พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าฉางและการฝากทรัพย์ กรณีข้าวเปลือกเสียหายหรือขาดจำนวน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใด และแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วน และเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657
สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วน และเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม หากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์ การรับผิดชอบความเสียหายและขาดจำนวนของข้าวเปลือก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาให้โจทก์เช่าฉางของจำเลยเพื่อใช้เก็บข้าวเปลือกของโจทก์โดยตกลงรับมอบข้าวเปลือกเก็บไว้ในฉาง หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนข้าวทั้งหมดโจทก์หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าข้าวที่ขาดจำนวนไปนั้นมีข้าวชนิดใดบ้าง มีน้ำหนักจำนวนอย่างละเท่าใดและแต่ละชนิดเป็นราคาเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม สัญญาเช่าฉางเอกชนกำหนดให้จำเลยต้องรับมอบข้าวเปลือกของโจทก์และจัดแบ่งแยกข้าวเปลือกแต่ละชนิดออกเป็นสัดส่วนและเก็บรักษามิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมหากเกิดความเสียหายสูญหายจำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวน เข้าลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์: หน้าที่ดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานความระมัดระวัง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิดเรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดีศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบแต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ จำเลยที่1เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่1ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถจำเลยที่5เป็นเจ้าของอาคารจอดรถอาคารจอดรถของจำเลยที่5มีทางเข้า1ทางทางออก1ทางปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน5บาทพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5บาทโดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัยด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1.ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัวเพื่อป้องกันรถหาย2.กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถฯลฯ6.บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจและในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตราที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหายสำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออกพฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเองดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เองและที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่าหากมีการสูญหายหรือเสียหายใดๆเกิดขึ้นทุกกรณีผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตามแต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่5นี้มีบริการรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่5โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคารซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน5บาทเป็นค่าตอบแทนการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อนๆของจำเลยทั้งห้าก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่1มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไปไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้นการที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยที่2ถึงที่4ยืนเก็บเงินออกบัตรจดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถที่อยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่2ถึงที่4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรงซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถมีข้อความว่าผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถมิฉะนั้นบริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยันเมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียวหากจำเลยที่2ถึงที่4ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้การที่จำเลยที่2ถึงที่4ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420จำเลยที่2ถึงที่4ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่2ถึงที่4เป็นลูกจ้างของจำเลยที่5กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่5จำเลยที่5นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่2ถึงที่4ต่อโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425 คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์แต่เป็นคดีข้อหาละเมิดแม้ว่าจำเลยที่3ถึงที่5จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไปซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยรถยนต์ในลานจอดรถ และความรับผิดของนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ แต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี ศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และประเด็นฟ้องเคลือบคลุม
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจกระทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 ศาลต้องหยิบยกประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีตัวโจทก์ที่ 1 มาเบิกความยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทน โดยยืนยันว่าลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 จริงโดยจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทนเช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ขับรถยนต์ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยรับรถยนต์ ของโจทก์ไปจอดยังที่จำเลยจัดไว้เป็นการบรรยายว่า จำเลยได้รับฝากรถยนต์ของโจทก์ และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ลูกจ้างของจำเลยได้ย้ายรถยนต์ของโจทก์จากบริเวณหน้าห้องอาหารซึ่งมีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลไปจอดยังริมถนนฝั่งตรงข้ามไม่มีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลรถยนต์ของโจทก์จึงหายไปอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกันไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & การฟ้องละเมิด: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นหนังสือมอบอำนาจแล้ว การบรรยายฟ้องไม่ขัดแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจกระทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1ศาลต้องหยิบยกประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีตัวโจทก์ที่ 1 มาเบิกความยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทน โดยยืนยันว่าลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 จริง โดยจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2ฟ้องคดีแทน เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ขับรถยนต์ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไปจอดยังที่จำเลยจัดไว้เป็นการบรรยายว่าจำเลยได้รับฝากรถยนต์ของโจทก์ และบรรยายฟ้องต่อไปว่าลูกจ้างของจำเลยได้ย้ายรถยนต์ของโจทก์จากบริเวณหน้าห้องอาหารซึ่งมีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลไปจอดยังริมถนนฝั่งตรงข้าม ไม่มีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลรถยนต์ของโจทก์จึงหายไป อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ขับรถยนต์ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไปจอดยังที่จำเลยจัดไว้เป็นการบรรยายว่าจำเลยได้รับฝากรถยนต์ของโจทก์ และบรรยายฟ้องต่อไปว่าลูกจ้างของจำเลยได้ย้ายรถยนต์ของโจทก์จากบริเวณหน้าห้องอาหารซึ่งมีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลไปจอดยังริมถนนฝั่งตรงข้าม ไม่มีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลรถยนต์ของโจทก์จึงหายไป อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฝากทรัพย์: ใช้ทั่วไป 10 ปี หากไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฎตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,123.84 บาทโจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1 เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้างเมื่อโจทก์ที่ 1 กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น. เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืนสัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไปทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น. ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อการลักทรัพย์ในตู้นิรภัยจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาฝากทรัพย์: การผิดสัญญาจากปฏิเสธการจ่ายเงินตามสมุดเงินฝาก ไม่เข้าอายุความ 10 ปี
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฏตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,124.84 บาท โจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529 แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