พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13963/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงาน การปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ และการรับผิดของจำเลยที่ 3 ตามหนังสือค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิด ในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง แม้โจทก์จะทราบการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดอย่างช้าในวันที่ 25 มกราคม 2554 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 เกินกว่า 1 ปี อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดขาดอายุความดังที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแรงงานยักยอกเงินไประหว่างวันที่ 5 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2553 เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. บ. และ จ. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์ไว้ 6 ข้อ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำกิจการแยกกันได้ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากร ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ 90 บาท แต่การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 113 และมาตรา 114 เพียงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าในชั้นสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 60 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาท พร้อมขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. บ. และ จ. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำการต่างๆ แทนโจทก์ไว้ 6 ข้อ จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำกิจการแยกกันได้ค่าอากรแสตมป์จึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (ค) ท้าย ป.รัษฎากร ดังนั้นหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ต้องปิดอากรแสตมป์ 90 บาท แต่การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 113 และมาตรา 114 เพียงให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าในชั้นสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 60 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาท พร้อมขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียเงินเพิ่มอากร ศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ยังมิได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ หากศาลอนุญาตให้ขีดฆ่าภายหลัง
ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า "ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้ และขีดฆ่าแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และมาตรา 114" บทบัญญัตินี้ไม่ได้บังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าในขณะที่ทำตราสารแต่อย่างใด และมิได้บัญญัติว่า ตราสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์หรือขีดฆ่าใช้บังคับไม่ได้ แต่กลับบัญญัติให้มีการปิดอากรแสตมป์และขีดฆ่าในภายหลังได้ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจได้ปิดอากรแสตมป์แล้วและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขีดฆ่าในระหว่างการพิจารณาจึงเป็นเอกสารที่รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ปิดแสตมป์ไม่ครบก่อนฟ้องคดี ยังใช้เป็นหลักฐานได้ และดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้วว่าจะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น หาได้บังคับถึงเวลาที่ปิดและได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ ดังนี้ เมื่อหนังสือสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือสัญญาค้ำประกันเงินกู้ได้ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและขีดฆ่าแล้วก่อนฟ้องคดีย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ส่วนโจทก์จะปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องในการปิดอากรแสตมป์ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 113 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากจากการปิดอากรแสตมป์
แม้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่โจทก์และจำเลยตกลงเรียกดอกเบี้ยสัญญากู้ยืมเงินกันในอัตราร้อยละ 3 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 36 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ผลเท่ากับไม่เคยมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอยู่ในสัญญา แต่กรณีเป็นหนี้เงินโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ได้
แม้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุว่า ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี ถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 แต่โจทก์และจำเลยตกลงเรียกดอกเบี้ยสัญญากู้ยืมเงินกันในอัตราร้อยละ 3 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 36 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบและตกเป็นโมฆะ เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น ผลเท่ากับไม่เคยมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอยู่ในสัญญา แต่กรณีเป็นหนี้เงินโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่มิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ภายหลังได้ปิดและขีดฆ่าแล้ว สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้จะยังมิได้ชำระเงินเพิ่ม
ป.รัษฎากร มาตรา 118 หมายความว่า ตราสารชนิดที่ต้องปิดอากรแสตมป์หากยังมิได้ปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนและทำการขีดฆ่าไม่สามารถนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่หากนำตราสารนั้นไปปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์และขีดฆ่าแล้วก็สามารถนำไปใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้การปิดอากรแสตมป์จะกระทำเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ปิดก็เป็นเรื่องการเสียเงินเพิ่มอากรซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเรียกเก็บเงินอากรจะจัดการเรียกเก็บในโอกาสต่อไป ไม่มีผลต่อการใช้ตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
