คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1402

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิอาศัย และขอบเขตการบังคับคดี การฟ้องร้องซ้ำซ้อน
เมื่อโจทก์จำเลยได้ประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมไปแล้ว ถ้าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม จะนำคดีเรื่องเดียวกันที่ศาลชี้ขาดแล้วมาฟ้องขอให้ศาลบังคับเป็นอีกคดีหนึ่งโดยอ้างเหตุว่าจำเลยขัดขวางไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีเดิมซึ่งยังมีผลบังคับได้อยู่ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง ส่วนการที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันเองนอกเหนือจากสัญญาประนีประนอมยอมความอีกนั้น เมื่อโจทก์มาฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความและผิดข้อตกลงตามสัญญาที่ทำกันเอง เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่อย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในคดีเดิม ศาลย่อมวินิจฉัยให้ในคดีหลังเฉพาะในข้อที่ว่าจำเลยผิดสัญญาที่ทำกันเองหรือไม่ และจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้หรือไม่เท่านั้น
โจทก์จดทะเบียนสิทธิอาศัยและภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1406 ได้บัญญัติให้สิทธิแก่ผู้อาศัยไว้ว่า ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้โดยชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้ และมาตรา 1429 บัญญัติว่าอสังหาริมทรัพย์อาจตกอยู่ในภาระติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิ ฯลฯ ได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ ในเรื่องนี้โจทก์ได้จดทะเบียนภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่า โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยอาศัยและทำกินในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิต เมื่อโจทก์มิได้ตั้งรูปคดีที่จะฟ้องขอเพิกถอนสิทธิอาศัยและสิทธิภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์หรือฟ้องโดยอาศัยบทบัญญัติต่างๆ ในมาตรา 1409 ศาลก็จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบอาคารในบริเวณที่ดินที่จำเลยอาศัยให้แก่โจทก์และห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับอาคารดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยที่ได้จากพินัยกรรมต้องจดทะเบียนจึงสมบูรณ์ การเข้าอยู่อาศัยแทนโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิด
การได้มาซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยพินัยกรรม เป็นการได้สิทธิมาโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคต้น
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตน โดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยไม่สมบูรณ์หากไม่จดทะเบียน แม้ได้มาโดยพินัยกรรม การเข้าอยู่แทนเจ้าของโดยไม่ยินยอมเป็นการละเมิด
การได้มาซึ่งสิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สินเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยพินัยกรรม เป็นการได้สิทธิมาโดยนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคต้น
จำเลยร่วมมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งสิทธิอาศัยกับพนักงานเจ้าหน้าที่สิทธิอาศัยของจำเลยร่วมจึงไม่บริบูรณ์
การที่จำเลยเข้าอยู่ในเรือนพิพาทเพราะจำเลยร่วมให้เข้าอยู่แทนตนโดยโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมผู้หนึ่งมิได้ยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709-710/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การนอกเหนือกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการไม่ได้จดทะเบียนสิทธิอาศัย
จำเลยมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งหลังจากวันชี้สองสถานแล้วถึงหนึ่งเดือนเศษ เมื่อคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ และฟ้องแย้งของจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้อะไรขึ้นใหม่ นอกจากรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมที่มีอยู่ในคำให้การเดิม ข้อต่อสู้ที่ขอเพิ่มเติมใหม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยย่อมทราบได้ดีว่ามีอยู่แล้วมาแต่ต้น ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งก่อนวันชี้สองสถานได้แม้จำเลยจะสงวนสิทธิที่จะฟ้องบังคับโจทก์ตามฟ้องแย้งไว้ในคำให้การเดิมและคดีมิใช่เป็นคดีอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การและฟ้องแย้งได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
กรณีได้ความตามที่จำเลยยอมรับว่า จำเลยได้สิทธิอาศัยมาโดยข้อตกลงด้วยวาจาที่โจทก์ให้ไว้กับจำเลย ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์สิทธิมาโดยนิติกรรม กรณีต้องตกอยู่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคแรก เพราะมิใช่การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมดังบัญญัติไว้ในวรรคสอง เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิที่จำเลยกล่าวอ้างได้มา จึงยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่า: สิทธิการอาศัยและการสิ้นสุดสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากตึกพิพาทที่โจทก์เช่าจาก น.เจ้าของตึก ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัย ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้เช่าตึกโดยจำเลยให้โจทก์ลงชื่อแทนนั้น แม้จะเป็นการโต้เถียงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยว่าใครเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกก็ตาม แต่ก็ไม่เรียกว่าเป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง โดยผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นมิได้รับรองปัญหาข้อเท็จจริงนี้ว่ามีเหตุอันมิควรอุทธรณ์ จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 224
