คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อิสสระ นิ่มละมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิ: จำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้ยืม แม้มีข้อความไม่สอดคล้องกันในการเบิกความ
โจทก์รู้อยู่แล้วในขณะกู้ยืมเงินหรืออย่างช้าในขณะที่จำเลยที่ 1 ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเงินส่วนหนึ่งที่ร่วมกับจำเลยที่ 2 ให้โจทก์กู้ยืมไปตามหนังสือสัญญากู้ ทั้งในการฟ้องคดีจำเลยที่ 1 ก็ตรงไปตรงมาโดยฟ้องเอาผิดโจทก์เฉพาะเช็คตามจำนวนเงินที่โจทก์ยังค้างชำระหนี้เงินกู้อยู่เท่านั้น ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่ายังไม่ได้ชำระเงินตามเช็ค การที่จำเลยที่ 1 กรอกข้อความว่าตนเองเป็นผู้ให้กู้ในหนังสือสัญญากู้จึงเป็นการกรอกข้อความไปตามความจริงและโดยสุจริตว่าตนเองมีสิทธิกรอกข้อความในฐานะเป็นผู้ออกเงินส่วนหนึ่งให้โจทก์กู้ด้วย และกระทำไปเพียงเพื่อใช้เป็นหลักฐานรองรับหนี้เงินตามเช็คให้เห็นว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการปลอมเอกสาร และเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจมีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ปลอมเอกสารสิทธิ และการกระทำของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อั้งยี่ ซ่องโจร เป็นความผิดหลายกรรม การลงโทษต้องแยกกระทง
ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ป.อ. มาตรา 209 เป็นความผิดทันทีเมื่อผู้นั้นได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ความผิดฐานเป็นซ่องโจรตาม ป.อ. มาตรา 210 เป็นขั้นตอนการกระทำความผิดที่ยกระดับถึงขั้นคบคิดกันหรือตกลงกันหรือประชุมหารือกันเพื่อจะกระทำความผิด สภาพความผิดฐานเป็นอั้งยี่และฐานเป็นซ่องโจรจึงสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและจดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกพิพาทมาเป็นของตนแต่ผู้เดียว แล้วต่อมาจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 2 โดยโจทก์และทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม เป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ถือเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลผูกพันโจทก์และทายาทอื่นตามมาตรา 1720 และมาตรา 823 จำเลยที่ 2 ผู้รับการยกให้ไม่อาจได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ แม้จำเลยที่ 3 ผู้ซื้อทรัพย์มรดกพิพาทจากจำเลยที่ 2 จะรับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนแล้วก็ไม่มีสิทธิ ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งมีทายาทด้วยกันรวม 6 คน การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมการขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 จึงเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามมาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่ 1 ใน 6 ส่วน จึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการให้และนิติกรรมการขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์และทายาทอื่นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21742/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชอบ ศาลยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 30 ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการและโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และคณะกรรมการตรวจสอบดังกล่าวได้แต่งตั้งจำเลยเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบการให้กู้เงินแก่สหภาพพม่าจำนวน 4,000 ล้านบาทของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จำเลยจึงเป็น "เจ้าหน้าที่" ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4
เมื่อพิจารณาข่าวสารทางสำนักข่าวไทยและทางหนังสือพิมพ์แล้ว เนื้อหาของข่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบที่กระทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบแก่ประชาชนทั่วไป การให้ข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบ จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ เมื่อจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่และการให้ข่าวของจำเลยเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การที่โจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิด แต่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบที่มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่งนั้นจะไม่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือสังกัดหน่วยงานของรัฐ แต่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21355/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังทรัพย์: เลขานุการสภาตำบลเบิกจ่ายเงินค่าจ้างให้ผู้รับจ้างที่ยังทำงานไม่เสร็จ