จำเลยกู้เงินโจทก์ 50,000 บาท โดยทำสัญญากู้เงินเป็นหนังสือ แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ภายใน 90 วัน นับแต่วันต้องปิดตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อโจทก์อ้างสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐานในชั้นสืบพยานปรากฏว่ามีการปิดอากรแสตมป์ 25 บาท ครบถ้วนตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์และขีดฆ่าแล้ว แม้จะยังมิได้เสียเงินเพิ่มอากร โจทก์ก็ใช้สัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยกู้เงินโจทก์ 50,000 บาท โดยทำสัญญากู้เงินเป็นหนังสือ แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ภายใน 90 วัน นับแต่วันต้องปิดตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อโจทก์อ้างสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐานในชั้นสืบพยานปรากฏว่ามีการปิดอากรแสตมป์ 25 บาท ครบถ้วนตามอัตราในบัญชีอัตราอากรแสตมป์และขีดฆ่าแล้ว แม้จะยังมิได้เสียเงินเพิ่มอากร โจทก์ก็ใช้สัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีการแก้ไขอากรแสตมป์ และการลงชื่อในคำฟ้องโดยทนายความ ศาลรับฟังเป็นหลักฐานได้
ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญา แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วก่อนฟ้องคดีย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ส่วนการที่โจทก์ได้ปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องในการปิดอากรแสตมป์ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 113 แล้วหรือไม่ เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ
คำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความว่าผู้เรียงพิมพ์และลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งดังกล่าวและได้ดำเนินกระบวนพิจารณากันมาจนเสร็จสิ้นถึงศาลฎีกาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้แต่งตั้งให้ ช. เป็นทนายความ และในคำฟ้องทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นโจทก์ ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์ พอที่จะฟังได้ว่าทนายความโจทก์เป็นผู้เรียงพิมพ์คำฟ้อง ซึ่งมีอำนาจกระทำได้ จึงไม่จำต้องคืนคำฟ้องให้โจทก์ไปทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่ดำเนินมาทั้งหมดจึงไม่เสียไป
คำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความว่าผู้เรียงพิมพ์และลายมือชื่อของผู้เรียงพิมพ์ เป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขคำฟ้องได้ตามมาตรา 18 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งดังกล่าวและได้ดำเนินกระบวนพิจารณากันมาจนเสร็จสิ้นถึงศาลฎีกาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้แต่งตั้งให้ ช. เป็นทนายความ และในคำฟ้องทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นโจทก์ ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาทนายความโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงพิมพ์ พอที่จะฟังได้ว่าทนายความโจทก์เป็นผู้เรียงพิมพ์คำฟ้อง ซึ่งมีอำนาจกระทำได้ จึงไม่จำต้องคืนคำฟ้องให้โจทก์ไปทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่ดำเนินมาทั้งหมดจึงไม่เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังสัญญาที่ไม่ปิดอากรแสตมป์ในวันทำสัญญา แต่ปิดและขีดฆ่าภายหลัง และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เพียงแต่บัญญัติว่าตราสารใดที่ไม่ปิดอากรแสตมป์หรือปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะปิดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนบริบูรณ์และขีดฆ่าแล้ว แต่หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาดังที่จำเลยฎีกาไม่ ส่วนเรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากรตามมาตรา 113 และ 114 แห่งประมวลรัษฎากรฯเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งไม่มีผลกระทบถึงการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์แต่ประการใด
การขีดฆ่าอากรแสตมป์มิได้จำกัดแต่เฉพาะการลงลายมือชื่อบนอากรแสตมป์หรือการขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์และลงวันเดือนปีกำกับเท่านั้น แต่ย่อมหมายรวมถึงการกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่ทำให้อากรแสตมป์นั้นเสียไปไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกจึงถือว่าเป็นการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ถูกต้องตามมาตรา 103 แล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์มิได้จำกัดแต่เฉพาะการลงลายมือชื่อบนอากรแสตมป์หรือการขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์และลงวันเดือนปีกำกับเท่านั้น แต่ย่อมหมายรวมถึงการกระทำด้วยวิธีการอื่นใดที่ทำให้อากรแสตมป์นั้นเสียไปไม่สามารถนำไปใช้ใหม่ด้วย เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยขีดเส้นคร่อมบนอากรแสตมป์เพื่อมิให้นำไปใช้ได้อีกจึงถือว่าเป็นการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ถูกต้องตามมาตรา 103 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์หลังทำสัญญา & การรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถรับฟังได้หากเอกสารมีผลบังคับใช้