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกเพื่อตัวโจทก์เอง มิใช่ทำสัญญาเช่าแทนจำเลย และฟังต่อไปว่า โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยตั้งบริษัท เจ.เอ.อยู่ชั่วคราว มิใช่โจทก์ให้บริษัท เจ.เอ.อาศัย ซึ่งในประเด็นเช่นนี้ ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายหรือปราศจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ประการใด ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นที่ว่า โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยหรือไม่ ขึ้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่สมฟ้อง ฟังไม่ได้ว่าได้ให้จำเลยอาศัย ข้อเท็จจริงกลายเป็นโจทก์ให้บริษัท เจ.เอ.อาศัย. ศาลฎีกาจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนี้ไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ต้องห้าม ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นกล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์
โจทก์เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึก แล้วโจทก์ให้จำเลยอาศัยสิทธิของโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เกี่ยวกับสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของตึกพิพาทเลย กฎหมายปิดปากไม่ให้ผู้อาศัยกล่าวอ้างว่า ผู้ให้อาศัยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เขาให้ตนอาศัย
การอาศัยต้องถือเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ มิใช่สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 บุคคลสิทธินี้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้อาศัยและผู้อาศัย ถ้าผู้ให้อาศัยไม่ประสงค์จะให้ผู้อาศัยอยู่ในตึกพิพาทเมื่อใด ผู้ให้อาศัยก็มีสิทธิจะขับไล่ผู้อาศัยออกไปได้ทันที และผู้อาศัยก็มีหน้าที่จะต้องออกไปด้วย
สัญญาเช่ามีว่า เมื่อสิ้นระยะเวลาเช่าแล้ว ถ้าผู้เช่ายังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อมา ก็ให้ถือว่าเช่ากันเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าจะบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งเดือนเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของตึกผู้ให้โจทก์เช่าได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ผู้เช่า จึงต้องถือว่าสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของตึกกับโจทก์ยังไม่ระงับจำเลยอาศัยตึกพิพาทที่โจทก์เช่าอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าที่ให้ผู้อื่นอยู่อาศัย และข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากตึกพิพาทที่โจทก์เช่าจาก น.เจ้าของตึกซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัยที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้เช่าตึกโดยจำเลยให้โจทก์ลงชื่อแทนนั้น แม้จะเป็นการโต้เถียงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยว่าใครเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกก็ตามแต่ก็ไม่เรียกว่าเป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นมิได้รับรองปัญหาข้อเท็จจริงนี้ว่ามีเหตุอันมิควรอุทธรณ์ จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 224
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกเพื่อตัวโจทก์เองมิใช่ทำสัญญาเช่าแทนจำเลยและฟังต่อไปว่า โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยตั้งบริษัท เจ.เอ.อยู่ชั่วคราว มิใช่โจทก์ให้บริษัท เจ.เอ. อาศัย ซึ่งในประเด็นเช่นนี้ ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายหรือปราศจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ประการใด ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นที่ว่า โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องฟังไม่ได้ว่าได้ให้จำเลยอาศัยข้อเท็จจริงกลายเป็นโจทก์ให้บริษัท เจ.เอ อาศัย ศาลฎีกาจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนี้ไม่ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นกล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์
โจทก์เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึก แล้วโจทก์ให้จำเลยอาศัยสิทธิของโจทก์ความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เกี่ยวกับสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของตึกพิพาทเลย กฎหมายปิดปากไม่ให้ผู้อาศัยกล่าวอ้างว่าผู้ให้อาศัยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เขาให้ตนอาศัย
การอาศัยต้องถือเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ มิใช่สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 บุคคลสิทธินี้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้อาศัยและผู้อาศัย ถ้าผู้ให้อาศัยไม่ประสงค์จะให้ผู้อาศัยอยู่ในตึกพิพาทเมื่อใดผู้ให้อาศัยก็มีสิทธิจะขับไล่ผู้อาศัยออกไปได้ทันที และผู้อาศัยก็มีหน้าที่จะต้องออกไปด้วย
สัญญาเช่ามีว่า เมื่อสิ้นระยะเวลาเช่าแล้ว ถ้าผู้เช่ายังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อมาก็ให้ถือว่าเช่ากันเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าจะบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งเดือนเลิกสัญญา ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของตึกผู้ให้โจทก์เช่าได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ผู้เช่าจึงต้องถือว่าสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของตึกกับโจทก์ยังไม่ระงับจำเลยอาศัยตึกพิพาทที่โจทก์เช่าอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าที่ให้ผู้อื่นอยู่อาศัย และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยออกจากตึกพิพาทที่โจทก์เช่าจาก น.เจ้าของตึก.ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท. จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัย. ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้เช่าตึกโดยจำเลยให้โจทก์ลงชื่อแทนนั้น. แม้จะเป็นการโต้เถียงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยว่าใครเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกก็ตาม. แต่ก็ไม่เรียกว่าเป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ. คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224. ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่า. โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง. โดยผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นมิได้รับรองปัญหาข้อเท็จจริงนี้ว่ามีเหตุอันมิควรอุทธรณ์. จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 224.
