พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ความรับผิดของลูกหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน แม้ชื่อสัญญาจะเป็นค้ำประกัน
แม้สัญญาระบุชื่อว่าสัญญาค้ำประกัน แต่ข้อความในสัญญามีว่าจำเลยที่ 3 จ้างโจทก์ประกันตัวจำเลยที่ 1 ไปจากศาลแล้วจำเลยที่ 3 จะปฏิบัติตามนัดทุกครั้ง โดยการมอบตัวจำเลยที่ 1 ณ สถานที่ส่งตัว ถ้าจำเลยที่ 3 ไม่สามารถส่งตัวจำเลยที่ 1 ได้เพราะจำเลยที่ 1 หลบหนีเป็นเหตุให้โจทก์ถูกปรับเป็นเงินมากน้อยเท่าใด จำเลยที่ 3 ยอมชดใช้เงินแทนโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ เป็นสัญญาต่างตอบแทนธรรมดาที่ใช้บังคับกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ชำระหนี้คือส่งตัวจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยตรง หาใช่เป็นการผูกพันตนเข้าชำระหนี้ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้อันเป็นการค้ำประกันไม่ ฉะนั้นข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 ว่าไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689, 700 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในลักษณะ 11 เรื่องค้ำประกันจะนำมาใช้กับคดีนี้หาได้ไม่
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
จำเลยทั้งสามทำสัญญากับโจทก์ยอมชดใช้เงินค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระต่อศาลฐานผิดสัญญาประกันรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามจะต้องชำระให้โจทก์สิ้นเชิง จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดชำระหนี้รายนี้
จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วนั้น แม้โจทก์แก้ฎีกายอมรับว่าได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วบางส่วนแต่ก็เป็นการได้รับชำระหนี้ชั้นบังคับคดี หาเป็นเหตุให้หนี้ที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามสัญญา ลดลงไม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเต็มจำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1480/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่ากระแสไฟฟ้าไม่มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน ค้ำประกันยังต้องรับผิดแม้เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลา
แม้โจทก์จะเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าเป็นรายเดือนทุกเดือน แต่ก็มิได้กำหนดวันที่เรียกเก็บไว้แน่นอนว่าโจทก์จะเรียกเก็บวันใดการเรียกเก็บโจทก์จะทำเป็นใบแจ้งหนี้ให้ทราบเพื่อให้ผู้ใช้กระแสไฟฟ้าชำระภายใน 15 วัน การที่โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ให้ผู้ใช้กระแสไฟฟ้าทราบนั้นก็ไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนว่าเป็นวันใด สุดแล้วแต่โจทก์จะแจ้งให้ทราบกำหนดเวลาชำระหนี้จึงแล้วแต่โจทก์จะทวงถามถือไม่ได้ว่าเป็นหนี้อันจะต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 700 แม้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ก็หาทำให้จำเลยผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้ของผู้ค้ำประกัน, การรับผิดชอบจำกัดจำนวน, และดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดชอบตามป.พ.พ.มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, ดอกเบี้ย, การบอกกล่าวบังคับจำนอง: การใช้สิทธิเรียกร้องหนี้และการบังคับหลักประกัน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ มีโนตารี่พับลิคแห่งมลรัฐนิวยอร์คลงนามเป็นพยาน และผู้รับมอบอำนาจเบิกความว่าเป็นหนังสือมอบอำนาจของธนาคารโจทก์ กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมิใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 แม้โจทก์จะไม่นำพยานที่รู้เห็นเกี่ยวกับเอกสารนี้มาสืบ ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับให้ฟังว่าใบมอบอำนาจของโจทก์มิใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง
ตามหนังสือรับรองการขอเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปตามอัตราที่โจทก์จะกำหนดขึ้นไว้ และอยู่ในบังคับที่จะเปลี่ยนแปลงได้เป็นคราว ๆ ตามดุลพินิจของโจทก์ และโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละสิบสามครึ่งต่อปีตลอดมา จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2518 หลังจากนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละสิบสองครึ่งต่อปี ถือได้ว่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียให้แก่โจทก์ได้กำหนดอัตราไว้โดยนิติกรรมแล้วตามดุลพินิจของโจทก์ เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดไม่เกินอัตราตามกฎหมาย ย่อมใช้บังคับได้
การกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ไว้โดยแน่นอน เพียงแต่การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700
โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่บอกกล่าวครั้งแรกถึงครั้งสุดท้ายเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน และก่อนจะมีหนังสือบอกกล่าวครั้งสุดท้าย ฝ่ายโจทก์นัดให้จำเลยมาเจรจาเรื่องการชำระหนี้ 2 ครั้ง แต่จำเลยไม่สามารถชำระได้ ถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
ตามหนังสือรับรองการขอเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายให้โจทก์เป็นรายเดือนสำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปตามอัตราที่โจทก์จะกำหนดขึ้นไว้ และอยู่ในบังคับที่จะเปลี่ยนแปลงได้เป็นคราว ๆ ตามดุลพินิจของโจทก์ และโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละสิบสามครึ่งต่อปีตลอดมา จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2518 หลังจากนั้นได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละสิบสองครึ่งต่อปี ถือได้ว่าดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 จะต้องเสียให้แก่โจทก์ได้กำหนดอัตราไว้โดยนิติกรรมแล้วตามดุลพินิจของโจทก์ เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดไม่เกินอัตราตามกฎหมาย ย่อมใช้บังคับได้
การกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ไว้โดยแน่นอน เพียงแต่การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานมา ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700
โจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนอง ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่บอกกล่าวครั้งแรกถึงครั้งสุดท้ายเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน และก่อนจะมีหนังสือบอกกล่าวครั้งสุดท้าย ฝ่ายโจทก์นัดให้จำเลยมาเจรจาเรื่องการชำระหนี้ 2 ครั้ง แต่จำเลยไม่สามารถชำระได้ ถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อหนี้ทุนและเบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้ องค์ประกอบการใช้สิทธิของเจ้าหนี้
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ.ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญา ต. ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ต.ได้ แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม้ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ.ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อและสัญญาค้ำประกันที่ ต.ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ.ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1 ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขต โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 288 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ.ลูกหนี้ของโจกท์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขดลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่มมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของทายาทผู้ค้ำประกันต่อเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งมรดก และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ. ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญาด.ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ได้. แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ. ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่พ.ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกันที่ ด. ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขตโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ. ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับ พ.มิได้ระบุระยะเวลาที่พ.ได้รับอนุมัติไปศึกษาต่อ และสัญญาค้ำประกันที่ ด. ให้ไว้แก่โจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่ พ. ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วได้ขอศึกษาต่ออีก 1ปี มหาวิทยาลัยโจทก์ทำเรื่องราวขออนุมัติไปตามลำดับจึงได้อนุมัติให้ พ. ศึกษาต่ออีก 1 ปี แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญา ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี และเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้คือ พ.มิได้อยู่ในราชอาณาเขตโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยผู้เป็นทายาทของผู้ค้ำประกันได้เลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสิทธิของโจทก์ก็ไม่อาจถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และเมื่อ พ. ลูกหนี้ของโจทก์ผิดนัดแล้วโจทก์ก็ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและทายาทผู้ค้ำประกันได้ โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
แม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยจะมิได้ยกเรื่องขอลดเบี้ยปรับขึ้นว่ามาด้วย เพิ่งมายกขึ้นในชั้นฎีกา แต่เรื่องเบี้ยปรับนี้ถ้าศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากการยักยอกเงิน และขอบเขตการตีความสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ายักยอกเอาเงินไปโดยไม่นำส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ได้ติดตามตรวจสอบเรียกเงินหรือบิลใบเสร็จรับเงินจากจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่เพื่อนำมาลงบัญชีเงินสดรับจ่ายประจำวันเสนอให้จำเลยที่ 4 ที่ 5 ปลัดสุขาภิบาลในฐานะกรรมการรักษาเงินทำการตรวจสอบจำเลยที่ 4 ที่ 5 ไม่มีหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 โดยตรงจำเลยที่ 4 ที่ 5 ตรวจสอบหลักฐานบัญชีการรับจ่ายเงินตามปกติไม่มีข้อบกพร่อง การที่จำเลยที่ 1 เบียดบังยักยอกเอาเงินของโจทก์ไปจึงไม่เป็นผลอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 4 ที่ 5
