คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิทยา วีระประจักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: บุคคลภายนอกซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนได้อ้างสิทธิเหนือผู้ครอบครองไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. ของจำเลยทั้งสอง ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยการยกให้จาก อ. ก็เป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังมิได้จดทะเบียน และจำเลยทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทจากกองทุนรวมแกมม่าแคปปิตอล โดยไม่ทราบว่าโจทก์เข้าไปครอบครองทำกินในที่ดินพิพาทมาก่อน โจทก์จึงไม่อาจยกสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9839/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่ กรณีถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง: จำเลยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดและนำสืบพยานหลักฐานได้
การฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งรับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง หากแปลความมาตรา 99 วรรคหนึ่ง ว่าผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องรับผิดเด็ดขาดโดยไม่คำนึงถึงเหตุที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ว่าเกิดจากการกระทำของผู้นั้นหรือไม่ ย่อมเป็นการใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธความรับผิดและต่อสู้ว่าทั้งสองไม่เคยให้เงินหรือทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บุคคลใดมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นตามคำให้การได้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบโดยอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาจึงเป็นการนำสืบปฏิเสธความรับผิดตามประเด็นที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ไว้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉีกบัตรเลือกตั้งเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้การเลือกตั้งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยสันติวิธีต้องไม่ขัดกฎหมาย
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งอันมีเหตุจากพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 และบทบัญญัติในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นวันเลือกตั้ง เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว และจำเลยได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่เมื่อจำเลยได้รับบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้วเดินเข้าไปในคูหาและกาเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับแล้ว จากนั้นได้ออกมาชูมือขึ้นพร้อมทั้งฉีกบัตรเลือกตั้งทั้งสองฉบับ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จขณะที่ฉีกบัตรเลือกตั้งตาม ป.อ. มาตรา 358 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 108 ที่ใช้บังคับอยู่ในวันดังกล่าว และผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หามีผลต่อการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใดไม่ ส่วนข้อโต้แย้งของจำเลยในส่วนที่ว่า การใช้สิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีตามมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 นั้น เห็นว่า การใช้สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำที่มิได้ล่วงละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6585/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามนำสิ่งของต้องห้ามเข้าเรือนจำ แม้จับกุมก่อนถึงเรือนจำ
จุดด่านตรวจที่จับกุมจำเลยได้อยู่ห่างจากเรือนจำประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นจุดตรวจค้นพบของกลางเท่านั้น ยังไม่ใช่จุดปฏิบัติการบังคับเครื่องบินซึ่งจำเลยเคยมาทดสอบการใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์บังคับด้วยวิทยุมาแล้ว ฉะนั้น เมื่อจำเลยจะปฏิบัติการบังคับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ส่งโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เข้าเรือนจำจึงอยู่ใกล้เรือนจำซึ่งสามารถกระทำได้ การกระทำของจำเลยถือว่าได้ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้เสียก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามนำโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์ซึ่งเป็นสิ่งของต้องห้ามเข้าไปในเรือนจำ อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือข้อบังคับของเรือนจำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4896/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าจ้างตามสัญญาจ้าง – การตีความสัญญาและข้อบังคับอนุญาโตตุลาการ
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการว่า สัญญาจ้างมุ่งถึงผลสำเร็จของงานทั้งหมด ผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่างมิได้ยึดถือเอาการชำระค่าจ้างตามเนื้องานที่ระบุในแต่ละงวดตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ แม้ผู้คัดค้านไม่ชำระค่าจ้างงานงวดที่ 11 อายุความยังไม่เริ่มนับ อายุความเริ่มนับเมื่อส่งมอบงานทั้งหมดแล้ว ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเพราะสัญญาจ้างระบุงานในแต่ละงวดและระบุค่าจ้างไว้ชัดเจน อายุความย่อมเริ่มนับเมื่อผู้ว่าจ้างไม่ชำระค่าจ้างในแต่ละงวดนั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นการโต้แย้งการวิเคราะห์พยานหลักฐานและดุลพินิจในการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนของอนุญาโตตุลาการ และโต้แย้งการให้เหตุผลในการวินิจฉัยตีความข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านของอนุญาโตตุลาการและศาลชั้นต้นโดยไม่ปรากฏว่ามีการวินิจฉัยผิดจากวิธีพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) ที่ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ทำนองว่า อนุญาโตตุลาการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้นานถึงหนึ่งปี ย่อมขัดต่อข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 27 ที่ต้องทำคำชี้ขาดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ตั้งอนุญาโตตุลาการนั้น ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเพียงกรอบเวลาที่ได้กำหนดให้ดำเนินการเท่านั้น การที่อนุญาโตตุลาการไม่อาจทำคำชี้ขาดได้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามข้อบังคับ ไม่ถึงกับทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนั้น การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13188/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฎีกาของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาจึงชอบที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยพึงต้องใช้แก่โจทก์ร่วมไปตามข้อเท็จจริงตามผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11974/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็ก: องค์ประกอบความผิดฐานกระทำชำเราต้องมีเจตนาเพื่อสนองความใคร่ และความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แต่ผู้อำนวยการโรงเรียนได้มอบหมายให้จำเลยทำการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ศิลปะ และการงานอาชีพหรือเกษตรกรรมในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้เสียหายเรียนอยู่ด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่อบรมสั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนผู้เสียหายหรือนักเรียนร่วมชั้นให้อยู่ในระเบียบของทางราชการ ฐานะของผู้เสียหายจึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 285
การกระทำชำเราโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำด้วย แต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราเพียงว่าจำเลยใช้นิ้วมือของจำเลยแหย่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย ซึ่งมิใช่การกระทำเพื่อสนองความใคร่โดยปกติทั่วไป เมื่อฟ้องโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยกระทำโดยมีเจตนาสนองความใคร่ของจำเลยด้วย ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขัดต่อกฎหมาย และการแก้ไขจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ตามบันทึกข้อตกลงในสำเนารายงานประจำวัน ระบุว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยอีกนั้น ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 ข้อตกลงในส่วนนี้จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ จึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยใช้ชื่อผู้อื่นเนื่องจากข้อจำกัดคนต่างด้าว การจำหน่ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ ป.ที่ดิน
การที่โจทก์ซื้อบ้านและที่ดินพิพาท โดยใช้ชื่อจำเลยเป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์แทนเนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าวไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ เป็นการกระทำที่ขัดต่อ ป.ที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 96 ซึ่งโจทก์จะต้องจัดการจำหน่ายที่ดินนั้นภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยให้จำหน่ายที่ดินแทนโจทก์โดยพลการหาได้ไม่ เนื่องจากเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะให้อธิบดีกรมที่ดินรับทราบและกำหนดเวลาให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายที่ดินเสียก่อน หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดจึงให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นได้ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยจำหน่ายที่ดินพิพาทแทนโจทก์ หากจำเลยไม่ดำเนินการให้ถือคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาและให้โจทก์ได้รับเงินที่ได้จากการจำหน่ายอันเป็นวิธีการนอกเหนือไปจากบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้กำหนดวิธีการจำหน่าย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยร่วมกระทำความผิด มีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กนั้นไม่ยินยอม
การที่ บ. ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วเรียกจำเลยเข้าไปในห้อง ส่วน บ. ออกจากห้องไปรอที่รถ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา จำเลยก็เรียกให้ บ. เข้าไปช่วยจับหัวไหล่ผู้เสียหายที่ 2 ไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ได้นั้น เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยกับ บ. คบคิดหรือนัดแนะกันมาแต่ต้น ถือว่าได้กระทำชำเราโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กนั้นไม่ยินยอมแล้ว
of 3