คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 700

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของผู้ค้ำประกันต่อการผ่อนผันสัญญา แม้มิได้รับการแจ้ง แต่ไม่ทำให้หลุดพ้นความรับผิด
สัญญาค้ำประกันระบุเป็นใจความว่าผู้ค้ำประกันยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่ผู้ว่าจ้างยอมผ่อนเวลาให้ผู้รับจ้างโดยเพียงแต่ผู้ว่าจ้างแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบโดยไม่ชัดช้าเท่านั้น แม้ผู้ว่าจ้างมิได้แจ้งเรื่องการผ่อนเวลาแก่ผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันก็ไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 700 เพราะการแจ้งมิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามจะทำให้การยอมผ่อนเวลาไม่เป็นผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องมีข้อตกลงชัดเจน จึงจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดได้
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ต้องตกลงชัดเจนจึงทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด การไม่ทวงหนี้ไม่ใช่การผ่อนเวลา
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนื้ที่จะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดนั้นจะต้องเป็นการตกลงผ่อนเวลาแน่นอนและมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องไม่ได้ กรณีที่เพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระ ไม่มีการตกลงผ่อนเวลาแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้คงยังมีสิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ย่อมมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันจึงหาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการต่ออายุตั๋วและโจทก์เข้าอาวัลตามคำขอ
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ว. ออกให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการของบริษัท ว. ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด บริษัท ว. ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาต่อบริษัท ท. ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้ง โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำขอร้อง ของ บริษัท ว. ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัท ท. ตามที่ได้รับการทวงถามดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ว. ในวงเงินที่กำหนดเท่านั้น หาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้ง โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน การขยายเวลาผ่อนผันหนี้ ทำให้จำเลยยังคงมีภาระผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัท ว. ออกให้แก่บริษัท ท. โดยจำเลยในฐานะผู้จัดการของบริษัท ว. ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด บริษัท ว. ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาต่อบริษัท ท. ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้งโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำขอร้อง ของ บริษัท ว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัท ท. ตามที่ได้รับการทวงถามดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ว. ในวงเงินที่กำหนดเท่านั้น หาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้ง โดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการต่ออายุตั๋ว
โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทว.ออกให้แก่บริษัทท.โดยจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการของบริษัทว.ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่า หากโจทก์ได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว จำเลยยอมชดใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ ต่อมาเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดบริษัทว.ขอยืดเวลาการชำระหนี้ตามตั๋วต่อบริษัทท.ผู้ทรงออกไปรวม 2 ครั้ง โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ใหม่ทั้งสองครั้ง โจทก์ได้เข้าอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับนั้นตามคำร้องของบริษัทว.ครั้นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดถึงกำหนด โจทก์ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่บริษัทท.ตามที่ได้รับการทวงถาม ดังนี้ เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับที่ออกใหม่มีมูลหนี้มาจากตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก และตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์มีใจความว่า จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินที่โจทก์จ่ายไปในการที่โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทว.ในวงเงินที่กำหนดหาได้ระบุวันออกตั๋วและวันถึงกำหนดใช้เงินไว้ไม่ อีกทั้งสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่า หากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่โจทก์เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับหลังสุดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมตั๋วสัญญาใช้เงินที่ต่ออายุ โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ผ่อนผันเวลาชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ว่าหากโจทก์ผ่อนผันเวลาการชำระหนี้ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยตกลงด้วยในการผ่อนผันเวลาทุกครั้งโดยโจทก์ไม่ต้องแจ้งให้ทราบก่อน เช่นนี้จำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - การผ่อนผันสัญญา - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน - การแจ้งการผ่อนผัน
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างอาคารไว้ต่อโจทก์ มีใจความว่า ถ้าจำเลยที่1 ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินแทนให้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้ จำเลยที่ 1 ชำระก่อน จำเลยที่ 2 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่ โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญา ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ยอมให้โจทก์ผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ถือเป็น สาระสำคัญในการค้ำประกัน ขอแต่เพียงแจ้งการผ่อนผันให้จำเลยที่ 2 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น ต่อมาโจทก์ได้ขยายระยะเวลาก่อสร้างให้ จำเลยที่ 1ออกไป โดยได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว ดังนั้นเมื่อ จำเลยที่ 1ผิดสัญญาและไม่ยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญาให้แก่โจทก์ทันที โดยโจทก์ ไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้เป็นประกันหนี้, ความเสียหายจากไม่นำเช็คขึ้นเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ.ที่มีต่อโจทก์แต่เมื่อพ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คค้ำประกันหนี้ - ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย - การผ่อนเวลา - การขึ้นเงินเช็ค
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์แม้จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ของ พ. ที่มีต่อโจทก์ แต่เมื่อ พ. ยังไม่ได้ชำระหนี้ต่อโจทก์ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังคงมีอยู่จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ทั้งจะนำบทบัญญัติในเรื่องการผ่อนเวลาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับเพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดหาได้ไม่
ความเสียหายอันเกิดจากผู้ทรงเช็คไม่นำเช็คไปขึ้นเงินต่อธนาคาร ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 นั้นหมายถึงผู้สั่งจ่ายเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคารเพราะการที่ผู้ทรงไม่นำเช็คไปขึ้นเงินภายในกำหนด เช่นธนาคารล้มละลาย เป็นต้น ดังนั้น แม้จะฟังได้ว่าการที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินล่าช้า จน พ.หลบหนีไปแล้วจึงดำเนินการ ทำให้จำเลยเสียหาย ไม่สามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก พ. ได้ กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท.
of 13