พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน สัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว และข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าบางส่วนเป็นเงิน 52,000 บาท จากจำเลยที่ 1และที่ 2 ไปแล้ว ดังนี้แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เมื่อเป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้นั้น จะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ซื้อสินค้าโจทก์ และจำเลยที่ 3ได้ทำสัญญาค้ำประกัน แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดนัดชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 2จะสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้แก่โจทก์แทนเช็คฉบับเก่า แต่เมื่อโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามมูลหนี้ซื้อขายได้ กรณีไม่ใช่เป็นการตกลงกำหนดวันหรือระยะเวลาชำระหนี้ให้เป็นการแน่นอน จึงไม่เป็นการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้คืน แม้ธนาคารคืนหลักประกันแล้ว
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืนธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันโดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาว่าจ้าง: การคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่เหตุระงับหนี้เด็ดขาด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 327วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืน ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ถือเป็นการผ่อนเวลา แม้เวลาจะล่วงเลยไปนาน ผู้ค้ำประกันจึงยังคงรับผิด
การที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ใช้สิทธิดังกล่าว หาใช่กรณีที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ไม่ การที่โจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 28 เดือน โดยมิได้บอกเลิกสัญญา จึงมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 อันจักทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ การผิดสัญญา การค้ำประกัน และดอกเบี้ยผิดนัด
ตามประกาศประกวดราคาของกรมทางหลวงโจทก์ ข้อ 3 กำหนดเพียงว่าโจทก์คาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ประมาณ 30 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา และตามข้อ 2 ระบุว่า หากว่าโจทก์มีความจำเป็นอันไม่อาจลงนามในสัญญาได้ตามกำหนดเวลาและจำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาต่อไป ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปไม่ถือกรณีเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญานี้เป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ประการใด กับในข้อ 4 ระบุว่าต้องยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา ส่วนในข้อ 10ระบุอีกว่า โจทก์จะรับทำสัญญาผูกพันกับผู้ใดต่อเมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินสำหรับค่าของรายนี้แล้ว ดังนี้เห็นได้ว่าระยะเวลา 30 วัน เป็นระยะเวลาที่ประมาณไว้และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ หาได้กำหนดเป็นระยะเวลาแน่นอนที่ต้องลงนามในสัญญาไม่ และในกรณีที่จำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญา ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปโดยไม่ถือการเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาเป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ทั้งประกาศประกวดราคาก็กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยื่นใบประกวดราคายืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาดังกล่าวด้วย แสดงว่าการลงนามในสัญญาอาจเกินกว่า 30 วันได้แต่หากเกิน 120 วัน จำเลยที่ 1 ย่อมปฏิเสธที่จะขายในราคาที่เสนอและปฏิเสธการลงนามในสัญญาได้ การที่โจทก์ออกประกาศกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2527 แต่โจทก์เพิ่งประกาศผลการประกวดราคาในวันที่ 6 กันยายน2527 และให้จำเลยมาทำสัญญากับโจทก์ภายใน 15 วัน คือภายในวันที่ 21 กันยายน2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อความในประกาศประกวดราคาและถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวโดยไม่ชอบ หรือไม่สุจริต
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8. ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8. วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลย โจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1-22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดสัญญา โจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น เป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตาม ข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กัน เป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8. ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8. วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลย โจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1-22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดสัญญา โจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5 ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น เป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตาม ข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน 15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2251/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, หลักประกัน, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามประกาศประกวดราคาของกรมทางหลวงโจทก์ ข้อ 3กำหนดเพียงว่าโจทก์คาดว่าจะลงนามในสัญญากันได้ประมาณ 30 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา และตามข้อ 2 ระบุว่า หากว่าโจทก์มีความจำเป็นอันไม่อาจลงนามในสัญญาได้ตามกำหนดเวลาและจำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาต่อไปผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปไม่ถือกรณีเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญานี้เป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ประการใด กับในข้อ 4 ระบุว่าต้องยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับจากวันเปิดซองประกวดราคา ส่วนในข้อ 10 ระบุอีกว่า โจทก์จะรับทำสัญญาผูกพันกับผู้ใดต่อเมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินสำหรับค่าของรายนี้แล้ว ดังนี้เห็นได้ว่าระยะเวลา30 วัน เป็นระยะเวลาที่ประมาณไว้และคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ หาได้กำหนดเป็นระยะเวลาแน่นอนที่ต้องลงนามในสัญญาไม่ และในกรณีที่จำต้องเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญา ผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญายินยอมลงนามในสัญญาในระยะเวลาที่เลื่อนต่อไปโดยไม่ถือการเลื่อนเวลาการลงนามในสัญญาเป็นข้อผิดสัญญาของโจทก์ทั้งประกาศประกวดราคาก็กำหนดให้จำเลยที่ 1 ยืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ยื่นใบประกวดราคายืนราคาที่เสนอขายเป็นระยะเวลาดังกล่าวด้วย แสดงว่าการลงนามในสัญญาอาจเกินกว่า 30 วันได้แต่หากเกิน 120 วัน จำเลยที่ 1 ย่อมปฏิเสธที่จะขายในราคาที่เสนอและปฏิเสธการลงนามในสัญญาได้ การที่โจทก์ออกประกาศกำหนดให้ยื่นซองประกวดราคาภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2527 แต่โจทก์เพิ่งประกาศผลการประกวดราคาในวันที่ 6 กันยายน 2527 และให้จำเลยมาทำสัญญากับโจทก์ภายใน 15 วัน คือภายในวันที่ 21 กันยายน 2527 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อความในประกาศประกวดราคาและถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการดังกล่าวโดยไม่ชอบ หรือไม่สุจริต
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวด-ราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7.เป็นจำนวนเงินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8.ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8.วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลยโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1 - 22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นเป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตามข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา224 วรรคแรก
ตามรายการสัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์ในปีงบประมาณ 2527 มีรวมทั้งหมด 19 สัญญา แต่มีสัญญาที่ลงนามกับโจทก์ในเดือนกันยายน 2527 จำนวน 10 สัญญา การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาขายยางตามประกาศประกวดราคาซื้อพัสดุของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาดังกล่าวดี และเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวด-ราคา จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันและพร้อมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในประกาศประกวดราคาเมื่อจำเลยที่ 1 ประกวดราคาได้รวมทั้งย่อมต้องพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตนลงนามด้วย การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับเป็นคู่สัญญากับโจทก์ และต้องลงนามในสัญญารวม 10 สัญญาในเดือนกันยายน 2527 เดือนเดียวกัน หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะนำมาอ้างว่าการส่งมอบยางเป็นพ้นวิสัยเพราะต้องส่งพร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมากได้ไม่ เพราะเป็นความสมัครใจของจำเลยที่ 1 เองที่เข้าเสนอราคากับโจทก์และยอมลงนามเป็นคู่สัญญากับโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจส่งมอบยางให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายที่พิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาและเบี้ยปรับมีข้อความว่า
"ข้อ 8. เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7.เป็นจำนวนเงินทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนดหกเดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย
ข้อ 9. ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8.ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดหนึ่งห้า (0.15) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7. กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8.วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่ตามพฤติการณ์คดีนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขายไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญากล่าวคือ ส่งมอบยางแอสฟัลท์เพียงบางส่วนไม่ครบถ้วนไม่ตรงตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบยางแอสฟัลท์ส่วนที่เหลือให้โจทก์อีกเลยโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลท์ตามสัญญาซื้อขายภายในวันที่ 28 มิถุนายน 2528 หากพ้นกำหนดจะพิจารณาบอกเลิกสัญญาและดำเนินการจัดซื้อใหม่ หากของแพงขึ้นจะเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายต่อไปโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบและสงวนสิทธิการเรียกค่าเสียหายอันจะพึงมีขึ้น และจำเลยที่ 1 มีหนังสือขอผ่อนผันการส่งยางแอสฟัลท์ถึงวันที่ 25 กันยายน 2528 แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่ไม่ประสงค์จะให้มีการบอกเลิกสัญญาโดยทันที หลังจากนั้นโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ตามหนังสือลงวันที่ 9 ธันวาคม 2528 โดยระบุว่า จำเลยที่ 1 ยังขาดส่งยางแอสฟัลท์ตามสัญญาดังกล่าว รายการที่ 1 - 22 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโจทก์จึงขอบอกเลิกสัญญาโดยสงวนสิทธิที่จะเรียกและริบเงินประกันสัญญาและปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.15 ของราคายางแอสฟัลท์ที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ดังนี้ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาของที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามหนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน 200,321 บาท หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับและหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันที โดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1ชำระก่อน ไม่มีข้อจำกัดความรับผิดไว้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันเพียงร้อยละ 5ของจำนวนเงินค่าซื้อยางแอสฟัลท์ที่โจทก์ยังไม่ได้รับทั้งตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็มีข้อความว่าหลักประกันที่จำเลยที่ 1 นำมามอบไว้ โจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยที่ 1 พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญานี้แล้ว แสดงอยู่ในตัวว่าหนังสือค้ำประกันที่นำมาเป็นหลักประกันเป็นการค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายทั้งหมดและตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะพ้นข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกันและตามหนังสือค้ำประกันมีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นเป็นการที่จำเลยที่ 2 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในการที่หากจะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 และถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันแล้ว จึงไม่เข้าข่ายที่จำเลยที่ 2 จะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 แม้จะมีข้อความตอนท้ายของหนังสือค้ำประกันระบุว่า โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น และการที่โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบถึงการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในเรื่องนี้ก็ตามข้อความตอนท้ายดังกล่าวก็มิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาค้ำประกันเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาไปแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับใน15 วัน เมื่อครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเบี้ยปรับที่ศาลกำหนด ตาม ป.พ.พ.มาตรา224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข: การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ2ระบุว่าธนาคาร(จำเลยที่3)รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่าจำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด15วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไปแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขแม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่3ทราบภายในกำหนด15วันก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่การที่จำเลยที่1แจ้งให้จำเลยที่3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่1เกินกำหนด15วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่3พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า ธนาคาร (จำเลยที่ 3) รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไป แต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 เกินกำหนด 15 วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 3 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน: การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนด 15 วัน ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ2ระบุว่าธนาคาร(จำเลยที่3)รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่าจำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่3ยอมชำระเงินทดแทนภายในกำหนด15วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไปแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นข้อความข้อดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขแม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่3ทราบภายในกำหนด15วันก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่การที่จำเลยที่1แจ้งให้จำเลยที่3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่1เกินกำหนด15วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่3พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันค่าเสียหายจากลูกจ้าง: การผ่อนเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้น หากไม่ใช่หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700การที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้อันจะมีผลให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นต้องเป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนแต่การที่จำเลยที่2ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างเสียหายจำเลยที่2ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้นมิได้เป็นการค้ำประกันหนี้อันจะต้องชำระณเวลาอันมีกำหนดแน่นอนจำเลยที่2จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด