหนี้ที่ต่างกัน
หนังสือค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างไม่มีจำกัด กับมีจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองให้ไว้ต่อโจทก์ และมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนอง และตาม ป.พ.พ.มาตรา683, 715 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่โจทก์โดยยินยอมรับผิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาจำต้องรับผิดร่วมด้วยเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ตนจะต้องรับผิดแต่แรกไม่ เพราะเป็นความรับผิดคนละส่วนกัน
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินโจทก์ไป เป็นหนี้คนละจำนวนกับหนี้ตามฟ้องในคดีอาญาเรื่องก่อน การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คดีนี้ได้เคยแถลงไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า ผู้เสียหายตกลงกับจำเลยได้โดยผู้เสียหายได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ในคดีก่อนเท่านั้น หาใช่เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ในคดีนี้ไม่ เช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในคดีนี้จึงมีมูลหนี้อยู่จริงและหนี้นั้นยังไม่ระงับ
หนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินโจทก์ไป เป็นหนี้คนละจำนวนกับหนี้ตามฟ้องในคดีอาญาเรื่องก่อน การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์คดีนี้ได้เคยแถลงไว้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า ผู้เสียหายตกลงกับจำเลยได้โดยผู้เสียหายได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป ขอถอนคำร้องทุกข์เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ในคดีก่อนเท่านั้น หาใช่เป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์ในคดีนี้ไม่ เช่นนี้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ในคดีนี้จึงมีมูลหนี้อยู่จริงและหนี้นั้นยังไม่ระงับ