พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14556/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินเวนคืน, สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน, และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานราชการหลังการปรับปรุงกระทรวง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติชัดเจนว่า เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือในระยะเวลาใด เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปรับเงินค่าทดแทน โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แม้ขณะที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และมีหนังสือขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเป็นระยะเวลาที่เลยกำหนด พ.ร.ฎ.เวนคืนใช้บังคับแล้วก็ตาม ไม่ทำให้อุทธรณ์และหนังสือแจ้งร้องขอให้ซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนสิ้นสิทธิอุทธรณ์และสิ้นสิทธิร้องขอให้ซื้อที่ดินไปด้วย เพราะมิฉะนั้นก็อาจเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกเวนคืนไปรับเงินค่าทดแทนใกล้กับวันครบกำหนดใช้บังคับตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน อันจะทำให้ความในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับไปในตัว ซึ่งไม่ชอบด้วยเหตุผลความถูกต้องและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืนต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอน หากฟ้องเกินกว่าที่อุทธรณ์ไว้ไม่มีสิทธิ
บทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เป็นการกำหนดขั้นตอนในการตรวจสอบการกำหนดเงินค่าทดแทนเพื่อให้ประชาชนที่ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเป็นธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันราคาลดลงและค่าเช่าอาคารที่ลดลง ซึ่งเกินไปจากวงเงินที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาก่อนแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมอาคารส่วนที่เหลืออันราคาลดลง
โจทก์ฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันราคาลดลงและค่าเช่าอาคารที่ลดลง ซึ่งเกินไปจากวงเงินที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมาก่อนแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมอาคารส่วนที่เหลืออันราคาลดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืนและการโต้แย้งคำวินิจฉัยค่าทดแทน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอำนาจฟ้องและขอบเขตการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืน...ฯ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ในฐานะดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นตัวแทนของกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการเวนคืนเพื่อสร้างถนนเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย การดำเนินการเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์อ้างว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว ไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น รัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ และเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 10,000 บาท เท่ากับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์เหมาะสมแล้วไม่ได้ เพราะจะเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ให้สิทธิแก่ฝ่ายเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งหรือไม่ปฎิบัติตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น รัฐมนตรีฯ ได้วินิจฉัยอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ และเพิ่มค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เป็นตารางวาละ 10,000 บาท เท่ากับที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจะฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่าอัตราเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์เหมาะสมแล้วไม่ได้ เพราะจะเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3843/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินเวนคืน การหักราคาที่ดินส่วนที่เหลือ และอำนาจฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน... ผู้ใดไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 ... มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี... ภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว" เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินตามมาตรา 9 วรรคสี่ ให้แก่โจทก์เสร็จแล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่จำต้องรอหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนก่อน และตามบทบัญญัติมาตรา 25 วรรคหนึ่งดังกล่าวมิได้ห้ามผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนก่อนได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ การที่โจทก์ไปยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินต่อจำเลยที่ 1 ก่อนวันที่โจทก์จะได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนก็ตาม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ และจำเลยที่ 1 ยังได้รับและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ได้เพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีกด้วยโดยไม่ได้โต้แย้งเลยว่าอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวไม่ชอบประการใด ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 ได้และถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มได้ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนเงินค่าทดแทนความเสียหายของต้นไม้และที่ดินกับสวนส้ม โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 วินิจฉัยกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายดังกล่าวตามขั้นตอนในมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งได้ ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและข้อเท็จจริงอันนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำเข้าสู่การพิจารณาของศาลโดยชอบแล้ว แม้จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่ได้ยกเหตุนี้ขึ้นแก้ฎีกาของโจทก์ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การแจ้งผลการประเมินราคา และการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา
