คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 318

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18196/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุริมสิทธิของผู้จัดการมรดกเหนือทรัพย์สินที่ถูกยึดบังคับคดี การใช้สิทธิก่อนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ก. ซึ่งออกเงินค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของกองมรดกที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาด การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 แต่ผู้ร้องจะใช้สิทธิได้ต่อเมื่อมีการบังคับคดีโดยนำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองก่อน ทั้งบุริมสิทธิของผู้ร้องไม่ปรากฏทางทะเบียน ดังนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถร้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนได้ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 318 ถึง 321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17549/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระ: แม้มีการซื้อทรัพย์หลุดจำนอง แต่การร้องคัดค้านทำให้สิทธิรับชำระหนี้ยังไม่สมบูรณ์ โจทก์มีสิทธิรับดอกเบี้ยจนกว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้น
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แต่จำเลยร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ร้องขอมิให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด อ้างว่าจะขอจัดการทรัพย์และร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลายครั้ง ทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้เป็นเวลาหลายปี พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขัดขวางการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วเสร็จในวันขายทอดตลาด และไม่แน่ว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เมื่อใด กรณีจึงทำให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยต่อไปตามสิทธิที่ปรากฏในคำพิพากษา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่โจทก์ซื้อทรัพย์ได้ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยผู้ฎีกายื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาต ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังวันใด ถือว่าวันดังกล่าวโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยเพราะไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ มาขัดข้องต่อการได้รับชำระหนี้ของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: การบังคับคดีไม่เสร็จสิ้นและหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งหมายแจ้งวันประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 306 จำเลยที่ 2 มิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง อันจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 296 มิได้บัญญัติให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หาได้ถึงที่สุดไม่
ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) และมาตรา 316 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคหนึ่ง และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 318 หากเจ้าพนักงานบังคับคดียังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์เนื่องจากยังไม่ได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ดังนี้ จึงถือว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างหลังโอนสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อระยะเวลาคัดค้านการบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ธนาคารศรีนคร เงินค่าจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารศรีนคร มิใช่ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินดังกล่าวเนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคงภายนอกผู้สุจริต และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ทำโดยวิธีปิดหมาย การบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ดังนั้น การยื่นคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินบังคับคดีค้างจ่ายของผู้จัดการมรดกของลูกหนี้สาบสูญ ภายใน 5 ปีนับจากวันที่ทราบสิทธิ
ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316, 318 และ 322 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลังจากมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว คือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายโดยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายตามบัญชีนั้นต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดียังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยมีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เช่น ส่งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้จำเลยทราบแล้ว จึงจะถือว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบังคับคดีที่เหลือให้ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการจ่ายเมื่อทวงถาม มิเช่นนั้นยังไม่ถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว มีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ขั้นตอนหนึ่ง และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316, 318 และ มาตรา 322 วรรคสอง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินบังคับคดีค่าจ้าง: การคำนวณภาษีเฉพาะเงินที่จ่ายในคราวปัจจุบัน
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 จตุทศ,50,52ให้บุคคลผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีเงินได้ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างและนำส่งณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน จำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินต้องหักภาษีทุกคราวที่มีการจ่าย ถ้าจำเลยที่ 1มิได้หักและนำส่งเงินภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ผู้มีเงินได้พึงประเมินด้วยตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 โดยตรงจำเลยที่ 1 มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในคราวที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้อง แต่เงินซึ่งได้จากการบังคับคดีสำหรับค่าจ้างที่ค้างชำระเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จ่ายให้โจทก์ที่ 1 กรณีเช่นนี้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1แทนจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเอง จำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ได้ เพื่อจะได้ส่งเป็นเงินภาษีต่อไป การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้น แต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้.
of 3