พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการขอบเขตคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะให้โจทก์ชำระภาษี โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/21 (5) ประกอบมาตรา 30, 88/5 การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วแสดงว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาเห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีกตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) การที่โจทก์มิได้ฟ้องว่าการประเมินไม่ชอบจึงฟังเป็นยุติว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ได้ แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่ได้ฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เป็นจำเลยด้วย แต่ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 5 บัญญัติว่า ภาษีอากรซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะนี้ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรซึ่งมูลกรณีเรื่องภาษีอากรในคดีนี้อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจไม่ให้บังคับตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เสียได้ไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ย่อมรวมถึงการเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินด้วยในตัว ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินด้วยจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การโอนสำนวนและผู้มีอำนาจ
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษี: การโอนสำนวนตรวจสอบภาษีทำให้เจ้าพนักงานสรรพากรเขต 3 มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีได้
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: กรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีภาษีอากรของตำรวจ: ต้องมีคำขอจากเจ้าพนักงานสรรพากรเท่านั้น
เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรซึ่งมีเฉพาะแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมสรรพากร ร้องขอเท่านั้น หาได้มีข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้เป็นยุติว่าเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรมิได้มีคำขอให้ดำเนินคดีแต่อย่างใดเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีการสอบสวนที่ได้กระทำไปจึงไม่ชอบพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีภาษีอากรของตำรวจ: ต้องมีคำขอจากเจ้าพนักงานสรรพากรเท่านั้น
เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรซึ่งมีเฉพาะแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมสรรพากร ร้องขอเท่านั้น หาได้มีข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้เป็นยุติว่า เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร มิได้มีคำขอให้ดำเนินคดีแต่อย่างใด เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีการสอบสวนที่ได้กระทำไป จึงไม่ชอบพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสาไฟฟ้าฯ มิใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการค้าไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ทำเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงส่งแก่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สัญญาที่โจทก์ทำกับการไฟฟ้าทั้งสองระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในหนังสือสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนามุ่งจะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการ ใช้ราคา มิได้มุ่งหวังในผลสำเร็จในการงานแม้ข้อความในสัญญาจะได้กำหนดคุณสมบัติและลักษณะทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบว่าจะต้องเป็นไปตามแบบและรายการแนบท้ายสัญญา ก็เห็นได้ว่าเป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเข้าลักษณะสัญญาซื้อขายหาใช่สัญญาจ้างทำของไม่
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
โจทก์นำลวดเหล็กเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงเพื่อขาย มิใช่สั่งลวดเหล็กนั้นเข้ามาเพื่อขาย โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากรมาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจท์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1606/2512) กรณีนี้โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
กรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา 5 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยและเมื่อศาลเห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ กรมสรรพากรจำเลยยกขึ้นอ้างอิงเพื่อเรียกเก็บ ภาษีจากโจทก์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะถูกฟ้องเป็นจำเลยหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจไม่ใช้บังคับตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีหลังมีกฎกระทรวงใหม่: เจ้าพนักงานเดิมยังมีอำนาจหน้าที่เดิมตราบเท่าที่ยังพิจารณารายการที่ยื่นไว้ก่อนกฎกระทรวงใหม่มีผลบังคับใช้
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานของรัฐมีอำนาจกระทำการประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับกำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้
โจทก์ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับระหว่างที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 99 (พ.ศ. 2497) และ 112 (พ.ศ. 2500) ใช้บังคับซึ่งเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้เพียงคนเดียวมีอำนาจพิจารณารายการที่ยื่นเพื่อประเมินภาษีเงินได้ ในระหว่างการพิจารณาของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 119 (พ.ศ. 2502) ออกใช้บังคับกำหนดให้บุคคลสามฝ่ายเป็นเจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้ แต่กฎกระทรวงฉบับนี้มิได้กล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎกระทรวงฉบับก่อนไว้อย่างใด ดังนั้น ย่อมไม่เป็นเหตุให้อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการพิจารณารายการเงินได้พึงประเมินที่ได้ยื่นไว้ก่อนมีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ ต้องยกเลิกเปลี่ยนแปลงไปเจ้าพนักงานประเมินนั้นยังมีอำนาจที่จะประเมินภาษีเงินได้แจ้งจำนวนค่าภาษีที่ต้องชำระไปยังผู้รับประเมินได้