พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ และสิทธิในการอุทธรณ์
พ. ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 4, 5, 6, 10, 12, 15 ศาลชั้นต้นตรวจสอบการจับแล้ว มีคำสั่งว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดจริง การจับเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้คัดค้านสืบเสาะข้อเท็จจริงและจัดทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้น ต่อมาผู้คัดค้านรายงานว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรีเห็นว่า ผู้ต้องหาอาจกลับตนเป็นพลเมืองดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง พนักงานอัยการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 โดยส่งแผนให้ศาลชั้นต้นพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เนื่องจากความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 86 ได้ จึงไม่อนุญาต ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 (กฎหมายเดิม) และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติเป็นมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนยุติธรรมเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตามมาตรา 63 (กฎหมายเดิม) ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 (กฎหมายใหม่) ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบกับแผนหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผน ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง ต้องให้ศาลพิจารณาก่อน ถ้าศาลเห็นชอบกับแผน และมีการปฏิบัติตามแผนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) นอกจากนี้ตามมาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร" บ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตรานี้ว่า ให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้สั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า มาตรา 86 เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจและพนักงานอัยการในการพิจารณาแผนบำบัดฟื้นฟู โดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นนั้น ผู้อำนวยการสถานพินิจหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กเยาวชนแทนการดำเนินคดีอาญา
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 86 (กฎหมายที่แก้ไขใหม่) บัญญัติให้ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาแก่เด็กหรือเยาวชน อันมีลักษณะเป็นการใช้กระบวนการเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมปกติได้เช่นเดียวกับกฎหมายเดิมคือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 63 ซึ่งมาตรา 63 ให้อำนาจเด็ดขาดแก่พนักงานอัยการที่จะสั่งไม่ฟ้องโดยไม่ผ่านการพิจารณาของศาล แต่ตามมาตรา 86 ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่าเห็นชอบด้วยกับแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูหรือไม่ ถ้าไม่เห็นชอบด้วยกับแผนผู้อำนวยการสถานพินิจไม่มีสิทธิโต้แย้ง แต่ถ้าพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยกับแผน พนักงานอัยการยังไม่มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง จะต้องให้ศาลพิจารณาก่อน ถ้าศาลเห็นชอบกับแผนและมีการปฏิบัติตามแผนครบถ้วนแล้ว พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องตามมาตรา 88 โดยมาตรา 86 วรรคสาม ใช้ถ้อยคำว่า "ให้ศาลพิจารณาสั่งตามที่เห็นสมควร" จึงบ่งชี้ให้เห็นเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวว่า ให้ศาลตรวจสอบแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูอีกชั้นหนึ่งก่อนและให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควร อันเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูที่ผู้คัดค้านเสนอต่อศาลชั้นต้นว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ รัฐเป็นผู้เสียหายจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 86 ได้ จึงเป็นการสั่งตามที่เห็นสมควรดังกล่าว ผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อุทธรณ์ว่าการพิจารณาแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูตามมาตรา 86 เป็นอำนาจของผู้คัดค้านและพนักงานอัยการเท่านั้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาผัดฟ้องคดีเยาวชนหลังฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นผล
ผู้ต้องหาถูกจับกุมขณะบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 50 กำหนดให้เจ้าพนักงานผู้รับเด็กหรือเยาวชนมีหน้าที่ต้องแจ้งการจับกุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ชักช้า ดังนั้น ผู้อำนวยการสถานพินิจย่อมมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการจัดทำรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนได้ โดยไม่จำต้องรอรับตัวเด็กหรือเยาวชนมาควบคุมภายหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เป็นที่พอใจ และพนักงานสอบสวนก็ต้องดำเนินการสอบสวนโดยกระทำควบคู่ไปพร้อมกับกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องขอผัดฟ้องบัญญัติว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม แต่หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องได้ทันตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคสองและวรรคสาม จึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดให้มีการสอบสวนและฟ้องเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับการพิจารณาคดีโดยเร็ว นอกจากนั้น พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป เมื่อการสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปด้วย แม้มาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.นี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การที่ไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฝากขังหรือผัดฟ้องเฉพาะช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องนำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังเท่านั้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องระบุว่า พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ต้องหาไม่เป็นที่พอใจตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 นับถึงวันที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่ถูกจับกุม ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องขอผัดฟ้องบัญญัติว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการเพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม แต่หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องได้ทันตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคสองและวรรคสาม จึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดให้มีการสอบสวนและฟ้องเด็กหรือเยาวชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับการพิจารณาคดีโดยเร็ว นอกจากนั้น พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีต่อไป เมื่อการสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปด้วย แม้มาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.นี้ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การที่ไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฝากขังหรือผัดฟ้องเฉพาะช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องนำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังเท่านั้น
ผู้ร้องยื่นคำร้องระบุว่า พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ต้องหาไม่เป็นที่พอใจตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 นับถึงวันที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2554 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่ถูกจับกุม ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 51
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13188/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ฎีกาของโจทก์ร่วมที่ขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาจึงชอบที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยพึงต้องใช้แก่โจทก์ร่วมไปตามข้อเท็จจริงตามผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12449/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง กรณีการนำบัตรเครดิตของผู้อื่นไปใช้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และรับว่าเมื่อเกิดกรณีไปรษณีย์ภัณฑ์ที่โจทก์ฝากส่งสูญหาย จำเลยที่ 2 ได้ตั้งกรรมการสอบสวนและได้ความจากการสอบสวนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่นำจ่ายไปรษณีย์ภัณฑ์ของโจทก์และนำบัตรเครดิตที่อยู่ในไปรษณีย์ภัณฑ์ดังกล่าวของโจทก์ไปใช้ตามที่โจทก์ฟ้องจริง โดยจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพไว้ต่อคณะกรรมการของจำเลยที่ 2 กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างและจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดด้วยในฐานะนายจ้าง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า จำเลยที่ 2 มีไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2544 ซึ่งออกตามพ.ร.บ ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 กำหนดขอบเขตความรับผิดกรณีไปรษณีย์ภัณฑ์สูญหายไว้และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เป็นกรณีการสูญหายตามปกติ มิใช่กรณีการกระทำละเมิดของลูกจ้าง จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นอ้าง เพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8819/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีหย่า: กรณีอุทธรณ์เฉพาะเหตุหย่า (คดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์)
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์และจำเลยหย่ากัน ให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของโจทก์ ให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและแบ่งสินสมรส จำเลยอุทธรณ์เฉพาะประเด็นเรื่องเหตุหย่าเพียงประการเดียว จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8069/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพยายามฆ่า: ศาลฎีกายืนตามศาลชั้นต้น แต่ความผิดบางส่วนขาดอายุความ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เมื่อฟังว่าจำเลยกระทำความผิด จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลย อันเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8049/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาการยื่นคำให้การหลังศาลสั่งรอการพิจารณาคดีในคดีเยาวชนและครอบครัว
เจ้าหน้าที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2555 การส่งหมายมีผลเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยต้องยื่นคำให้การภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ถือว่าได้รับหมาย
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาดและให้รอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ไม่มีบทบัญญัตินิยามคำว่า "การพิจารณา" และ "กระบวนพิจารณา" จึงต้องนำบทนิยามตาม มาตรา 1 (4) และ 1 (7) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ดังนั้น การยื่นคำให้การของจำเลยซึ่งเป็น "กระบวนพิจารณา" อย่างหนึ่ง จึงจำต้องรอไว้ก่อน มีผลให้ระยะเวลานับแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของประธานศาลฎีกาดังกล่าวย่อมไม่นับรวมในกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำให้การภายในสิบห้าวัน
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือไม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนให้ประธานศาลฎีกาชี้ขาดและให้รอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ไม่มีบทบัญญัตินิยามคำว่า "การพิจารณา" และ "กระบวนพิจารณา" จึงต้องนำบทนิยามตาม มาตรา 1 (4) และ 1 (7) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้โดยอนุโลม ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ดังนั้น การยื่นคำให้การของจำเลยซึ่งเป็น "กระบวนพิจารณา" อย่างหนึ่ง จึงจำต้องรอไว้ก่อน มีผลให้ระยะเวลานับแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 จนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งของประธานศาลฎีกาดังกล่าวย่อมไม่นับรวมในกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำให้การภายในสิบห้าวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6850/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรยื่นคำร้องริบทรัพย์หลังศาลตัดสิน: ความล่าช้าในการตรวจสอบทรัพย์สินเป็นเหตุสมควรได้
เหตุอันสมควรที่แสดงได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 27 นั้น มิใช่เหตุที่เกิดจากผู้ร้องฝ่ายเดียว หากมีเหตุอันสมควรเกิดจากความยุ่งยากและความซับซ้อนในการตรวจสอบทรัพย์สินของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็นับว่ามีเหตุอันสมควรเช่นกัน การที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ไว้ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2546 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้มีคำสั่งมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2546 แต่เพิ่งมีหนังสือถึงผู้ร้องให้ยื่นคำร้องขอริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2548 ทั้ง ๆ ที่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านทั้งสี่ที่ถูกตรวจสอบมีจำนวนไม่มาก ส่วนมากเป็นสังหาริมทรัพย์มีรูปร่างมูลค่าไม่สูงมากหรือมีความซับซ้อนยากแก่การตรวจสอบและอยู่ในราชอาณาจักรสามารถตรวจสอบได้โดยง่าย กระบวนการตรวจสอบนับตั้งแต่ที่มีการยึดทรัพย์จนถึงวันที่แจ้งให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลใช้เวลากว่าสองปี นับว่าเป็นเวลานานเกินสมควร จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6