ประมวลรัษฎากรมาตรา118หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ดังนี้แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญาแต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้การรับผิดเสียอากรเพิ่มตามมาตรา113และมาตรา114แห่งประมวลรัษฎากรหากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่1และที่2อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมายจ.11และจ.12มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์อีก คำเบิกความของนางสาวป. ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้วการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ศาลจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสามและมาตรา114วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์และผลต่อการรับฟังพยานหลักฐาน: การปิดอากรแสตมป์ภายหลังทำสัญญาไม่กระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐานได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ ดังนี้ แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์ หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ การรับผิดเสียอากรเพิ่มตาม มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร หากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ผู้ขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายของสินค้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือสภาพสินค้า
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นใบมอบอำนาจตามประมวลรัษฎากรปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้นและเพิ่งจะยกขึ้นเป็นข้อโต้เถียงคัดค้านในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้ ปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.ได้แต่งตั้งให้ น. และหรือ ว. เป็นผู้รับมอบอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนห้างหุ้นส่วนได้แก่ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดี ดำเนินคดี และดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญาในศาลทั้งหลายของประเทศไทยหรือองค์การใด ๆ ของรัฐบาลในประเทศไทยต่อจำเลยทั้งห้า ฟ้องร้องดำเนินคดีล้มละลายแก่ลูกหนี้ในประเทศไทยและกระทำการอื่นตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึง 5 ดังนี้ เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ค่าอากรจึงต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 7(ค) ท้ายประมวลรัษฎากร แม้โจทก์ที่ 3ที่ 4 และที่ 5 จะลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว แต่ก็เป็นการกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญ ก.หาใช่โจทก์ทั้งสามต่างคนต่างมอบอำนาจเป็นการเฉพาะตัวไม่ เมื่อเป็นการมอบอำนาจให้บุคคล 2 คน ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์สำหรับผู้รับมอบอำนาจคนละ 30 บาทหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงต้องปิดอากรแสตมป์เพียง 60 บาท เท่านั้น การปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 113 และ 114ก็ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรจนครบพร้อมเงินเพิ่มอากรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยในชั้นสืบพยานโจทก์ได้ปิดอากรแสตมป์เพิ่มเติมอีก 150 บาท จากที่ปิดอากรแสตมป์ไว้เดิมเพียง 30 บาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องปิดตามกฎหมาย พร้อมทั้งขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้วแม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ได้เสียเงินเพิ่มอากรศาลก็รับฟังหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีเป็นพยานหลักฐานได้โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงที่จำเลยฎีกาเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) คดีพิพาทเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเล ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสอง กำหนดให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้น แต่ปรากฏว่าขณะเกิดข้อพิพาทยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขนมาใช้บังคับโดยถือเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 บัญญัติว่าผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นบุบสลายเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการบุบสลายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับขนส่งสินค้าลำไยพิพาทโดยมีหน้าที่ต้องจัดหาตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นสำหรับควบคุมอุณหภูมิในขณะขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2มอบตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำการขนส่งเพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเรือบรรทุกสินค้า จำเลยที่ 2เป็นผู้ว่าจ้างโดยมีข้อตกลงกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ว่าเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีเครื่องทำความเย็นภายในบรรจุลำไยสดจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงทราบดีว่าสินค้าภายในตู้เป็นผลไม้สดที่ต้องใช้ตู้ทำความเย็นเพื่อรักษาความสดของผลไม้ไว้ เหตุที่จำเลยที่ 3และที่ 4 อ้างว่าสินค้าลำไยพิพาทต้องเสียหายเป็นเพราะความบกพร่องของตู้คอนเทนเนอร์ ท่อน้ำยารั่ว ตู้ดังกล่าวจึงไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้ได้ เจ้าหน้าที่เรือไม่อาจซ่อมแซมขณะเรือแล่นอยู่ในทะเลได้นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบุบสลายหรือเสียหายอันเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง ทั้งไม่ปรากฏว่าสินค้าต้องบุบสลายหรือเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่งหรือผู้รับตราส่งแต่อย่างใด การขนส่งของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดร่วมกันในการบุบสลายหรือเสียหายนั้นต่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ล่าช้า แต่โจทก์อ้างเป็นพยานและศาลรับเป็นหลักฐานได้ ไม่ต้องเสียอากรเพิ่ม
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ปิดอากรแสตมป์ในเอกสารเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันต้องปิดอากรแสตมป์ โดยมิได้เสียอากรเพิ่ม แต่ขณะโจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาล เอกสารนั้นปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนบริบูรณ์ตามกฎหมาย และศาลชั้นต้นได้รับรวมสำนวนไว้แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้โดยไม่ต้องเสียอากรเพิ่ม ตามมาตรา 113 แห่งป.รัษฎากร ให้ครบถ้วนก่อน.