พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องการส่งคำบังคับที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นหน้าที่ศาล แม้โจทก์มิได้คัดค้าน
ปัญหาว่าการส่งคำบังคับให้จำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นประเด็นในคดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านคำร้องของจำเลย ก็เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องไต่สวนเพื่อให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นยุติในทางหนึ่งทางใดเสียก่อน จึงจะสามารถวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นตามคำร้องของจำเลยได้ว่ามีเหตุสมควรเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ กรณีเช่นว่านี้ หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบเพิ่มเติม ศาลก็มีอำนาจที่จะเรียกพยานหลักฐานใดๆ อันเกี่ยวแก่ประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียก ย. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยมาเบิกความในฐานะพยานศาลจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, การชำระหนี้ไถ่ถอนการขายฝาก, และการพิสูจน์หลักฐาน
ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลกำหนดค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ดังนั้น แม้จำเลยไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลอาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาลไว้ว่า เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วนและกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม จึงไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยาน
การใช้สิทธิฟ้องขับไล่ในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อครบกำหนดไถ่คืนแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนและโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด ตราบใดที่จำเลยทั้งสองไม่ยอมออกไปการละเมิดก็ยังคงอยู่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดในที่ดินขายฝาก: ประเด็นอายุความและประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติม
เรื่องค่าเสียหายโจทก์บรรยายกล่าวไว้ในคำฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนว่าจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ให้การต่อสู้ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายได้ การชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182, 183 ไม่ได้กำหนดว่าในคดีแต่ละเรื่องนั้นให้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทได้เพียงครั้งเดียวจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมขึ้นมาในระหว่างการพิจารณาไม่ได้ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคสาม ให้อำนาจศาล เมื่อศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหายของโจทก์ขึ้นในระหว่างการพิจารณา เนื่องจากเห็นว่าในการชี้สองสถานครั้งแรกกำหนดประเด็นไว้ไม่ครบถ้วน และกำหนดให้โจทก์จำเลยนำสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในการสืบพยานแต่อย่างใดจึงชอบแล้ว
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การฟ้องขับไล่เป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของทรัพย์ปกป้องทรัพย์สินของตนไม่ให้จำเลยทั้งสามซึ่งไม่มีสิทธิเข้าเกี่ยวข้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ไม่มีกำหนดอายุความ ส่วนการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และการนับอายุความนั้น ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยทั้งสามอยู่ในที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายฝากแก่โจทก์มาโดยตลอด เมื่อโจทก์อ้างว่าครบกำหนดไถ่คืนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืน และโจทก์บอกกล่าวให้ออกไปจากที่ดินแล้วจำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไปเป็นการอยู่โดยละเมิด ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยทั้งสามไม่ยอมออกไป การละเมิดก็ยังคงมีอยู่ อายุความย่อมยังไม่เริ่มนับจนกว่าจะหยุดการทำละเมิดคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์และผลต่อการรับฟังพยานหลักฐาน: การปิดอากรแสตมป์ภายหลังทำสัญญาไม่กระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐานได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ ดังนี้ แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์ หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ การรับผิดเสียอากรเพิ่มตาม มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร หากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์หลังทำสัญญา & การรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถรับฟังได้หากเอกสารมีผลบังคับใช้
ประมวลรัษฎากรมาตรา118หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ดังนี้แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญาแต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้การรับผิดเสียอากรเพิ่มตามมาตรา113และมาตรา114แห่งประมวลรัษฎากรหากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่1และที่2อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมายจ.11และจ.12มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์อีก คำเบิกความของนางสาวป. ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้วการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ศาลจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสามและมาตรา114วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมและการพิจารณาค่าขึ้นศาลในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท
คดีนี้เป็นคดีที่ผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ของคดีสำหรับผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 ต้องพิจารณาแต่ละคนแยกกัน เมื่อปรากฏว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 เรียกร้องว่าเป็นของตนนั้นมีราคาไม่เกิน200,000 บาท จึงเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทผู้ร้องแต่ละคนและผู้คัดค้านที่ 1 จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม ในกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นว่าเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ศาลจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้ แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
คดีนี้ศาลชั้นต้นหยิบยกเหตุผลในคำสั่งว่า หากศาลสูงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่ตัดพยานผู้ร้อง ก็อาจย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่าย ฝ่ายผู้คัดค้านที่ได้ทำการสืบพยานไปบ้างแล้วก็ได้สืบพยานอย่างเต็มที่ ทั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ร้องขอครอบครองปรปักษ์อยู่ด้วยผู้ร้องหรือผู้คัดค้านจะนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังก็ไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใด นอกจากนี้พยานผู้คัดค้านก็ยังสืบไม่เสร็จ ซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธินำพยานเข้าสืบได้อีกจนสิ้นกระแสความ ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้านำพยานเข้าสืบได้ภายหลังที่ได้สืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จสิ้น และปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่ผู้คัดค้านทั้งสามถามค้านพยานผู้ร้องทั้งห้าแล้ว แต่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่ติดใจถามค้านเอง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการปฏิบัติไปโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86วรรคสาม
