พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ห้ามฟ้องซ้ำหากศาลเคยยกฟ้องด้วยเหตุผลที่ยังคงมีผลอยู่ แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อนโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้และจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีกอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดได้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 304,500 บาท ซึ่งอาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ล้มละลาย โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้ โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินเพียง 42,900 บาท และโจทก์ได้รับชำระหนี้เพียง 36,479 บาทส่วนคดีก่อนยังมิได้ขายทอดตลาดก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ ห้ามตามกฎหมาย แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนไป เพื่อป้องกันการใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้ และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วเนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดไว้อาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ ล้มละลาย การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ก็ตาม
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยวินิจฉัยประเด็นหนี้ภาษีแล้ว และจำนวนหนี้ใหม่ไม่เพียงพอต่อการฟ้องล้มละลาย
โจทก์เคยนำหนี้ภาษีการค้ามาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงพิพากษายกฟ้องแต่ต่อมาโจทก์นำหนี้ภาษีการค้าดังกล่าวรวมกับหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสามจำนวนนั้น แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีก ดังนั้น การที่โจทก์นำหนี้ภาษีการค้าจำนวนเดิมรวมกับหนี้ภาษีจำนวนใหม่มาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ส่วนหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหนี้จำนวนใหม่ เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 40,000 บาทเศษไม่เข้าองค์ประกอบที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและสินสมรส: ที่ดินที่ได้มาระหว่างสมรสยังเป็นสินสมรสแม้การสมรสจะตกเป็นโมฆะ
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ในระหว่างสมรสผู้ร้องมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 ผู้ร้องซื้อและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจาก จ. เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2523 ต่อมาวันที่ 10มีนาคม 2526 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าขาดกันกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งแม้ผู้ร้องจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1495(เดิม) ต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือออกเงินช่วยผู้ร้องชำระราคาที่ดินพิพาทหรือไม่แม้ภายหลังผู้ร้องกับจำเลยที่ 1จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และ 1533 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาดำเนินการตามที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีภายใน 10 ปี การไม่บังคับคดีไม่ทำให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เพิ่มขึ้น
การบังคับคดีเป็นสิทธิตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 โจทก์จะบังคับคดีเมื่อใดภายใน 10 ปี จึงเป็นสิทธิที่โจทก์สามารถทำได้โดยชอบ จำเลยเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่ชำระ จึงต้องรับผิดในหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนดอกเบี้ยที่ศาลกำหนดไว้ในคำพิพากษามิใช่เป็นผลจากการที่โจทก์ไม่ดำเนินการบังคับคดี การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีในทันทีทำให้จำเลยเป็นหนี้โจทก์มากขึ้นจึงมิใช่เหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายเดิม แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองสมควรล้มละลายหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่มีการยื่นฟ้องและคดีนั้นยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 ที่บัญญัติว่า "บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล? ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" เมื่อคดีนี้ยื่นฟ้องก่อนที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับและได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท จึงเข้าองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (เดิม) ประกอบกับในการพิจารณาคดีล้มละลายต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 (เดิม) หรือมาตรา 10 (เดิม) ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ยกฟ้อง ฉะนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และจำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ลำพังเหตุที่มีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยเพิ่มจำนวนหนี้ที่จะฟ้องล้มละลายให้สูงขึ้น ยังไม่พอฟังว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้ไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดี
หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) แม้โจทก์จะยังมิได้นำยึดทรัพย์จำเลยทั้งสามตามหมายบังคับคดี แต่โจทก์ก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินให้บังคับชำระหนี้ได้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับขั้นตอนการพิจารณาคดีล้มละลาย: เหตุไม่ควรล้มละลายต้องยกขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เหตุไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 เป็นเรื่องที่ต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย เมื่อศาลชั้นต้นไม่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงต้องพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามมาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการยกเหตุไม่ควรให้ล้มละลายหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ในชั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายจำเลยอุทธรณ์ 2 ประการ คือไม่มีเหตุที่จะถือว่าจำเลยทุจริตดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประการหนึ่ง และคดีมีเหตุไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายล้มละลายโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 กำหนดจำนวนหนี้ขั้นต่ำที่จะฟ้องคดีล้มละลายไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และในคดีมีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เพียง 4 ราย ขอให้ศาลอุทธรณ์หยิบยกมาตรา 14 ขึ้นพิจารณาอีกประการหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาที่สองว่าจำเลยจะสามารถขอให้ศาลยกเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มลายตามมาตรา 14 มาพิจารณาในชั้นขอประนอมหนี้ได้หรือไม่ อย่างไร จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แต่เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็วสมดั่งเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลาย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียว
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย
ในการพิจารณาคดีล้มละลายนั้น กฎหมายได้กำหนดลำดับขั้นตอนไว้อย่างชัดเจนแล้วกล่าวคือ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14 ลูกหนี้มีสิทธิทำคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายตามมาตรา 45 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอต่อศาลให้สั่งว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาในชั้นนี้ ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากมีข้อเท็จจริงตามมาตรา 53 และมาตรา 54 ในชั้นพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับการประนอมหนี้ก่อน ล้มละลายหรือไม่นั้น จึงต้องพิจารณาเพียงแต่ว่ามีเหตุที่ห้ามมิให้ศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยกระทำการทุจริต จำเลยมิได้ฎีกาจึงเป็นอันยุติไป ส่วนที่ว่าจะมีเหตุไม่ควรให้จำเลย ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องยกขึ้นว่ากล่าวก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีส่วนดังกล่าวถึงที่สุดไปแล้วจนถึงขั้นพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนที่จะหยิบยกเหตุดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย