พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1259/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตำรวจในการจับกุมและสอบสวนนอกเขตท้องที่: ความผิดต่อเนื่องและเหตุความผิดซึ่งหน้า
แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)จ่าสิบตำรวจ ส. มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทำการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายได้และยังมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 อำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาดังกล่าวนี้ ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดจำกัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เฉพาะ ในเขตท้องที่ที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้นั้นประจำการอยู่เท่านั้นเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงมีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดและสืบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร ดังนั้น จ่าสิบตำรวจ ส. ย่อมมีอำนาจที่จะไปจับกุมจำเลยที่ 1 ซึ่งมีที่อยู่ในเขตท้องที่ สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ได้ เว้นแต่ลักษณะการจับที่ไม่มีหมายจับเป็นไปโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78,81 และ 92 จำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2ในการกระทำความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน การที่จำเลยที่ 2ขายเมทแอมเฟตามีนให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. เป็นความผิดซึ่งหน้าเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกจับกุมแล้วได้นำจ่าสิบตำรวจ ส.ไปจับกุมจำเลยที่ 1 เป็นการต่อเนื่องกันทันที ถือได้ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. จับกุมจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดซึ่งหน้าด้วยเช่นกัน เพราะหากล่าช้า จำเลยที่ 1ก็อาจหลบหนีไปได้ และการตรวจค้นตัวจำเลยที่ 1 ยังพบ เมทแอมเฟตามีนของกลางอีก 95 เม็ด ดังนั้น แม้จ่าสิบตำรวจ ส. เข้าไปจับจำเลยที่ 1 ในห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นที่ รโหฐานก็ตาม จ่าสิบตำรวจ ส. ก็ย่อมมีอำนาจที่จะจับกุมจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 81(1),92(2) การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และสถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร ดังนั้นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียนซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยที่ 2 ผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จึงมี อำนาจสอบสวนได้โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 19 วรรคหนึ่ง(3) และวรรคสาม(ก) พนักงานอัยการโจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและสอบสวนความผิดซึ่งหน้า การใช้สายลับล่อซื้อ และการรับคำสารภาพโดยสมัครใจ
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับและค้นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเมิดต่อโจทก์
จำเลยมียศพันตำรวจตรี ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวน จึงเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (16) มิใช่สารวัตรตำรวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2 (17) (ภ)จำเลยจะจับผู้ใดและค้นในที่รโหฐานแห่งใดจึงต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นให้จำเลยจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 92
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่องจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและค้นค้นโดยมิชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ละเมิดสิทธิของผู้ถูกจับกุม
จำเลยมียศพันตำรวจตรี ตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนจึงเป็นเพียงพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16)มิใช่สารวัตรตำรวจอันเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2(17)(ภ) จำเลยจะจับผู้ใดและค้นในที่รโหฐานแห่งใดจึงต้องมีหมายจับและหมายค้นด้วย เว้นแต่จะต้องด้วยข้อยกเว้นให้จำเลยจับและค้นได้โดย ไม่ต้องมีหมายจับและหมายค้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 และมาตรา 92 เมื่อจำเลยจับโจทก์และค้นบ้านโจทก์อันเป็นที่รโหฐานโดยไม่ปรากฏว่ามีหมายจับและหมายค้นอันถูกต้อง ทั้งไม่ต้องด้วย ข้อยกเว้นตามกฎหมายที่จะจับและค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นเรื่อง จงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายซึ่งเป็นละเมิด เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำ ดังกล่าวของจำเลย จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในชีวิตและร่างกายที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายบุคคลนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะในมาตรา 31 วรรคหนึ่งที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและวรรคสามว่า การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 26ที่บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรา 240 ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่ามีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว จึงต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังเป็นสำคัญเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจมีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240 ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ บ. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540ส.กับพวกคือพ.ร. และ น. ได้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานตำรวจทำการจับ อ. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2540และควบคุมตัว อ. ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540จึงขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาวันที่28 พฤศจิกายน 2540 ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความของ อ.ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการออกหมายจับอ. และปรากฏตามข้อมูลเบื้องต้นเพียงว่าผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวหาว่ากระทำความผิดมีเพียง 4 คน ไม่ปรากฏชัดว่ามีเหตุตามสมควรว่าควรนำตัว อ. มาสอบสวนดำเนินคดีด้วยแต่อย่างใดหรือไม่ ไม่ปรากฏว่า อ. ตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรที่จะออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(2) ไม่ปรากฏว่าการจับ อ. เป็นการจับเพราะกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือพบอ.กำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบอ. โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า อ. จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า อ. ได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี จึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(1)(2) และ (3) ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าอ.ร่วมกับส. กระทำความผิด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับและควบคุม อ.โดยถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ทั้งหากการจับ อ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมอ. ต่อเนื่องจากการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังในระหว่างสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้ ซึ่งหากศาลสั่งให้ผู้คุมขังหรือผู้ก่อให้เกิดการคุมขังนำตัว อ.มาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลหรือพยานหลักฐานจะทำให้ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจับหรือคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และศาลก็สามารถพิจารณาถึงเหตุในการจับและคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนในการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างสมบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดขวางเจ้าพนักงาน-อาวุธปืน: อำนาจตรวจค้น-จับกุมเมื่อพบพฤติการณ์น่าสงสัยและแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน
ก่อนเกิดเหตุสิบตำรวจเอก พ. พบเห็นจำเลยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าจะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมืออาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำผิด และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดซึ่งหน้าแม้สิบตำรวจเอกพ. ไม่มีหมายจับ แต่ได้แสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยทราบแล้ว สิบตำรวจเอก พ.จึงมีอำนาจตรวจค้นและจับจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(1)(2),93การที่จำเลยใช้มือกดอาวุธปืนไม่ให้สิบตำรวจเอก พ.ดึงออกมาจากเอวจำเลยเพื่อยึดเป็นของกลาง จึงเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินเจตนาการกระทำ: จากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพฤติการณ์แสดงเจตนาให้หยุดการกระทำมากกว่ามุ่งหวังเอาชีวิต
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คนแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คนร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริงก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ. ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ. เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ. ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 เท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289,339,340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ซึ่งเป็นความผิดตามที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: ศาลลงโทษตามความผิดที่รวมอยู่ด้วยได้
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คน แม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คน ร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริง ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป
จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ.ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้ การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ.เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ.ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289, 339, 340 ตรีทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 296ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ.ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้ การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ.เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ.ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 289, 339, 340 ตรีทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ.มาตรา 296ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกและความผิดฐานค้าประเวณี: อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมายค้นในสถานที่สาธารณะ
ภายในบ้านส่วนที่ใช้สำหรับให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสั่งซื้อและรับประทานอาหาร ถือได้ว่าเป็นสาธารณสถานซึ่งประชาชนรวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าได้ การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าไปในบ้านในส่วนดังกล่าวในเวลากลางคืนขณะที่ยังขายอาหารอยู่เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดฐานค้าประเวณี จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก ห้องพักที่ใช้สำหรับให้หญิงค้าประเวณีทำการค้าประเวณีกับบุคคลทั่วไป ถือได้ว่าเป็นสาธารณสถาน และเมื่อนาย ส. ซึ่งเป็นสายลับที่ให้ไปร่วมประเวณีกับหญิงที่ค้าประเวณีในเวลากลางคืนเปิดประตูห้องพักให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปตามที่วางแผนไว้ ก็พบนางสาว น. อยู่กับนาย ส.สองต่อสองหลังจากนาย ส. ได้ร่วมประเวณีกับนางสาว น.ซึ่งค้าประเวณีแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้พบนางสาว น.ในลักษณะซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่า นางสาว น. ได้กระทำผิดฐานค้าประเวณีมาแล้วอันเป็นความผิดซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80 จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงมีอำนาจเข้าไปทำการจับกุมนางสาว น. จากภายในห้องพักได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตำรวจ: การสืบสวนคดีอาญาและการจับกุมผู้ต้องสงสัย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหายแล้วจำเลยพูดว่าเรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้ และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.