พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดจากการขนส่งผู้โดยสาร: ผู้ได้รับอนุญาตเดินรถไม่มีอำนาจฟ้องแทนเจ้าของสิทธิ
ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ มาตรา 6 วรรคสอง ได้บัญญัติให้นายทะเบียนกลางเป็นนายทะเบียนประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวภายในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่าโจทก์ได้ทำสัญญานำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารประจำทางกับ ข.ส.ม.ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการขนส่งผู้โดยสารตามเส้นทางต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอำนาจใด ๆ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ หรือรับมอบอำนาจจากนายทะเบียนกลางให้ฟ้องหรือดำเนินคดีแก่ผู้ที่กระทำฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ ที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งโจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ และ พ.ร.บ.รถยนต์ฯ
การกระทำที่จะเป็นละเมิดและถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอื่นจะต้องเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ และจากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อผู้ถูกกระทำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง แต่โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับ ข.ส.ม.ก. เท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นของ ข.ส.ม.ก. และ ข.ส.ม.ก. มีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาร่วมเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทและยังเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อผู้ล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นละเมิดก็เป็นละเมิดต่อสิทธิของ ข.ส.ม.ก. ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับ ข.ส.ม.ก. อย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ข.ส.ม.ก. ต่างหาก
การกระทำที่จะเป็นละเมิดและถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอื่นจะต้องเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อ และจากการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อผู้ถูกกระทำ ดังนั้น แม้จะได้ความว่าจำเลยได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างจริง แต่โจทก์เป็นเพียงผู้หนึ่งที่ได้รับอนุญาตให้นำรถโดยสารขนาดเล็กเข้าร่วมเดินรถโดยสารกับ ข.ส.ม.ก. เท่านั้น สิทธิในการเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทยังคงเป็นของ ข.ส.ม.ก. และ ข.ส.ม.ก. มีสิทธิอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาร่วมเดินรถโดยสารในเส้นทางพิพาทและยังเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีต่อผู้ล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าว แม้การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นละเมิดก็เป็นละเมิดต่อสิทธิของ ข.ส.ม.ก. ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ ส่วนสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามสัญญากับ ข.ส.ม.ก. อย่างไรก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ข.ส.ม.ก. ต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากรถสองแถว: ผู้ขับขี่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการทำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัว
แม้ก่อนตายผู้ตายจะมีรายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวโจทก์ก็ตาม แต่ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีอายุเพียง 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42บัญญัติว่าผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และมาตรา 49(2)บัญญัติว่า ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า25 ปี บริบูรณ์ ผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายดังกล่าว การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(3)โจทก์ผู้เป็นมารดาไม่มีสิทธิใช้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ทำงานดังกล่าวฉะนั้น รายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างจึงมิใช่รายได้ที่เกิดจากการที่ผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในครัวเรือนดังความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้