คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่วินิจฉัยประเด็นหนี้สินหากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมายและข้อเท็จจริงประกอบเพื่อพิสูจน์ฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(5) และ (9) เป็นแต่เพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้น มาตรา 14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดล้มละลายก็ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การตัดรอนมิให้ศาลในคดีล้มละลายรับฟ้องพยานหลักฐานเพราะมิได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 ย่อมขัดต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ ดังนั้นจำเลยจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารดังกล่าวเพื่อให้ปรากฏความจริง ให้ศาลรับฟังได้แม้จะไม่ได้ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนสืบพยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้มีข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์เพียง84,568.29บาทและยังประกอบกิจการมีรายได้อีกทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกจำเลยที่1จึงอยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ดังนั้นลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยที่1ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม2ครั้งและจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อสกุลย้ายที่อยู่โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยที่1ว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวพระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้ศาลมีหน้าที่พิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่การที่จำเลยที่1เสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ปรากฎความจริงดังกล่าวแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนสืบพยานตามกฎหมายก็ไม่เป็นการตัดรอนศาลมิให้รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การหักล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้นปัญหาว่าความจริงจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่อาจนำสืบหักล้างประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายได้พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบปรากฎชัดว่าจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินคือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทไทยประเมินราคา จำกัดได้ประเมินราคาไว้สูงถึง36,775,820บาทแม้จะเป็นการประเมินราคาของเอกชนแต่ก็เป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ในการขอกู้เงินจากธนาคารและต่อมาธนาคารได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ในวงเงิน13,000,000บาทแสดงถึงความเชื่อถือของธนาคารและจำเลยที่2และที่3มีหนังสือสัญญาขายที่ดินนำสืบว่ามีราคาเกือบ2,000,000บาทแม้หนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นสำเนาเอกสารแต่ก็รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารต้นฉบับที่ถูกต้องแล้วจึงรับฟังได้ข้อนำสืบของจำเลยที่2และที่3มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ส่วนจำเลยที่1แม้ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้แต่เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นหนี้ร่วมที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้แก่โจทก์ได้คดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่1ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: การสะดุดหยุดอายุความ
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะอันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่อีก
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและเมื่อการฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา8, 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: การฟ้องภายใน 10 ปี ทำให้สะดุดอายุความ
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติไว้โดยเฉพาะอันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(2)คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่อีก ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและเมื่อการฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วยกรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มาใช้บังคับเมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8,14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดจะพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตามก็หามีผลต่อคดีไม่ส่วนข้อที่ว่าโจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การขยายอายุความ 60 วันหลังคำสั่งไม่รับฟ้อง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างการพิจารณา คดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้ อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่า โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา 271 มาใช้บังคับได้
การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27, 91แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกด้วย มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไป การฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/32 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา 193/17วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2536 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและการขยายอายุความตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยโจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ก็ตามเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7มิถุนายน2536ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองคดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่าโจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองหรือไม่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายมิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค4แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา271มาใช้บังคับได้ การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แล้วหากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา27,91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อีกด้วยมิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไปการฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ10ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่30กรกฎาคม2536และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา193/17วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน60วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดการที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่27กันยายน2536ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด60วันตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลายย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นเอนกประการซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ฉะนั้นก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา14จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา10ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาดแต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ2,850,000บาทและหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ28,000บาทกับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลยแต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลยแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่งโจทก์ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา4กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต้องเปิดโอกาสลูกหนี้แสดงความสามารถชำระหนี้
การที่ศาลจะมีคำสั่งหรือพิพากษาให้บุคคลใดล้มละลาย ย่อมกระทบถึงสิทธิและความสามารถตลอดจนสถานะบุคคลและทรัพย์สินของบุคคลนั้นเป็นอเนกประการ ซึ่งยังผลให้บุคคลภายนอกสามารถยกขึ้นอ้างและใช้ยันแก่บุคคลผู้นั้นได้ ฉะนั้น ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 จึงบัญญัติให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไว้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมโดยอ้างว่าจำเลยมีสิทธิเรียกร้องจากค่าจ้างว่าความจากบุคคลตามที่ระบุในหนังสือสัญญาจ้างว่าความรวมประมาณ 2,850,000 บาท และหนังสือรับรองเงินเดือนอีกเดือนละ 28,000บาท กับอ้างพยานบุคคลอีกหลายปากภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเพื่อแสดงให้เห็นถึงฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย แล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบเพื่อพิจารณาความจริงตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 กรณีมีเหตุจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยตามบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย
of 33