พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10258/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสำคัญผิดในวัตถุ และการปลอมแปลงเอกสารมัดจำ การเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เพียงต้องการจำนองที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจึงลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยยังไม่ได้กรอกข้อความให้ อ. นำไปจำนอง จำเลยที่ 1 ไปกรอกข้อความเป็นขาย แล้วดำเนินการจดทะเบียนเป็นว่าโจทก์ขายแก่จำเลยที่ 1 โดยที่โจทก์และ อ. ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันจดทะเบียนซื้อขาย ไม่รู้เห็นยินยอมให้ขายและไม่ได้รับเงินค่าขายแต่อย่างใด หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแก่โจทก์ และศาลต้องพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมนี้เสีย จริงอยู่แม้การที่โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 รู้เห็นเกี่ยวกับการปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว และเป็นผู้ใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้รับโอนโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 2 มีเจตนาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งการซื้อขายคือที่ดินและบ้านที่ ธ. กับ ก. และจำเลยที่ 1 ชี้ให้ดู อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งการซื้อขาย ไม่ได้มีเจตนาซื้อที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทเนื่องจากถูก ธ. กับ ก. และจำเลยที่ 1 หลอกลวงจึงเป็นไปโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จำเลยที่ 2 ต้องคืนที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแก่โจทก์และศาลต้องพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมนี้เสียเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 2 สุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนอันอาจได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวเอาจาก ธ. ก. และจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุผลให้จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10181/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้ประเมินราคาและผู้รายงานผลการประเมินต่อความเสียหายจากการประเมินราคาผิดพลาด
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดด้วย ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 และผู้ประเมินซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความบกพร่อง มีความประมาทเลินเล่อ ไม่ละเอียดรอบคอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ โดยไม่ตรวจสอบระวางที่ดิน ทำให้ไม่ทราบว่ามีการปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินแปลงข้างเคียง และประเมินที่ดินผิดแปลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งตามรายงานต่อโจทก์ตามแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ประเมิน จำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้จัดการ อันเป็นการร่วมกันรายงานต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตการฟ้องร้องนอกคำฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ไม่อาจถูกฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพราะจำเลยที่ 3 มิใช่ "หน่วยงานของรัฐ" ตามความหมายในมาตรา 4 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาท เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ "เจ้าหน้าที่" ตามความหมายมาตรา 4 ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งไม่อาจถูกฟ้องได้ แต่จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลและฟังได้ว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
สำหรับจำเลยที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 12 กำหนดว่า กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ โดยจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการหนึ่งของจำเลยที่ 5 มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการในสำนักงานโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการครูของโรงเรียนจำเลยที่ 3 ซึ่งสังกัดและอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 4 โดยข้าราชการครูรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 ก็รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 4 และเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 5 ด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ นอกจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็น "หน่วยงานของรัฐ" เช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วย ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ด้วย
แต่ในส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยนั้น ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์ มิใช่บรรยายฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ทำละเมิดเอง จึงเป็นฎีกานอกคำฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี และศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทสำหรับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 12 กำหนดว่า กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ โดยจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการหนึ่งของจำเลยที่ 5 มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการในสำนักงานโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการครูของโรงเรียนจำเลยที่ 3 ซึ่งสังกัดและอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 4 โดยข้าราชการครูรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 ก็รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 4 และเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 5 ด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ นอกจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็น "หน่วยงานของรัฐ" เช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วย ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ด้วย
แต่ในส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยนั้น ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์ มิใช่บรรยายฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ทำละเมิดเอง จึงเป็นฎีกานอกคำฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี และศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทสำหรับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยต้องพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ก่อนจึงจะรับผิดชอบได้
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อ เฉี่ยวชนกับรถแท็กซี่ ซึ่งมีนาย ส. เป็นผู้ขับและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับชนท่อประปาของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเป็นเงิน 92,347 บาท การที่จำเลยทั้งห้าจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังได้ว่า เหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือนาย ส. แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ยังคงต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเป็นเหตุในลักษณะคดีจึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีข้อพิพาทเรื่องชำระราคาสัญญาขายฝากที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ก่อนคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา มีคดีซึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ขายฝากที่ดินแปลงเดียวกับคดีนี้แก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี ตามสัญญาขายฝากฉบับเดียวกับคดีนี้ จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ไถ่คืนภายในกำหนด และไม่ออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์คดีนี้ให้การต่อสู้คดีดังกล่าวทำนองเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ว่า โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังโจทก์ ศาลชั้นต้นคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก และมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย (โจทก์คดีนี้) พร้อมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) จำเลย (โจทก์คดีนี้) อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จำเลย (โจทก์คดีนี้) ฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งคดีดังกล่าวว่า ฎีกาของจำเลย (โจทก์คดีนี้) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า จำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์คดีนี้ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ คดีขายฝาก: ศาลฎีกายกฟ้อง เนื่องจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในประเด็นการชำระหนี้