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งสาม เพียงขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบตามคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้ายื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้าสืบพยานหลังจากสืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสามชนะคดีมากกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอาศัยข้ออ้างตามปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ผู้คัดค้านแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคนละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ข) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีการวมกันมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่ผู้คัดค้านทั้งสาม
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม ในกรณีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อศาลเห็นว่าเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ศาลจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้ แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
คดีนี้ศาลชั้นต้นหยิบยกเหตุผลในคำสั่งว่า หากศาลสูงไม่เห็นด้วยกับคำสั่งที่ตัดพยานผู้ร้อง ก็อาจย้อนสำนวนมาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความทุกฝ่าย ฝ่ายผู้คัดค้านที่ได้ทำการสืบพยานไปบ้างแล้วก็ได้สืบพยานอย่างเต็มที่ ทั้งผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ร้องขอครอบครองปรปักษ์อยู่ด้วยผู้ร้องหรือผู้คัดค้านจะนำพยานเข้าสืบก่อนหรือหลังก็ไม่ทำให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใด นอกจากนี้พยานผู้คัดค้านก็ยังสืบไม่เสร็จ ซึ่งผู้คัดค้านมีสิทธินำพยานเข้าสืบได้อีกจนสิ้นกระแสความ ศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้านำพยานเข้าสืบได้ภายหลังที่ได้สืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จสิ้น และปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่ผู้คัดค้านทั้งสามถามค้านพยานผู้ร้องทั้งห้าแล้ว แต่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่ติดใจถามค้านเอง คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการปฏิบัติไปโดยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 86วรรคสาม
ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งสาม เพียงขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เดินเผชิญสืบตามคำร้องของผู้ร้องทั้งห้า และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้ายื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมและคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ร้องทั้งห้าสืบพยานหลังจากสืบพยานผู้คัดค้านทั้งสามเสร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น มิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านทั้งสามชนะคดีมากกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอาศัยข้ออ้างตามปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ผู้คัดค้านแต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคนละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ข) ท้าย ป.วิ.พ. แต่ผู้คัดค้านทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีการวมกันมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่ผู้คัดค้านทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการรับพยานเพิ่มเติมแม้สั่งงดสืบไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องนำพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมจะเรียกอะไรมาเป็นพยานหลักฐานเพื่อประกอบคดีอีกก็ได้แม้จะเป็นพยานหลักฐานของคู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนซึ่งศาลสั่งงดสืบพยานไปแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีคำขอพิจารณาใหม่
ปัญหาว่าโจทก์จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่เป็นประเด็นในคดีที่มีคำขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งถือว่าเป็นคำฟ้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม ได้ให้อำนาจแก่ศาลที่จะเรียกพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมได้ หากศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบเพิ่มเติม การที่ศาลชั้นต้นเรียกสมุดนัดความของเจ้าหน้าที่ศาลและเรียกเจ้าหน้าที่ศาลมาสอบถามเกี่ยวกับเรื่องวันนัดสืบพยานโจทก์นั้น จึงเป็นการนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกัน ประเด็นความประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
คดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในมูลละเมิด เป็นการกระทำเดียวกันกับคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดต่อชีวิต ประมาท และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ การที่จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง ยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ของคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในชั้นฎีกา เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2528 ส่วนคำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 ได้อ่านให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 จำเลยที่ 1ที่ 2 ในคดีแพ่ง จึงไม่อาจอ้าง คำพิพากษาฎีกาดังกล่าวได้ก่อนนั้น และปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้เคยยื่นคำร้องขออ้างคำพิพากษาฎีกาที่4531/2532 ต่อศาลอุทธรณ์ มาแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งอย่างใดดังนี้เห็นว่า คำพิพากษาฎีกาที่ 4531/2532 เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็น ในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับ พยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสู่สำนวนความในชั้นฎีกาได้ พนักงานอัยการเคยเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญากล่าวหาจำเลยที่ 2 เป็นจำเลย ว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งมี มูลคดีเป็นการกระทำเดียวกันกับคดีแพ่งมาก่อน คดีของโจทก์ใน คดีแพ่งจึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อผลของคำพิพากษา คดีส่วนอาญา มีคำวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มิได้กระทำประมาท เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้และคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อเท็จจริง ดังกล่าวศาลในคดีส่วนแพ่งจึงต้องถือตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 บัญญัติไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจำเลยสืบพยานแล้วถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา หากศาลเห็นว่าการสืบพยานเดิมครบถ้วน
โจทก์นำสืบพยานก่อน เสร็จแล้วแถลงหมดพยาน จำเลยที่ 2 นำสืบพยานและขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้สลักหลังเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จะขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวอีก หลังจากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เสร็จสิ้นแล้วไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ช่วยหาตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพื่อส่งไปเปรียบเทียบในการตรวจพิสูจน์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวได้ดำเนินการโดยครบถ้วนจนทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงย่อมมีอำนาจไม่อนุญาตให้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนั้นซ้ำใหม่ตามที่โจทก์ขอได้.