พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146)กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และมาตรา 1311 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กันโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169/1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีและการครอบครองทรัพย์สินที่ถูกยึดโดยไม่สุจริต สิทธิของเจ้าหนี้และผู้ครอบครอง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินรายพิพาทไว้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองจนกว่าจะบังคับคดีเสร็จสิ้นหรือมีการถอนการบังคับคดี ในระหว่างการยึดนั้นแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้เป็นเจ้าของก็ไม่อาจก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินรายพิพาทก็ไม่อาจอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะเป็นเหตุให้ที่ดินรายพิพาทหลุดพ้นไปจากการบังคับคดี
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดีย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดีย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1500/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์บังคับคดีและการครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกยึด สิทธิของผู้ยึดและผู้ครอบครอง
เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินรายพิพาทไว้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดถือครอบครองจนกว่าจะบังคับคดีเสร็จสิ้นหรือมีการถอนการบังคับคดี ในระหว่างการยึดนั้นแม้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้เป็นเจ้าของก็ไม่อาจก่อให้เกิด โอน หรือเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยเข้าครอบครองที่ดินรายพิพาทก็ไม่อาจอ้างสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะเป็นเหตุให้ที่ดินรายพิพาทหลุดพ้นไปจากการบังคับคดี
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดี ย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยเข้าครอบครองปลูกยางพาราในที่ดินรายพิพาทโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อบังคับคดี ย่อมมิใช่เป็นการเพาะปลูกต้นไม้ในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 ประกอบกับมาตรา 1314 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิที่จะบังคับตามมาตรา 1311 ประกอบกับมาตรา 1314 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ต้นยางพาราที่จำเลยกรีดเป็นของที่จำเลยปลูกทำลงไว้ การที่จำเลยกรีดยางดังกล่าวหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินสาธารณะ: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อที่ดินเป็นสาธารณะ
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ปลูกสร้างสะพานและอาคารบนสะพาน โดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดให้สิ่งปลูกสร้างนั้นตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมจำเลยได้โอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้วและเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อมา แม้ภายหลังปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ให้จำเลยเช่านั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และนายอำเภอผู้ปกครองดูแลที่สาธารณะฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินแต่ก็มิได้อ้างสิทธิในสิ่งปลูกสร้างด้วยซึ่งปลูกสร้างดังกล่าว หากตกเป็นของรัฐไม่ โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จำเลยเช่าสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าให้โจทก์ และครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินสาธารณะ: แม้ที่ดินเป็นสาธารณะ แต่เมื่อสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองและให้เช่าได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์ปลูกสร้างสะพานและอาคารบนสะพานโดยมีข้อตกลงในสัญญาว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดให้สิ่งปลูกสร้างนั้นตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดสัญญาเช่าเดิมจำเลยได้โอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้วและเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อมา แม้ภายหลังปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์ให้จำเลยเช่านั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และนายอำเภอผู้ปกครองดูแลที่สาธารณะฟ้องขับไล่โจทก์ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินแต่ก็มิได้อ้างสิทธิในสิ่งปลูกสร้างด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวหาตกเป็นของรัฐไม่ โจทก์ยังมีสิทธิครอบครองเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง จำเลยเช่าสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าโดยชำระค่าเช่าให้โจทก์ และครบกำหนดสัญญาเช่าโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของผู้ขายที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดินพร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไปโจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาท จากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาทดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าวและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วยจำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับค่าชดเชยแทนการรื้อถอนอาคาร ทำให้กรรมสิทธิ์ในอาคารตกเป็นของเจ้าของที่ดิน
เดิมจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงในบริเวณที่ดินโฉนดที่ 918 ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาตขอให้โจทก์รื้อตึกแถวออกจากโฉนดที่ 918 ในที่สุดโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมรื้อตึกแถวพิพาทให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ศาลพิพากษาตามยอม เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังไม่รื้อตึกแถวออกไป จำเลยที่ 1 ก็ขายที่ดิน พร้อมตึกแถวรายพิพาทให้จำเลยที่ 2 ไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้หาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันละเมิดต่อโจทก์ ขอให้ชดใช้ค่าเสียหายทางพิจารณาปรากฏว่าก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ตกลงยอมรับเงิน 20,000 บาทจากจำเลยที่ 1 เป็นค่าอิฐหักกากปูนแทนการรื้อถอนตึกพิพาท ดังนี้ตึกพิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว และตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงย่อมนำตึกพิพาทไปโอนขายให้จำเลยที่ 2 ได้ จำเลยทั้งสองหาได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินของรัฐ - ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ - การซื้อขายไม่สุจริต - สิทธิในที่ดิน
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวัง โดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเอง และมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้น เป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้น จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ' และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทน แม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้วจึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน 36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311(วรรค 2,3,4 และ 5 วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ การครอบครองปรปักษ์ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการปลูกสร้าง
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวังโดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเองและมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้นเป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้ และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้นจะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ'และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทนแม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ. 2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือ เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311 (วรรค 2, 3, 4 และ 5วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้นเป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้ และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้นจะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ'และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทนแม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ. 2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือ เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311 (วรรค 2, 3, 4 และ 5วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)