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าโจทก์ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี โจทก์ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วโจทก์ไม่ไถ่คืนภายในกำหนดและไม่ออกไปจากที่ดินที่ขายฝาก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเงินค่าขากฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก พิพากษาให้ขับไล่โจทก์พร้อมชำระค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี จำเลยชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์แล้ว 7,000,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,500,000 บาท ยังไม่ชำระ ขอให้จำเลยชำระส่วนที่เหลือ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยคดีว่าจำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ซื้อขาย vs. ตัวแทน สัญญาค้ำประกันขอบเขตความรับผิดชอบ
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 รับสลากกินแบ่งรัฐบาลตามสิทธิของโจทก์จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย จำกัด เพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลภายนอก มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทน โจทก์ผูกพันที่จะต้องชำระค่าสลากกินแบ่งแก่สหกรณ์ฯ แต่ในส่วนที่โจทก์มอบสลากกินแบ่งรัฐบาลของตนให้จำเลยที่ 1 นำไปขายต่อให้บุคคลอื่นแล้วนำกำไรหรือส่วนต่างจากการขายมาแบ่งปันระหว่างกันนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไปจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินต้นทุนค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปชำระให้แก่สหกรณ์ฯ เพื่อที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดถัดไปจากสหกรณ์ฯ นำไปจำหน่ายต่อ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะมีนิติสัมพันธ์บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลคืนแก่โจทก์ทุกงวดนอกเหนือจากการแบ่งกำไรส่วนหนึ่งที่โจทก์จะได้รับจากการจำหน่ายสลาก ทั้งปรากฏว่ามีสมาชิกสหกรณ์อีกหลายคนมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการในลักษณะเดียวกันเป็นกิจจะลักษณะเหมือนเป็นผู้อยู่ในวงการซื้อขายโดยตรง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้สร้างกิจการขึ้นมาโดยหวังกำไรจำนวนมากจากส่วนต่างของราคาขายในแต่ละงวดหลังจากแบ่งปันกำไรบางส่วนให้โจทก์และผู้มอบหมายคนอื่นแล้ว เมื่อสภาพการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีนัยการกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่าต้นทุน การตั้งราคาขายเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดและตกลงกับผู้ซื้อโดยอาศัยอำนาจของตนเอง เมื่อพิจารณาประกอบกับจำเลยที่ 1 ทำหนังสือยินยอมรับสภาพหนี้ค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สหกรณ์แล้ว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนขายในนามโจทก์
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน ผท 6565 ชลบุรีไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวไปตามถนนสายอ่างศิลามุ่งหน้าไปตลาดอ่างศิลาซึ่งเป็นถนนมีช่องเดินรถ 2 ช่อง แล่นสวนทางกันคนละฝั่ง 1 ช่อง เมื่อถึงหน้าร้านนุชคอหมูย่าง จำเลยที่ 1 จะเลี้ยวซ้ายไปจอดที่ร้านดังกล่าวและเกิดเฉี่ยวชนกันกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาทางด้านซ้าย รถของโจทก์เสียหลักไปกระแทกกับรถยนต์ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 68, 148, 157 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3) (4), 68, 148, 157 และ ป.อ. มาตรา 390 แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวก็ตาม คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเพียงว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกและกระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกระทำโดยประมาทด้วยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยด้วยว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาทด้วย ก็ไม่ได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่รับฟังว่าพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่า โจทก์มีส่วนประมาทนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นๆ รวมทั้งค่าเสียหายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ เพื่อมิให้เป็นการล่าช้า ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใดไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับแซงตัดหน้าเป็นเหตุให้ชนและเสียหลัก ชนอีแต๋น ผู้ขับไม่ประมาท
ตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงในทางเดินรถของจำเลย จำเลยไม่ได้ขับล้ำเข้าไปในทางเดินรถสวน ส่วน ร. ขับรถจักรยานยนต์สวนทางมาโดยขับตามหลังรถอีแต๋นที่ บ. เป็นผู้ขับ แต่ ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ ร. ขับชนกับรถจำเลย หาก ร. ไม่ขับรถล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เหตุรถทั้งสองคันชนกันก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะฟังว่าจำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ก็ยังขับอยู่ในทางเดินรถของจำเลย และตามรายงานชันสูตรพลิกศพเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องระบุว่า ร. ขับรถตัดหน้ารถจำเลยเป็นเหตุให้ชนกัน แล้วรถจำเลยเสียหลักไปชนรถอีแต๋น แสดงว่า ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นในระยะกระชั้นชิดขณะที่รถจำเลยใกล้จะสวนทางกับรถอีแต๋น การที่รถจำเลยเสียหลักพุ่งชนรถอีแต๋น จึงเป็นผลโดยตรงจาก ร. ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิดเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย มิใช่ผลโดยตรงที่จำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายหรือไม่ชะลอความเร็ว จะถือว่าจำเลยมีส่วนประมาทด้วยหาได้ไม่ เพราะการที่รถจำเลยเสียการควบคุมไปชนรถอีแต๋นเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของ ร. ที่ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่บรรทุกหินเต็มคันรถด้วยความเร็วสูงในทางแคบ ถือได้ว่าเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดทางเพศ: จำเลยต้องมีเจตนาช่วยเหลือหรือให้สะดวก
จำเลยที่ 1 กับพวกนั่งดื่มสุรากันอยู่บริเวณกระท่อมที่เกิดเหตุอยู่ก่อนที่พวกของจำเลยที่ 1 จะพาโจทก์ร่วมมายังกระท่อมที่เกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทราบมาก่อนว่าพวกของจำเลยที่ 1 จะพาโจทก์ร่วมมาข่มขืนกระทำชำเรา อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่ชี้ให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ที่จะเข้าไปมีส่วนในการกระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ทั้งก่อนและขณะที่จำเลยที่ 2 กับพวกข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม แม้จำเลยที่ 1 อยู่ใกล้กับกระท่อมที่เกิดเหตุและเห็นเหตุการณ์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พูดหรือกระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 แต่ไม่เข้าไปห้ามปรามหรือขัดขวางเพื่อมิให้โจทก์ร่วมถูกข่มขืนกระทำชำเรา กรณีดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน