คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 657

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินในนามวัดฯ มิใช่ส่วนตัว ทำให้ไม่ต้องรับผิดคืนเงิน
จำเลยรับเงินจากโจทก์ในนามของวัด บ. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ มิใช่รับเงินจากโจทก์ในนามส่วนตัว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์เป็นการส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์จากบริการจอดรถในภัตตาคาร จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายหากประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยที่ 1 จัดบริการให้แก่ลูกค้าซึ่งไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารของจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 ต้อนรับ เอากุญแจรถยนต์ขับรถยนต์เข้าที่จอดและเคลื่อนย้ายรถยนต์หากมีรถยนต์คันอื่นเข้าออกในบริเวณภัตตาคาร ออกใบรับที่จดหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรับกุญแจรถยนต์ของลูกค้าเก็บไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติเช่นนี้ถือได้แล้วว่าเป็นการฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รับฝากทรัพย์หรือไม่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นการฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ ดังนี้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยโดยเห็นด้วยในประเด็นเรื่องฝากทรัพย์แล้วเพียงแต่วินิจฉัยต่อไปว่าเป็นการฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ ซึ่งก็ยังอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์ของภัตตาคารต่อลูกค้า ความรับผิดในความเสียหายต่อรถยนต์ที่จอด
จำเลยที่ 1 จัดบริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งไปรับประทานอาหาร ที่ภัตตาคารของจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ต้อนรับ เอากุญแจรถยนต์ขับรถยนต์เข้าที่จอด และเคลื่อนย้ายรถยนต์หากมีรถยนต์คันอื่นเข้าออกในบริเวณภัตตาคาร ออกใบรับที่จดหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรับกุญแจรถยนต์ของโจทก์เก็บไว้ถือได้ว่าเป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 ซึ่งจำเลยที่ 1ผู้รับฝากจะต้องดูแลระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่ฝากนั้นเหมือนเช่นที่เคยประพฤติในกิจการของตนเอง เมื่อรถยนต์ โจทก์ที่นำมาฝากเพื่อรับประทานอาหารในภัตตาคารของ จำเลยที่ 1 หายไป โดยจำเลยที่ 1 มิได้ดูแลหรือใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นที่เคยประพฤติในกิจการของตน จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1รับฝากทรัพย์หรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยโดยเห็นด้วยในประเด็นเรื่องฝากทรัพย์แล้ว การที่วินิจฉัยต่อไป ว่าเป็นการฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ ก็ยังอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ใช้รถยนต์ประกอบการค้า เมื่อรถยนต์หายไปโจทก์ ไม่มีรถยนต์ที่จะใช้ประกอบอาชีพได้ย่อมได้รับความเสียหาย มีสิทธิได้รับค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางตามบัญชีท้ายสัญญาโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายลูกบาศก์เมตร นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะรับไม้คืน หากขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างให้ผู้ว่าจ้างปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตรตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษาไม้ผู้ว่าจ้างอาจขนไม้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ที่ขนไปนั้นทุกคราวไป หลังจากทำสัญญาแล้วไม้ของกลางอยู่ห่างจากบ้านผู้รับจ้างประมาณ 2 กิโลเมตร โดยกองอยู่ริมทางเดินในหมู่บ้านผู้รับจ้างมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตนแต่ประการใดดังนี้ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง มิได้ส่งมอบไม้ให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เฝ้ารักษามิให้ไม้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512และ 1020/2519) สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ ค่าเสียหายมีเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดจึงเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งให้บริบูรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: ไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน อายุความ 10 ปี
เมื่อไม้กองอยู่ริมทางเดินห่างจากบ้านของจำเลยประมาณ 2 กิโลเมตร จำเลยมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน และตามสัญญาผู้ว่าจ้างอาจมาขนไม้จากที่เดิมไปเมื่อใดก็ได้เพียงแต่แจ้งให้ผู้รับจ้างทราบ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังคงอยู่แก่ผู้ว่าจ้างมิได้ส่งมอบให้แก่ผู้รับจ้างผู้รับจ้างคงมีหน้าที่เพียงเฝ้ามิให้ไม้สูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อกฎหมายลักษณะจ้างแรงงานมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงมอบข้าวเปลือกสีเป็นข้าวสารถือเป็นการซื้อขาย ไม่ใช่ฝากเก็บ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์มอบข้าวเปลือกไว้กับจำเลยที่ 1 และให้สิทธิแปรสภาพเป็นข้าวสารออกขายได้ หากโจทก์ต้องการขายราคาข้าวเปลือกดังกล่าวจำเลยจะใช้ราคาเป็นเงินสดโดยคิดราคาข้าวเปลือกชนิดและประเภทเดิมในปริมาณเดียวกันเป็นข้อตกลงที่ให้กรรมสิทธิ์ในข้าวเปลือกตกเป็นของจำเลยแล้ว เพียงแต่จะคิดราคากันในภายหลังและต้องใช้ราคาโดยไม่ต้องคืนทรัพย์ที่รับไว้ ดังนี้ เป็นการซื้อขายวิธีหนึ่งหาใช่รับฝากทรัพย์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์และช่วงเวลาการเกิดภาษี การแก้ไขเพิ่มเติมพยานหลักฐาน และอำนาจศาลในการวินิจฉัยเกินคำขอ
บริษัท พ. ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัท ส.ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่า เมื่อบริษัท พ.ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O (Delivery Order) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัท ส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัท พ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัท ส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัท พ. ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส.ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (Purchase Form) ส่งให้บริษัท พ. แล้วบริษัท พ.จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส.เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ.ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ.ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้น วันที่บริษัท พ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาด แต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส.มีคำสั่งซื้อบริษัท พ.จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79จัตวา (3)
คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกัน แต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง โดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1, 317 ข./2531/1,317 ค.2531/1, 317 ง./2531/1, 317 จ./2531/1 และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่ 317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวด้วยก็ตาม ศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6049/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้า: วันซื้อขายสำเร็จเมื่อมีคำสั่งซื้อ ไม่ใช่วันส่งสินค้า การอนุญาตเพิ่มพยานหลักฐาน และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
บริษัท พ.ผลิตรถยนต์จำหน่ายให้แก่บริษัทส. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวโดยมีข้อตกลงและระเบียบปฏิบัติต่อกันว่าเมื่อบริษัท พ. ผลิตรถยนต์แต่ละคันเสร็จจะทำสำเนาเอกสารใบ D/O(DeliveryOrder) ระบุรุ่นของรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังและรหัสสีของรถยนต์มอบให้แก่บริษัทส. พร้อมกับส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส.เพื่อจะได้ทราบว่าบริษัทพ.ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใดไว้แล้วจะได้เสนอขายแก่ลูกค้า ถ้าบริษัทส.ต้องการจะซื้อรถยนต์คันใดก็จะโทรศัพท์สั่งซื้อไปยังบริษัทพ.ครั้นสิ้นเดือน ฝ่ายบัญชีของบริษัท ส. ก็จะรวบรวมยอดรถยนต์ที่สั่งซื้อในเดือนนั้นทำเป็นใบสั่งซื้อ (PurchaseForm) ส่งให้บริษัท พ.แล้วบริษัทพ. จะออกใบแจ้งหนี้ (Invoice) สำหรับรถยนต์ที่ซื้อขายกันในเดือนนั้นมาให้แก่บริษัท ส. เพื่อเรียกเก็บเงินต่อไป และการที่บริษัท พ. ส่งมอบรถยนต์ไปจอดเก็บไว้ที่บริษัท ส. ก็เป็นการนำไปฝากจอดไว้ เอกสารใบ D/O จึงเป็นเพียงเอกสารที่แสดงว่าบริษัท พ. ได้ผลิตรถยนต์รุ่นใด สีใด จำนวนเท่าใดไว้พร้อมที่จะขายให้แก่บริษัท ส.เท่านั้นวันที่บริษัทพ.ออกเอกสารใบ D/O จึงยังมิใช่วันที่มีการซื้อขายรถยนต์เสร็จเด็ดขาดแต่จะเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดต่อเมื่อบริษัท ส. มีคำสั่งซื้อบริษัท พ. จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเดือนภาษีที่มีคำสั่งซื้อนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 จัตวา (3) คดีมีพยานเอกสารที่โจทก์ต้องอ้างอิงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะทราบได้ว่าต้องอ้างอิงเอกสารอะไรทั้งหมดในคราวเดียวกันแต่โจทก์ได้ระบุอ้างพยานเอกสารในครั้งแรกก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตั้งแต่พยานอันดับ 11 ถึงอันดับ 28 รวม 18 อันดับไว้แล้ว การที่โจทก์มาขอระบุบัญชีพยานเพิ่มเติมอีก 2 ครั้งโดยระบุพยานเอกสารเพิ่มเติมอีกรวม 8 อันดับนั้น ถือได้ว่ามีเหตุอื่นอันสมควร เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ระบุเพิ่มเติมเป็นเอกสารสำคัญอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีที่ศาลต้องใช้ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญในปัญหาที่โต้เถียงกันเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจสั่งอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมได้ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 วรรคสี่ โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 6 ฉบับ คือฉบับเลขที่ 317 ก./2531/1,317 ข./2531/1,317 ค./2531/1,317ง./2531/1,317 จ./2531/1และ 317 ฉ./2531/1 ซึ่งวินิจฉัยให้โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีเทศบาลรวม 63,181,961.69 บาทโดยแนบสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้ง 6 ฉบับ ดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วยและคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์รวม 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระภาษีการค้า เงินเพิ่ม เบี้ยปรับและภาษีบำรุงเทศบาลรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,181,961.69 บาท และเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวแล้วว่า โจทก์ได้ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเลขที่317 ง./2531/1 ด้วย ดังนั้น แม้ว่าตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวก็ตามศาลภาษีอากรกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวได้ หาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าพื้นที่จอดรถ vs. การรับฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากไม่มีการส่งมอบและอารักขา
จ. นำรถยนต์เข้าไปจอดในปั๊มน้ำมันของจำเลย เสียค่าจอดรถยนต์เป็นรายเดือนไม่มีการส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความอารักขาของจำเลย จ. สามารถนำรถยนต์เข้าออกในเวลาใดก็ได้ จำเลยไม่สามารถรู้ได้ว่า จ. ได้นำรถยนต์เข้าไปจอดหรือไม่ ในคืนที่รถยนต์หายก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบรถยนต์จาก จ. แต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับฝากรถยนต์ไว้จาก จ.แต่เป็นการให้เช่าสถานที่จอดรถยนต์ เมื่อรถยนต์หายไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จ. โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยนิติบุคคล และความผูกพันของกรรมการต่อการกระทำของบริษัท
การที่พนักงานของบริษัทจำเลยที่ 1 นำเช็คของโจทก์ไปเข้าฝากในบัญชีเงินฝากที่มีชื่อจำเลยที่ 2 ม. และ ก. เป็นเจ้าของบัญชีนั้น แม้จะไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ก็เป็นการกระทำโดยจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และกรรมการคนอื่น จึงถือว่าจำเลยที่ 2ได้เปิดบัญชีเงินฝาก แทนจำเลยที่ 1 อันเป็นกิจการภายในของจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินจากโจทก์ไปแล้ว จึงมีหน้าที่คืนเงินให้โจทก์ จำเลยที่ 1 จะยกเอาเหตุที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อแก้ตัวให้หลุดพ้นจากความรับผิดไม่ได้ การที่โจทก์จ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 มีกำหนด 3 เดือน แล้วรับเช็คมาเป็นการชำระหนี้คืนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสมุดคู่ฝากและจำเลยที่ 1 รับเช็คจากโจทก์แล้วนำไปฝากเข้าบัญชีของธนาคารพาณิชย์เอง โจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีเงินฝาก จึงไม่ใช่เป็นการฝากเงินในกิจการของธนาคารพาณิชย์ แต่เป็นการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนในการประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนาหรือเพื่อเคหะตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยตรง การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 ที่จะต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยคืนโจทก์.
of 16