พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้อนุบาลยื่นคำร้องจัดการมรดก และผลกระทบจากการล้มละลายของผู้จัดการมรดก
การที่คำร้องขอของผู้ร้องและชื่อคู่ความในคดีระบุว่า พ.คนไร้ความสามารถ โดย ว.ผู้อนุบาลเป็นผู้ร้อง เมื่ออ่านประกอบกับข้อความในตอนท้ายของคำร้องขอซึ่งบรรยายว่า ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและยังเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมสามารถเข้าใจได้แจ้งชัดว่าผู้ร้องคือ ว.ยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาลของ พ.คนไร้ความสามารถโดยกระทำการแทน พ.คนไร้ความสามารถ มิใช่ พ.คนไร้ความสามารถเป็นผู้ร้องเองหรือ ว.ในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ร้อง คำร้องขอจึงไม่เคลือบคลุม
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้ พ.เป็นคนไร้ความสามารถโดยมี ย.และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ ย.เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลของ ย.สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาล พ.ได้โดยลำพัง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ย.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาย.ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการมรดก แม้ขณะที่ ย.เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกกับทายาทบางคน ก็ไม่ปรากฏว่า ย.ได้แบ่งทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทอีกสองคนคือ ก.และ พ.มิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยดังนั้น การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีเหตุขัดข้องต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้ พ.เป็นคนไร้ความสามารถโดยมี ย.และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ ย.เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลของ ย.สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาล พ.ได้โดยลำพัง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ย.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาย.ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการมรดก แม้ขณะที่ ย.เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกกับทายาทบางคน ก็ไม่ปรากฏว่า ย.ได้แบ่งทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทอีกสองคนคือ ก.และ พ.มิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยดังนั้น การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีเหตุขัดข้องต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รูปแบบคำอุทธรณ์คำสั่งไม่ถูกต้อง แต่เนื้อหาโต้แย้งชัดเจนและชำระค่าขึ้นศาลเกินจำนวนที่กำหนด ศาลฎีกาให้รับอุทธรณ์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้มาตรา 156 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะบัญญัติว่า การอุทธรณ์คำสั่งให้ยื่นคำขอเป็นคำร้อง และจำเลยทั้งสี่อุทธรณ์คำสั่งมาในรูปแบบคำฟ้องอุทธรณ์คำสั่งแต่ตามเนื้อหาในอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งทั้งได้ชำระค่าขึ้นศาลมาเป็นจำนวนถึง 200 บาท ซึ่งเกินกว่าที่จะต้องชำระในรูปแบบของคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงให้รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสี่ไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ และประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องและดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไปแล้ว การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์รวมกันมาซึ่งอุทธรณ์แต่ละข้อเป็นการกล่าวอ้างเหตุเพื่อไม่ให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามฟ้อง ดังนี้ อุทธรณ์เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้เสียและในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 ยังยื่นฎีการวมกันมากับจำเลยที่ 1 อีกในปัญหาเดียวกันกับในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้นฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 2จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและพิมพ์นั้น เพียงเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์ได้ได้ความว่า ทนายโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในฐานะโจทก์ในคำฟ้องเพียงแต่ได้พิมพ์ชื่อ อ. ทนายความในสำนักงานเดียวกันในช่องผู้เรียงและพิมพ์โดยไม่ได้ลงลายมือชื่อ ซึ่งศาลชั้นต้นตรวจสั่งรับคำฟ้องไว้แล้ว และต่อมาทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องว่า ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวก็ถือได้ว่าโจทก์ได้แก้ไขคำฟ้องให้บริบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชำระค่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ได้หักกลบลบหนี้ที่มีอยู่กับโจทก์หมดสิ้นแล้ว ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 1 เป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีหนี้สินต่อกัน คำให้การของจำเลยที่ 1 จึงก่อให้เกิดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ ส่วนที่จำเลยที่ 1ให้การว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาก็คำนวณอย่างคลุมเครือเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จะยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงตัวจำเลยเกินขอบเขตตาม ป.วิ.พ. การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนตัวจำเลย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาหรือข้ออ้างที่มีต่อจำเลย โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือเพิ่มฟ้องเดิมให้บริบูรณ์มิใช่เป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนตัวจำเลย ซึ่งเป็นตัวบุคคลที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 หากโจทก์ประสงค์จะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลที่โจทก์ยื่นฟ้องเป็นจำเลยไว้ตามฟ้องเดิมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้แต่เดิมแล้วโจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลนั้นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ที่โจทก์ฟ้องบริษัท ร.