คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: โจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษา จึงจะฟ้องล้มละลายได้
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์3คดีโจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลในคดีนั้นๆพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าในคดีแรกโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดแต่ไม่สามารถขายได้เพราะทรัพย์ที่ถูกยึดสูญหายและจำเลยทั้งสามชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน1,500,000บาทภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตามก็เป็นขั้นตอนของการบังคับคดีเมื่อหนี้ตามคำพิพากษาแต่ละคดีที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลายโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามโจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและผลกระทบต่ออายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี2519ถึง2523ต่อโจทก์แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี2520ถึงปี2523รวม4ปีเพิ่มอีกเป็นเงิน237,842.08บาทการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่20ธันวาคม2525และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด.11)ไปให้จำเลยณถิ่นที่อยู่ของจำเลยโดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา8,18และ20ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วหากไม่มีการอุทธรณ์การประเมินเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ตรีต่อไปคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา27และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้างซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา12 การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่20ธันวาคม2525ว่าจำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2525แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526ซึ่งเป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด10ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่20ธันวาคม2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่22พฤษภาคม2526เช่นกันซึ่งครบกำหนด10ปีในวันที่22พฤษภาคม2536ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่24พฤษภาคม2536ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีล้มละลาย: การบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษาตามยอม และผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
ศาลชั้นต้นได้ยกขึ้นวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่2ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอมนับได้ว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความบังคับคดีโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่2อีกได้แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าโจทก์ไม่นำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่2เป็นหนี้โจทก์เท่าใดแน่นอนประกอบกับจำเลยที่2มีเงินมาวางศาลประกันการชำระหนี้พอกับจำนวนหนี้ที่โจทก์อ้างว่ายังค้างชำระคดีจึงยังไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายก็ตามแต่ปัญหาที่ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายนั้นเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้หรือไม่ย่อมเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ด้วยดังนั้นประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่2ได้อีกหรือไม่จึงนับว่าประเด็นสำคัญโดยตรงในคดีหาใช่นอกประเด็นของคดีล้มละลายไม่และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวอาจมีผลผูกพันคู่ความในคดีและกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่2ให้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้แม้จำเลยที่2จะเป็นฝ่ายชนะในผลแห่งคดีก็ตาม กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน1ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่19มกราคม2526ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้แล้วการที่จำเลยที่2ไม่ชำระหนี้และโจทก์ได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่2ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตามโจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ที่เหลือจากจำเลยที่2ภายใน10ปีนับแต่วันที่19มกราคม2526แต่โจทก์ได้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่2ขอให้ล้มละลายเมื่อวันที่20พฤษภาคม2536ซึ่งพ้นกำหนดสิบปีแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อหนี้ตามฟ้องโจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำหนี้ตามฟ้องมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เรื่องอายุความ การฟ้องล้มละลายเกินกำหนดสิทธิ
กำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้เสร็จภายใน1ปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ชอบที่จะบังคับคดีจากจำเลยที่2ภายใน10ปีนับแต่วันครบกำหนดดังกล่าวแต่โจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่2ขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นกำหนด10ปีแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยที่2ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4229/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: สิทธิบังคับคดีสูญสิ้นเมื่อพ้น 10 ปีหลังครบกำหนดชำระหนี้
ศาลชั้นต้นได้ยกขึ้นวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามยอมนับได้ว่ามีผลอย่างเดียวกับการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องและเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความบังคับคดี โจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยฟังว่าโจทก์ไม่นำสืบให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหนี้โจทก์เท่าใดแน่นอน ประกอบกับจำเลยที่ 2 มีเงินมาวางศาลประกันการชำระหนี้พอกับจำนวนหนี้ที่โจทก์อ้างว่ายังค้างชำระ คดีจึงยังไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายนั้นเป็นหนี้ที่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้หรือไม่ ย่อมเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้อีกหรือไม่ จึงนับว่าประเด็นสำคัญโดยตรงในคดีหาใช่นอกประเด็นของคดีล้มละลายไม่ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวอาจมีผลผูกพันคู่ความในคดีและกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ให้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยให้แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นฝ่ายชนะในผลแห่งคดีก็ตาม
กำหนดเวลาให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิใช่เรื่องอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจำเลยทั้งสองตกลงจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2526 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้แล้วการที่จำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้และโจทก์ได้บังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2ชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม โจทก์ก็ชอบที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ที่เหลือจากจำเลยที่ 2 ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2526 แต่โจทก์ได้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้อง จำเลยที่ 2 ขอให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2536 ซึ่งพ้นกำหนดสิบปีแล้ว โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อหนี้ตามฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำหนี้ตามฟ้องมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่เป็นสาระเมื่อข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป ถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ
of 33