ข้อที่ว่าต้องตีความในสัญญาค้ำประกันมิให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อสัญญาค้ำประกันมีข้อความแจ้งชัดไม่มีข้อจำกัดเฉพาะการขับรถจึงไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นและการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไว้ว่าจะรับผิดชดใช้เงินที่ยักยอกให้แก่โจทก์นั้น ก็หาเข้าลักษณะที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันจะทำให้จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอีกต่อไปไม่
ข้อที่ว่าต้องตีความในสัญญาค้ำประกันมิให้เป็นที่เสียหายแก่ผู้ค้ำประกันนั้นเมื่อสัญญาค้ำประกันมีข้อความแจ้งชัดไม่มีข้อจำกัดเฉพาะการขับรถจึงไม่จำเป็นต้องตีความเป็นอย่างอื่นและการที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาไว้ว่าจะรับผิดชดใช้เงินที่ยักยอกให้แก่โจทก์นั้น ก็หาเข้าลักษณะที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 700 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันจะทำให้จำเลยที่ 8 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดอีกต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขา, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, อายุความ, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การผ่อนเวลาลูกหนี้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการยอมผ่อนปรนแก่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทน โดยให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะจัดการเรื่องหนี้สินให้เรียบร้อยนั้น จะถือว่าเป็นความผิดของโจทก์หาได้ไม่ และตามข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่1 ต้องกระทำการต่าง ๆ ก็หาได้ระบุไว้ในสัญญาว่าจะต้องกระทำ ณ เวลาใดอันเป็นกำหนดแน่นอนไม่ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าว และยังกระทำผิดสัญญาในเรื่องการให้กู้ยืมกับให้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ก็ยังไม่เลิกสัญญาทันทีนั้น ก็ไม่เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จำนองเป็นประกันการที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์สำหรับความเสียหายทั้งปวง จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)
อายุความสำหรับธนาคารที่จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยทบต้นตามบัญชีเดินสะพัดจากลูกหนี้ของธนาคาร กับอายุความสำหรับโจทก์ที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 นั้นเป็นคนละเรื่องกัน ธนาคารโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้รายใดได้จนถึงวันใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก เมื่อจำเลยที่ 1 ประพฤติผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของธนาคารเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพราะเงินต้นและดอกเบี้ยสูญโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายและเรียกร้องเอาแก่ผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ได้ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขาอันเป็นสัญญาตั้งตัวแทน มีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คดีโจทก์ส่วนที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ยังไม่ขาดอายุความ จึงไม่ขาดอายุความในส่วนที่ฟ้องผู้จำนองเป็นประกันจำเลยที่ 1 ด้วย
เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำได้เมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกรณีย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองในระหว่างนั้นโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากลูกหนี้ผู้เบิกเงินเกินบัญชีได้ตามมาตรา 655 วรรคสอง(อ้างฎีกา658-659/2511 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)
ท้ายฟ้องมีเอกสารหมายเลข 4 ซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 ให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีแล้วเรียกเก็บไม่ได้ซึ่งแสดงรายละเอียดว่า ลูกหนี้ชื่อใด บัญชีที่เท่าใดยอดหนี้เป็นจำนวนเท่าใด ตลอดทั้งเหตุที่เรียกเก็บไม่ได้ เป็นเพราะไม่มีสัญญาหรือว่าไม่มีทั้งสัญญาและหลักประกันด้วยดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่า หนี้แต่ละรายเหล่านั้นเป็นเงินต้นเท่าใด คิดดอกเบี้ยอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำนองที่ดินแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันสัญญาจัดตั้งธนาคารสาขานั้นเป็นการให้สัญญาแก่โจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ชำระหนี้ค่าเสียหายนั้นก็ให้โจทก์บังคับจำนองได้ ซึ่งต่างกับการค้ำประกันและมิได้มีบทบัญญัติใดในลักษณะจำนองที่ให้นำมาตรา689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย (อ้างฎีกา 1187/2517)