โจทก์แจ้งย้ายที่อยู่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 2 มิถุนายน 2538 จึงเป็นวันที่โจทก์ย้ายออกจากที่อยู่เดิมแล้วจึงเชื่อว่าโจทก์มิได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการย้ายที่อยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ เป็นหน้าที่ของฝ่ายจำเลยที่จะต้องตรวจหาที่อยู่ของโจทก์เอง เมื่อยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าเวนคืน: ผลของหนังสือแจ้งการนำเงินฝากและการตัดสิทธิการอ้างเหตุระยะเวลาอุทธรณ์
แม้นับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ถึงวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จะพ้นกำหนดเวลา 60 วัน แต่ในระหว่างเวลา 60 วัน ดังกล่าว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสืออีกฉบับแจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้กับธนาคารออมสินให้โจทก์ทราบ โดยระบุตอนท้ายของหนังสือว่า หากท่านไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทน ท่านมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้นท่านจะหมดสิทธิอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยึดถือตามหนังสือฉบับหลังนี้ และยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ภายในกำหนดเวลาตามหนังสือฉบับหลังนี้ จำเลยย่อม ถูกตัดบทมิให้ยกระยะเวลาที่ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ตามหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนฉบับแรกขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาตลาด ณ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ. และความล่าช้าในการจ่ายค่าชดเชย
คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ทราบและไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ทันที กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาสิ้นสุดแห่งการใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่กำหนดเวลาเริ่มต้นให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ ได้ก่อนได้รับหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทน ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์เรื่องเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 16 วรรคท้าย บัญญัติว่าถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สิน ที่ถูกเวนคืนได้โอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้น มีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิในที่ดินภายหลังจากที่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนได้
การพิจารณาว่าโจทก์สมควรได้รับเงินค่าทดแทนเท่าใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน มาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่บัญญัติให้กำหนดโดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ แต่การที่ฝ่ายจำเลยเพิ่งนำเงิน ค่าทดแทนที่ดินไปวางให้โจทก์ภายหลังจากวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับแล้วเกือบสามสิบปี เป็นกรณีที่ฝ่ายจำเลยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในเวลาอันควร ไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของที่ดินพิพาท ดังนั้นการที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์โดยใช้ฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ ย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเปลี่ยนวันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์จากวันที่ พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับในวันที่ 10 ก.ค. 2508 มาเป็นกลางปี 2533 อันเป็นช่วงเวลาก่อนที่ฝ่ายจำเลยจะมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประมาณ 2 ปี โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาที่ควรต้องใช้ในกรณีปกติที่มีการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของ ที่ดินพิพาทก่อนการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามปกติจนถึงกลางปี 2533 ว่าหากไม่มีการสร้างทางหลวงแผ่นดินสายนี้แล้ว สภาพและที่ตั้งของที่ดินพิพาทเป็นเช่นไรประกอบการพิจารณาในการกำหนดเงินค่าทดแทนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6852-6854/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายก่อนมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินเป็นโมฆะ, ฟ้องเกินกำหนดระยะเวลา
หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 นั้น จะต้องเป็นการแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนซึ่งได้จัดเตรียมการจ่ายไว้แล้วโดยไม่ต้องดำเนินกิจการอย่างอื่นอีก หากหนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เป็นกรณีที่กำหนดว่าจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอีกโดยยังไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนก็ไม่ใช่หนังสือแจ้งของเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หนังสือที่เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เชิญให้โจทก์ที่ 1 มาทำสัญญาซื้อขายตามมาตรา 10 มิใช่หนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เอกสารที่เป็นหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง คือ เอกสารหมาย จ. 11 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535 เรื่องแจ้งให้โจทก์ที่ 1 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีข้อความให้โจทก์ที่ 1 ไปรับเงินค่าทดแทนได้โดยไม่มีข้อที่จะดำเนินการอย่างอื่นอีก เมื่อโจทก์ที่ 1 อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่งแล้ว โจทก์ที่ 1 มีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯในขณะที่ไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ ขณะนั้นผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ทำการแทนจำเลย ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนแล้ว จึงไม่มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯจึงไม่มีผลใช้บังคับ และที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนก็โดยอาศัยสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นการแจ้งและจ่ายเงินอันสืบเนื่องมาจากสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯที่ไม่มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่มีการทำสัญญาซื้อขายกันตามมาตรา 10 เพราะขณะที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ที่ 2 ไปรับเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯนั้น อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืน และราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนในท้องที่เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 กำหนดโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน? พ.ศ. 2530 ได้สิ้นสุดลงไปพร้อมกับการหมดอายุของ พ.ร.ฎ.ดังกล่าว การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดิน การจัดซื้อ การจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนเป็นการดำเนินการในขณะที่ไม่มีอำนาจและผิดขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทำให้ยังไม่มีกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 ดังที่บัญญัติในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง จึงยังไม่มีกรณีที่จะเริ่มนับกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กรณีของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นกรณีที่ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ฝ่ายจำเลยต้องดำเนินการในเรื่องการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใหม่ จึงต้องยกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ด้วยเหตุนี้ มิใช่ยกฟ้องด้วยเหตุว่าฟ้องคดีเกินกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การใช้สิทธิอุทธรณ์เกินกำหนด, การแก้ไขราคาเวนคืน, และสิทธิในการจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติให้ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 ผู้ใดที่ไม่พอใจในราคาของ อสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตาม มาตรา 9 หรือมาตรา 23 กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนดังกล่าว ซึ่งมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้ ระยะเวลาหกสิบวันที่กำหนดให้ผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ต้องเป็นกรณีที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วผู้นั้นไม่พอใจ การที่ในตอนแรกคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิดังกล่าว และผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยที่ 1 ให้มา รับเงินค่าทดแทนดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2533ต่อมาผู้นั้นได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2533 แม้การอุทธรณ์ดังกล่าวจะเกินกำหนดหกสิบวันแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาได้มีประกาศ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้ บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 อันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิ ด้วย ซึ่งมาตรา 10 ทวิ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิมและราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาศัยอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่คือคณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นฯ เพื่อทำหน้าที่กำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นได้แก้ไขใหม่นี้ จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตาม มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ดังนั้น เมื่อผู้มีสิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่พอใจย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่แก้ไขใหม่ ได้อีก เมื่อ ผู้มีสิทธิฯ ไม่พอใจ และได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อยังไม่เกินกำหนด ระยะเวลาหกสิบวัน อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 ดังกล่าวแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังไม่วินิจฉัย อุทธรณ์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิย่อมมีสิทธิฟ้องคดีได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ต้องเวนคืนที่ดินแปลงใดแต่เพียงบางส่วน ถ้าเนื้อที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นน้อยกว่ายี่สิบห้าตารางวา หรือด้านหนึ่งด้านใดน้อยกว่าห้าวาและที่ดินส่วนที่เหลืออยู่นั้นมิได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน หากเจ้าของ ร้องขอให้เจ้าหน้าที่เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือด้วยนั้นกฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติขึ้นเพื่อให้เจ้าหน้าที่เวนคืนทำการเวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินส่วนที่เหลือจากเจ้าของที่ดินเพราะที่ดินส่วนที่เหลือนั้นเหลืออยู่น้อยหรือมีสภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ทำประโยชน์ต่อไป โดยกำหนดให้เจ้าของ ที่ดินร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนเสียก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่เวนคืนจะได้พิจารณาว่ากรณีต้องตามกฎหมายมาตรา ดังกล่าวหรือไม่ การที่โจทก์เคยเสนอขายที่ดินส่วนที่เหลือ ดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 แต่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ให้ราคาต่ำกว่าราคาประเมิน โจทก์จึงไม่ขาย แม้การกระทำดังกล่าวจะถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอต่อเจ้าหน้าที่เวนคืนตามมาตรา 20 วรรคหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่พอใจก็ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี ตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีขอให้เวนคืนหรือจัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่จัดซื้อที่ดินโจทก์ทั้งหกในส่วนที่เหลือได้