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง. ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นผู้เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึกเพื่อตัวโจทก์เอง. มิใช่ทำสัญญาเช่าแทนจำเลย. และฟังต่อไปว่า โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยตั้งบริษัท เจ.เอ.อยู่ชั่วคราว. มิใช่โจทก์ให้บริษัท เจ.เอ.อาศัย. ซึ่งในประเด็นเช่นนี้. ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดกฎหมายหรือปราศจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ประการใด. ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นที่ว่า. โจทก์ได้ให้จำเลยอาศัยหรือไม่.ขึ้นวินิจฉัยว่า. โจทก์นำสืบไม่สมฟ้อง. ฟังไม่ได้ว่าได้ให้จำเลยอาศัย. ข้อเท็จจริงกลายเป็นโจทก์ให้บริษัท เจ.เอ.อาศัย. ศาลฎีกาจึงรับฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนี้ไม่ได้. เพราะเป็นการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ต้องห้าม. ไม่.ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นกล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์.
โจทก์เช่าตึกพิพาทจากเจ้าของตึก. แล้วโจทก์ให้จำเลยอาศัยสิทธิของโจทก์.ความเกี่ยวพันระหว่างโจทก์และจำเลย.ไม่.เกี่ยวกับสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของตึกพิพาทเลย. กฎหมายปิดปากไม่ให้ผู้อาศัยกล่าวอ้างว่า.ผู้ให้อาศัยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์หรือไม่มีสิทธิในทรัพย์ที่เขาให้ตนอาศัย.
การอาศัยต้องถือเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิ. มิใช่สิทธิอาศัยอันเป็นทรัพย์สิทธิตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 บุคคลสิทธินี้ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้อาศัยและผู้อาศัย. ถ้าผู้ให้อาศัยไม่ประสงค์จะให้ผู้อาศัยอยู่ในตึกพิพาทเมื่อใด.ผู้ให้อาศัยก็มีสิทธิจะขับไล่ผู้อาศัยออกไปได้ทันที. และผู้อาศัยก็มีหน้าที่จะต้องออกไปด้วย.
สัญญาเช่ามีว่า. เมื่อสิ้นระยะเวลาเช่าแล้ว ถ้าผู้เช่ายังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อมา. ก็ให้ถือว่าเช่ากันเป็นรายเดือนจนกว่าผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าจะบอกกล่าวล่วงหน้าหนึ่งเดือนเลิกสัญญา. ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าของตึกผู้ให้โจทก์เช่าได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ผู้เช่า. จึงต้องถือว่าสัญญาเช่าระหว่างเจ้าของตึกกับโจทก์ยังไม่ระงับจำเลยอาศัยตึกพิพาทที่โจทก์เช่าอยู่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่อาศัยในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ชัดเจนถึงสัญญาจ้าง และสิทธิการอยู่อาศัยสิ้นสุดเมื่อถูกบอกกล่าว
โจทก์จ้างจำเลยทำสวน จำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ว่ากล่าวประการใด ถือได้ว่าการเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการอาศัย มิได้เข้ามาโดยมีข้อสัญญาจ้างตกลงเช่นนั้น ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยังมิได้บอกเลิกสัญญาจ้าง และยังมิได้ชำระค่าจ้าง เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาทนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าปลูกเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัย ย่อมไม่มีสิทธิอยู่ต่อแม้ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาจ้าง
โจทก์จ้างจำเลยทำสวน จำเลยเข้ามาปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยโจทก์มิได้ว่ากล่าวประการใด ถือได้ว่าการเข้ามาอยู่ในที่ดินของโจทก์เป็นการอาศัย มิได้เข้ามาโดยมีข้อสัญญาจ้างตกลงเช่นนั้น ดังนั้น ถึงแม้โจทก์จะยังมิได้บอกเลิกสัญญาจ้าง และยัง มิได้ชำระค่าจ้างเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว จำเลย ก็ไม่มีสิทธิจะอยู่ในที่พิพาทนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาขายฝากเป็นจำนอง และผลของการบอกกล่าวเลิกสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาขายฝากเรือนพิพาทโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะทำสัญญาขายฝาก จำเลยไม่ได้ตกลงกับโจทก์ในเรื่องจำนองแต่อย่างใด นิติกรรมจำนองที่จำเลยทำจึงไม่มีอยู่เลย สัญญาขายฝากจึงไม่เป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้อาศัยให้ออกไปหลายครั้งแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโต้แย้งไว้ จึงฟังได้ว่าได้บอกกล่าวแล้ว คำบอกกล่าวเลิกสัญญาไม่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
of 7