จำเลยซึ่งเป็นเลขานุการตำบล ล. และเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการและรักษาเงินงบประมาณค่าจ้างของสภาตำบล ล. ได้เบิกเงินงบประมาณค่าจ้างของสภาตำบล แล้วจ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ยังทำงานขุดลอกคลองไม่แล้วเสร็จตามสัญญา ทั้งๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบล ล. ยังไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. การกระทำของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการและรักษาเงินงบประมาณค่าจ้างนั้น ได้เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19969/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับของผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินอันเป็นหน่วยงานของรัฐตามบทบัญญัติมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 ที่ระบุให้ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบการบริหารทั่วไปซึ่งงานตรวจเงินแผ่นดิน จึงเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารลับได้ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ข้อ 49 ซึ่งออกตามความในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19385/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากความผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ และการคาดหมายความเสียหายจากการถูกปรับทางธุรกิจ
โจทก์ทำใบสั่งซื้อรถรวม 26 คัน จากจำเลยที่ 2 ต่อมาโจทก์ทำสัญญาซื้อขายรถ 26 คัน แก่สำนักงานศาลยุติธรรม กำหนดส่งมอบรถภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถให้โจทก์ 2 งวด งวดแรก 16 คัน งวดที่ 2 อีก 5 คัน และโจทก์ได้ส่งมอบให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรมแล้ว จากนั้นจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบรถอีก 5 คัน ให้แก่โจทก์อันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ โจทก์ชอบที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215 แต่การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 222 แบ่งความเสียหายออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกตามวรรคหนึ่ง เป็นความเสียหายเช่นที่ปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ กรณีที่สองตามวรรคสองเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงจำเลยที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์ซื้อรถจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปขายให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรม และก่อนหน้านั้นจำเลยที่ 2 ได้ส่งมอบรถให้แก่โจทก์ไปแล้วจำนวน 16 คัน โดยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏว่ามีการระบุวันเวลาส่งมอบรถที่แน่นอนวันใด คงปรากฏตามใบสั่งซื้อว่า "เครดิตการชำระเงิน 30 วัน นับแต่วันส่งมอบรถยนต์" จึงเป็นกรณีที่เวลาอันจะพึงส่งมอบรถไม่ได้กำหนดกันไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถที่เหลือได้โดยพลัน และจำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะส่งมอบรถที่เหลือได้โดยพลันเช่นกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 โจทก์มีหนังสือให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถที่ค้าง 10 คัน โดยมีใจความสำคัญว่า โจทก์ได้แจ้งด้วยวาจาผ่าน ม. ขอรับรถภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 2549 แต่โจทก์ได้รับแจ้งกลับว่าจำเลยที่ 2 หารถส่งมอบให้ได้เพียง 5 คัน ที่เหลือต้องไปรับเดือนหน้าเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงหากไม่สามารถส่งมอบรถได้ทันเวลาภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 จึงขอให้ดำเนินการช่วยเหลือโจทก์โดยด่วน เท่ากับโจทก์กำหนดเวลาแน่นอนให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ทราบแล้วว่าโจทก์ซื้อรถจากจำเลยที่ 2 โดยโจทก์มีความผูกพันที่จะต้องส่งมอบรถให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรม จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจความหมายตามหนังสือฉบับดังกล่าวได้ว่า หากจำเลยที่ 2 ไม่ส่งมอบรถอีก 5 คัน ให้แก่โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการที่โจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรมตามสัญญา แม้ต่อมาวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 จำเลยที่ 2 จะมีหนังสือถึงโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สามารถส่งมอบรถอีก 5 คัน ให้โจทก์ได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ประมาณการสั่งซื้อผิดพลาด ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการส่งมอบรถให้โจทก์ได้ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2549 และการที่โจทก์มีหนังสือฉบับลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ถึงจำเลยที่ 2 อีกครั้งโดยสำทับว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากค่าปรับของสำนักงานศาลยุติธรรม ขอให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถที่เหลืออีก 5 คัน แก่โจทก์ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 และกำชับว่าให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการส่งมอบรถโดยด่วนเพื่อมิให้เกิดความเสียหายตามมาภายหลังในความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 คงเพิกเฉย จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถครั้งสุดท้าย มิใช่ผิดสัญญาตั้งแต่ครั้งที่จำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องว่าไม่สามารถส่งมอบรถได้ ตามพฤติการณ์จึงเป็นการชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 รู้อยู่ว่าโจทก์มีหนี้ที่จะต้องชำระโดยส่งมอบรถให้แก่สำนักงานศาลยุติธรรม และหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ย่อมคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นก่อนที่จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาว่า โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกสำนักงานศาลยุติธรรมปรับตามสัญญาอันเนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ส่งมอบรถให้แก่โจทก์ภายในกำหนด จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์ที่ถูกสำนักงานศาลยุติธรรมปรับจำนวน 1,800,000 บาท เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นหนี้เงิน โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 2 ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19126/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การฎีกาต้องคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยตรง มิใช่คัดลอกคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักสำคัญในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ คดีนี้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมารับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับพวกเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควรต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 1 และพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่เห็นด้วยกับการฟังข้อเท็จจริงและเหตุผลในการตัดสินของศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 โดยแสดงข้อคัดค้านด้วยการคัดลอกคำตัดสินของศาลชั้นต้นทั้งในส่วนข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยชนิดคำต่อคำ เริ่มจากข้อความที่ศาลชั้นต้น เห็นว่า เป็นต้นมาจนจบคำวินิจฉัย มาหักล้างข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ซึ่งข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยตามที่โจทก์ฎีกานั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้พิจารณาแล้วไม่เห็นพ้องด้วยโดยศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในแง่มุมต่าง ๆ ไว้หลายประการซึ่งต่างไปจากข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัย อันเป็นการหักล้างการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น แม้ฎีกาโจทก์จะกล่าวเพิ่มเติมมาบ้าง 6 ถึง 7 บรรทัด ก็เป็นฎีกาลอย ๆ ที่กล่าวปิดท้ายก่อนที่จะสรุปทำนองเดียวกับศาลชั้นต้นว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้มั่นคงและชัดเจนโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายจริง เท่ากับโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านโดยตรงต่อคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่รับฟังข้อเท็จจริงและแสดงเหตุผลซึ่งผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยนั้น มีข้อเท็จจริงใดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับฟังมาไม่ถูกต้องหรือเห็นว่าคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานโจทก์ที่ควรรับฟังในข้อใด และมีข้อวินิจฉัยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้เหตุผลไม่สมแก่ข้อเท็จจริงในเรื่องใดและเพราะเหตุใด หรือไม่ลงรอยแก่เหตุผลที่ควรจะเป็นไปในเหตุการณ์ใด ฎีกาของโจทก์จึงมีผลไม่ต่างไปจากการขอถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นข้อฎีกาของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อการวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13985/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานโจทก์พิรุธและขัดแย้งกัน ศาลยกฟ้องคดียาเสพติดเนื่องจากความน่าสงสัยในพยานหลักฐาน
แม้อุทธรณ์ของจำเลยจะไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ด มาส่งมอบให้แก่ ศ. หรือไม่ จึงยกฟ้องโจทก์ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ดดังกล่าว กับข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ดดังกล่าว จึงเป็นข้อเท็จจริงเดียวที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในเรื่องนี้ร้อยตำรวจเอก ณ. เบิกความว่า ขณะพยานกับพวกเข้าจับกุมจำเลย จำเลยไม่ยอมให้จับกุมและใช้มือทั้งสองข้างชกต่อย โดยพยานถูกชกต่อยที่บริเวณหน้าอก และจ่าสิบตำรวจ ช. เบิกความว่าถูกชกต่อยที่บริเวณใบหน้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานใด ๆ ว่าพยานทั้งสองได้รับบาดเจ็บ ซึ่งถ้าถูกจำเลยชกต่อยจริง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าน่าจะมีร่องรอยผิวหนังถลอกหรือฟกช้ำบ้าง ตรงกันข้ามกับจำเลยที่มีบาดแผลฟกช้ำทั่วไปตามร่างกาย พูดไม่ได้ มีลักษณะปากแข็งเกร็งและมีรอยฟกช้ำบริเวณแขนและขา จากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมาจึงมีความสงสัยตามสมควรเช่นเดียวกันว่า จำเลยได้กระทำความผิดข้อหานี้หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13360/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนของคนพิการ ศาลฎีกาตัดสินให้มีความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การที่จำเลยกับพวกมีการวางแผนและตระเตรียมอาวุธไปพร้อมตีทำร้ายผู้ตายหลายครั้งทั้งที่ผู้ตายเป็นคนพิการไม่มีทางต่อสู้ได้ จนได้รับบาดแผลและถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล และเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน
of 8