เป็นจำเลยที่ 3ในคดีนี้มาตั้งแต่แรกโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลนั้น แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องบุคคลธรรมดาเป็นจำเลยที่ 3 แต่ได้ฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 3 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 15 เมษายน 2530 ขอแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนชื่อบริษัท ร. จำเลยที่ 3 เป็นบริษัท ร.หรือ ว. จำเลยที่ 3 โดยอ้างว่า คำว่าบริษัท ร.เป็นชื่อในทางการค้าหรือนามแฝงหรือฉายาของ ว. แล้วต่อมายื่นคำร้องลงวันที่ 15 มกราคม 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ชื่อจำเลยที่ 3จากบริษัท ร. หรือ ว.เป็น ว.นั้น เท่ากับเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมมาเป็นฟ้องบุคคลธรรมดาเพิ่มเป็นจำเลยที่ 3 ด้วย แล้วขอแก้ไขคำฟ้องอีกครั้งหนึ่งโดยขอเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 3 จากนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่จะขอแก้ไขคำฟ้องได้เช่นนั้นตามนัยแห่งบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องของโจทก์เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแล้ว บรรดากระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว. หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเช่นนั้นแล้ว รวมทั้งคำสั่งของศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ซึ่งสั่งให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 บริษัท ร.ตามฟ้องเดิมจึงยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้อยู่ และแม้บริษัท ร.มิได้ฎีกาขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาอื่นนอกจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 และวันที่ 15 มกราคม 2531กับคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 8 มีนาคม 2531 ที่ให้จำหน่ายบริษัท ร.ออกจากสำนวนความ แต่เมื่อกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการพิจารณาคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 142 (5)ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับ ว.หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ลงวันที่ 15 เมษายน 2530 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขแบบพิมพ์อุทธรณ์: ศาลต้องตรวจก่อนรับ หากไม่แก้ไขแต่รับพิจารณา ก็ไม่ทำให้การอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ป.วิ.พ. มาตรา 67 นำมาใช้กับคดีอาญาได้โดยอนุโลม ตามป.วิ.อ. มาตรา 15 จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยใช้กระดาษแบบพิมพ์คำฟ้องอุทธรณ์ แต่ตอนลงชื่อในแผ่นสุดท้ายกลับใช้กระดาษแบบพิมพ์ท้ายคำแก้อุทธรณ์ แทนที่จะเป็นแบบพิมพ์ท้ายอุทธรณ์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และเป็นหน้าที่ ของศาลชั้นต้นที่จะตรวจอุทธรณ์แล้วสั่งแก้ไขก่อนที่จะรับอุทธรณ์ แต่เมื่อมิได้สั่งให้แก้ไขและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและมีคำพิพากษา ไปโดยมิได้สั่งให้แก้ไขให้บริบูรณ์เสียก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ก็ไม่ทำให้อุทธรณ์ของจำเลยไม่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถึงขนาดที่จะรับไว้พิจารณาต่อไปไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความและการลงลายมือชื่อในคำร้อง: การแต่งตั้งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองมี ฉ. ลงชื่อเป็นผู้ร้องและผู้เรียงพิมพ์แต่ในใบแต่งทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ทั้งสองฉบับที่ระบุแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2กับมี ฉ. ทนายความผู้มีใบอนุญาต ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความไม่ใช่ น. เมื่อผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มิได้มีเจตนาแต่งตั้งให้ ฉ.เป็นทนายความก็ต้องถือว่าฉ. ลงลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความโดยไม่มีสิทธิ ฉ. จึงมิใช่ทนายความของผู้ร้องทั้งสองและไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในคำร้องขัดทรัพย์แทนผู้ร้องทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62 อย่างไรก็ตามคำร้องขัดทรัพย์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1(3) ต้องลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้งสองตาม มาตรา 67(5)หรือลายมือชื่อของทนายความที่ผู้ร้องทั้งสองแต่งตั้งตาม มาตรา 62เมื่อคำร้องขัดทรัพย์มี ฉ. ลงลายมือชื่อโดยผู้ร้องทั้งสองมิได้แต่งตั้งให้เป็นทนายความ มิใช่เป็นกรณีที่คำร้องไม่มีลายมือชื่อของผู้ร้องตาม มาตรา 67(5) อันจะสั่งให้แก้ไขได้ตามมาตรา 18วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องทั้งสองโดยไม่ต้องส่งคืนคำร้องนั้นไปให้แก้ไขมาก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นบริษัทต่างประเทศที่มีสาขาในไทย แม้ชื่อสาขาไม่เป็นนิติบุคคล ก็สามารถฟ้องได้หากระบุตัวบริษัทแม่ชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า"สายเดินเรือเมอส์ก กรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใดดำเนินธุรกิจในทางใดจดทะเบียนพาณิชย์ไว้ในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่าอะไรสำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัทด.กับบริษัทอ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศไทยโดยใช้ชื่อว่า "สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคล ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยที่เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ แม้ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในไทย ก็สามารถฟ้องได้หากระบุชื่อและรายละเอียดชัดเจน
โจทก์ระบุชื่อจำเลยในตอนต้นคำฟ้องว่า "สายเดินเรือเมอส์กกรุงเทพฯ" แต่ในคำบรรยายฟ้องโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าจำเลยหมายถึงบริษัทใด ดำเนินธุรกิจในทางใด จดทะเบียนพาณิชย์ ไว้ในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่าอะไร สำนักงานตั้งอยู่แห่งใด จนเป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ฟ้องบริษัท ต. กับบริษัท อ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ในประเทศ เดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาสำหรับดำเนินธุรกิจซึ่งบริษัททั้งสองทำร่วมกันในประเทศ ไทย โดยใช้ชื่อว่า"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" เป็นจำเลย ดังนี้แม้"สายเดินเรือเมอส์ก สาขากรุงเทพฯ" จะมิได้เป็นนิติบุคคลก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่อาจถูกฟ้องเป็นจำเลยได้.