พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมายจับ: กรณีอาจสงสัยว่าจะหลบหนี และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
จำเลยจับโจทก์ในข้อหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้ว่าการจับครั้งนี้จะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า แต่ก็เป็นกรณีอาจออกหมายจับได้โดยมีเหตุอันสมควรสงสัยว่าโจทก์จะหลบหนี และจำเลยรักษาการแทนผู้บังคับกองเป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปจับโจทก์ด้วยตนเอง แม้ไม่มีหมายจับก็ย่อมทำได้โดยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 วรรคสุดท้าย เมื่อจำเลยมีอำนาจจับโจทก์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมเจ้าพนักงานเมื่อพบเห็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า แม้ไม่ได้อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่สอบสวนโดยตรง
จำเลยไม่ยอมให้ร้อยตำรวจโท ว.จับกุม ได้ชกต่อยร้อยตำรวจโท ว.ที่จะเข้าจับกุม จำเลยซึ่งทำร้ายผู้อื่นซึ่งหน้า แม้ขณะเกิดเหตุร้อยตำรวจโท ว. จะเป็นร้อยเวรสอบสวนทำหน้าที่ สอบสวน และไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุ แต่ร้อยตำรวจโท ว.ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมจำเลยซึ่งกระทำความผิดซึ่งหน้าได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่ร้อยตำรวจโท ว.ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน และไปนั่งในร้านขายอาหาร ไม่ทำให้ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และทำร้ายเจ้าพนักงานเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมเจ้าพนักงาน: การกระทำความผิดซึ่งหน้า แม้เจ้าพนักงานทำหน้าที่อื่น
จำเลยไม่ยอมให้ร้อยตำรวจโท ว. จับกุม ได้ชกต่อยร้อยตำรวจโท ว.ที่จะเข้าจับกุมจำเลยซึ่งทำร้ายผู้อื่นซึ่งหน้า แม้ขณะเกิดเหตุร้อยตำรวจโท ว. จะเป็นร้อยเวรสอบสวนทำหน้าที่สอบสวน และไปนั่งในร้านอาหารที่เกิดเหตุ แต่ร้อยตำรวจโท ว.ก็เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ย่อมมีอำนาจจับกุมจำเลยซึ่งกระทำผิดซึ่งหน้า ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่ร้อยตำรวจโท ว.ทำหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน และไปนั่งในร้านขายอาหาร ไม่ทำให้ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดซึ่งหน้า การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ และทำร้ายเจ้าพนักงานเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการฟ้องคดี และหลักการเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกัน เมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้น จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่กระทบการฟ้องคดี และหลักการเพิ่มลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกันเมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้นจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คดีที่มีกรณีทั้งต้องเพิ่มโทษและลดโทษที่จะลงแก่จำเลยนั้นจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54 คือเพิ่มก่อนแล้วลดหรือไม่เพิ่ม ไม่ลด ถ้าในที่สุดคงลงโทษจำคุกจำเลยจริงไม่เกิน 20 ปีแล้วก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 51
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า เมื่อลงโทษจำคุกจำเลย20 ปีแล้ว จะเพิ่มโทษจำคุกจำเลยเกินกว่า 20 ปีไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ยังจะมีการลดโทษจำเลยด้วย แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมผู้ต้องหาในคดีอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีหมายจับ: การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
โจทก์แจ้งความว่า ย. ทำร้ายร่างกายโจทก์ ขอให้ดำเนินคดีแก่ ย.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดไม่มีอำนาจจับกุมโจทก์โดยไม่มีหมายจับ แต่อำนาจจับกุมตามมาตรา 78 นี้ ก็เป็นอำนาจโดยทั่ว ๆ ไปและมีมาตรา 136 บัญญัติเรื่องอำนาจพนักงานสอบสวนในการจับกุมและควบคุมไว้โดยเฉพาะเมื่อจำเลยเป็นพนักงานสอบสวนคดีที่หาว่า ย. กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และสอบสวนแล้วได้ความว่าโจทก์ก็เป็นผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย เพราะเป็นเรื่องวิวาทกัน ซึ่งความผิดนี้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่มีผู้ใดร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ เจ้าพนักงานก็ย่อมจับกุมและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดไว้สอบสวนได้ จำเลยจึงมีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ซึ่งมาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าจำเลยในระหว่างการสอบสวนได้ เพียงเพราะเหตุที่จำเลยจับกุมและควบคุมตัวโจทก์ไว้โดยไม่มีหมายจับนั้น จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจควบคุมตัวผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติการนอกหน้าที่ ไม่เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 157
องค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นจะต้องได้ความว่าการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติของเจ้าพนักงานนั้นอยู่ในหน้าที่ โจทก์พา ส. ไปแล้วได้จดทะเบียนสมรสกัน ม. บิดาของ ส. ไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมว่าโจทก์ฉุดคร่า ส. จำเลยที่ 2 เป็นนายตำรวจอยู่กองทะเบียนประวัติอาชญากรได้จับโจทก์บอกว่ามีคนแจ้งให้จับเรื่องฉุดผู้หญิง และขู่ให้ถอนทะเบียนสมรสเสีย เมื่อไปถึงสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมจำเลยที่ 2 ได้พาโจทก์ไปพบจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1เป็นนายตำรวจอยู่กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7ตำแหน่งนายเวรได้พูดขู่จะทำร้ายโจทก์และให้คนไปตามม.มา ม. บอกว่าจัดการก็แล้วกัน จำเลยที่ 1 ก็ให้จำเลยที่ 2 พาโจทก์ไปมอบให้นายร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม การกระทำของจำเลยดังนี้ เป็นการปฏิบัติการนอกหน้าที่ ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 157 เพราะจำเลยมิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่ ม. แจ้งความไว้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติการนอกหน้าที่ ไม่เข้าข่ายความผิดมาตรา 157
องค์ประกอบความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 นั้นจะต้องได้ความว่าการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติของเจ้าพนักงานนั้นอยู่ในหน้าที่ โจทก์พา ส. ไปแล้วได้จดทะเบียนสมรสกัน ม. บิดาของ ส. ไปแจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมว่าโจทก์ฉุดคร่า ส. จำเลยที่ 2 เป็นนายตำรวจอยู่กองทะเบียนประวัติอาชญากรได้จับโจทก์บอกว่ามีคนแจ้งให้จับเรื่องฉุดผู้หญิง และขู่ให้ถอนทะเบียนสมรสเสีย เมื่อไปถึงสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐมจำเลยที่ 2 ได้พาโจทก์ไปพบจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1 เป็นนายตำรวจอยู่กองบังคับการตำรวจภูธรเขต 7ตำแหน่งนายเวร ได้พูดขู่จะทำร้ายโจทก์และให้คนไปตามม.มา ม. บอกว่าจัดการก็แล้วกัน จำเลยที่ 1 ก็ให้จำเลยที่ 2 พาโจทก์ไปมอบให้นายร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม การกระทำของจำเลยดังนี้ เป็นการปฏิบัติการนอกหน้าที่ ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 157 เพราะจำเลยมิได้มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีที่ ม. แจ้งความไว้นั้น