พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตำรวจในการสืบสวนคดีอาญา: การกระทำที่ไม่เข้าข่ายละเว้นหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาและจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย การที่จำเลยทราบจากผู้เสียหายว่ามีคนร้ายลักทรัพย์ผู้เสียหาย แล้วจำเลยพูดว่า เรื่องนี้พอสืบได้แต่ต้องไถ่ทรัพย์คืนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รู้ว่าผู้ใดเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือรับของโจรรายนี้และยังไม่รู้ว่าทรัพย์ที่ถูกลักรายนี้ถูกเก็บรักษาไว้ ณ ที่ใด ทั้งยังไม่ได้มีการแจ้งความออกหมายจับคนร้าย จำเลยจึงไม่มีอำนาจหน้าที่จะจับกุมผู้ใดมาดำเนินคดีหรือนำทรัพย์ที่ถูกลักไปมาคืนผู้เสียหายหรือส่งมอบพนักงานสอบสวน ยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมผู้กระทำผิดศุลกากร: การรายงานจับกุมและการใช้อำนาจจับกุมของเจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ก.ต.ภ.
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับรายงานการจับกุมและรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้วต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วยเมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6(3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับเงินรางวัลจากการจับกุมความผิดทางศุลกากร ต้องเป็นการจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมายและมีรายงานการจับกุมที่ถูกต้อง
บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้าไม่ใช่การจับกุมตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 24/2508 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับใบแจ้งความนำจับ รายงานการจับกุม และรายงานการตรวจพบการเก็บอากรขาด เมื่อพนักงานศุลกากรจับกุมแล้ว ต้องทำรายงานการจับกุมต่อผู้บังคับบัญชาด้วย เมื่อผู้ร้องไม่ได้ทำรายงานการจับกุมเพียงแต่บันทึกกักสินค้าหลังใบขนสินค้า ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานศุลกากรจึงไม่ใช่ผู้จับกุมบุคคลที่กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินรางวัลการจับกุม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6 (3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ก.ต.ภ. ในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรมีอยู่เฉพาะตาม พระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2506 มาตรา 3ไม่ได้มีอำนาจทั่วไปอย่างที่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะพึงมี กล่าวคือมีอำนาจจับกุมจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคท้าย โดยไม่มีหมาย แต่ต้องจับด้วยตนเองและต้องเป็นกรณีออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งยังมีข้อจำกัดอำนาจอยู่ตามพระราชบัญญัติตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษีอากรและรายได้อื่นของรัฐ พ.ศ. 2503 มาตรา 6 (3) ว่าต้องเป็นกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วนด้วย จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสำนักงานที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่จำเป็นหรือเร่งด่วนที่จะต้องทำการจับกุมแต่อย่างใดอำนาจจับโดยไม่ต้องมีหมายประธาน ก.ต.ก. หามีอำนาจมอบให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานปฏิบัติแทนไม่ผู้ร้องที่เป็นพนักงาน ก.ต.ก. จึงไม่ใช่ผู้จับกุมจำเลยไม่มีสิทธิได้รับรางวัลการจับกุมเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีภาษีอากรของตำรวจ: ต้องมีคำขอจากเจ้าพนักงานสรรพากรเท่านั้น
เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรซึ่งมีเฉพาะแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมสรรพากร ร้องขอเท่านั้น หาได้มีข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้เป็นยุติว่า เจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร มิได้มีคำขอให้ดำเนินคดีแต่อย่างใด เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีการสอบสวนที่ได้กระทำไป จึงไม่ชอบพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีภาษีอากรของตำรวจ: ต้องมีคำขอจากเจ้าพนักงานสรรพากรเท่านั้น
เจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรซึ่งมีเฉพาะแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดกรมสรรพากร ร้องขอเท่านั้น หาได้มีข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าแต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงในคดีนี้ฟังได้เป็นยุติว่าเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากรมิได้มีคำขอให้ดำเนินคดีแต่อย่างใดเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีการสอบสวนที่ได้กระทำไปจึงไม่ชอบพนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278-279/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและควบคุมตัวโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายและการปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานเข้าไปค้นกุฏิของโจทก์ที่ 1 โดยไม่มีหมายค้นค้นไม่พบของผิดกฎหมาย แล้วคุมตัวโจทก์ทั้งสองไปสถานีตำรวจโดยไม่มีหมายจับไม่แจ้งข้อหา โดยโจทก์ทั้งสองไม่เต็มใจไป เมื่อไปถึงสถานีตำรวจก็กำหนดให้นั่งจนถึงเวลา 14 นาฬิกาจึงให้กลับได้ พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการจับโดยไม่มีอำนาจจะทำได้ ซึ่งอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ได้ แต่กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 309เพราะเป็นการที่โจทก์ทั้งสองถูกจับพาไป มิใช่ถูกจำเลยข่มขืนใจให้ไปโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง เกียรติยศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตรวจค้นจับกุมของตำรวจชั้นสารวัตร: การปฏิบัติงานชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความถึงเจ้าพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีตำแหน่งสารวัตรตำรวจรวมอยู่ด้วยร้อยตำรวจเอก ม. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งเป็นตำรวจชั้นสารวัตรย่อมเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และมีอำนาจตรวจค้นจับกุมได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย และมาตรา 92 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2745/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตรวจค้นจับกุมของตำรวจชั้นสารวัตรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หมายความถึงเจ้าพนักงานในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งมีตำแหน่งสารวัตรตำรวจรวมอยู่ด้วยร้อยตำรวจเอก ม. ซึ่งเป็นสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งมีตำแหน่งเป็นตำรวจชั้นสารวัตรย่อมเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และมีอำนาจตรวจค้นจับกุมได้ โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 วรรคท้าย และมาตรา 92 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายจับ: ข้อยกเว้นตามกฎหมายเช็ค
สิบตำรวจจับจำเลยในที่รโหฐานเวลากลางคืนในข้อหาตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ซึ่งมีผู้ร้องทุกข์ไว้แล้ว ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหมายค้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้หมายจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังผู้ต้องหาได้รับการประกันตัว ถือเป็นเจตนาทำให้ผู้อื่นถูกจับ
เมื่อผู้เสียหายได้รับประกันตัว เหตุที่จะจับผู้เสียหายตามหมายจับของศาลก็เป็นอันหมดไป เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีเหตุจับผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยทราบดีอยู่แล้ว ยังจงใจใช้หมายจับที่ศาลได้ออกก่อนผู้เสียหายมีประกันตัวมาให้เจ้าพนักงานตำรวจจับผู้เสียหายอีกเจ้าพนักงานตำรวจจำต้องจับกุมตามหมายศาล จึงไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ ที่จะพิจารณาว่าสมควรจับกุมตามควรแก่กรณีหรือไม่ รูปคดีชี้ชัดว่าจำเลยมีเจตนาร้ายทำให้ผู้เสียหายต้องถูกจับ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310