พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบแจ้งคำชี้ขาดต้องมีเหตุผลประกอบ หากไม่มีถือว่าไม่ชอบตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
โจทก์มีหน้าที่ต้องกรอกรายการในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 20 แต่ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงเบื้องต้นสำหรับให้เทศบาลเมืองจำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สินเพื่อประเมินค่ารายปีและค่าภาษีที่จะต้องเสียเท่านั้น เมื่อใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจที่ชัดแจ้ง โจทก์ย่อมไม่ทราบเหตุผลในการทำคำชี้ขาดได้ ใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แต่เนื่องจากกรณีดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบในรูปแบบของใบแจ้งคำชี้ขาดที่ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องจัดให้มีเหตุผลและแจ้งให้โจทก์ทราบต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผล การประเมินภาษีต้องแจ้งเหตุผลชัดเจน
ใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดเป็นคำสั่งทางปกครองตามความหมายในคำนิยามมาตรา 5 ที่ต้องอยู่ในบังคับตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย เมื่อใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดไม่มีเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจของจำเลยทั้งสอง โจทก์ย่อมไม่สามารถทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาดได้ รายละเอียดในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับให้จำเลยที่ 1 กำหนดประเภทแห่งทรัพย์สิน ค่ารายปีและค่าภาษีที่โจทก์ต้องเสีย โจทก์ย่อมทราบเฉพาะรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น แต่ไม่อาจทราบเหตุผลในการประเมินและคำชี้ขาด ดังนั้นใบแจ้งรายการประเมินและใบแจ้งคำชี้ขาดจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคสาม (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1698/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับหอพักที่เจ้าของอยู่อาศัยด้วย และความผิดฐานละเลยการยื่นแบบแสดงรายการ
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 9 และ 10 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 โรงเรือนของจำเลยใช้ทำเป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนและบริการอย่างอื่นจากผู้มาพักตามพระราชบัญญัติหอพัก แม้จำเลยจะอยู่อาศัยในหอพักนั้นด้วย โรงเรือนของจำเลยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว การใช้เป็นหอพักได้ผลประโยชน์ตอบแทนเหมือนการใช้ประกอบกิจการอย่างอื่นจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 10 เมื่อจำเลยไม่ไปรับแบบพิมพ์มากรอกรายการยื่นภายในกำหนดตามประกาศ ย่อมเป็นการละเลยต่อหน้าที่ของผู้รับประเมินที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย จึงมีความผิดตามมาตรา 20,46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)