พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการมีอำนาจฟ้องคดีการสมรสที่เป็นโมฆะ
โจทก์สมรสกับพันตรี จ. ในขณะที่พันตรี จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึงโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรี จ. หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่าในปี 2532 ไม่ ฉะนั้นในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้นโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขัดต่อกฎหมาย และการแก้ไขจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฐานะทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้ตามบันทึกข้อตกลงในสำเนารายงานประจำวัน ระบุว่า โจทก์จะไม่เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยอีกนั้น ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการสละสิทธิที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 ข้อตกลงในส่วนนี้จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ จึงต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย: ผู้สืบสันดานและผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบโดยชัดแจ้งว่า บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ว. ผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน คือ ค. ผู้เยาว์ ดังนั้น ค. บุตรของ ว. ผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตายถือเป็นผู้สืบสันดาน เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ ไม่ว่าบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม และเห็นว่า คดีนี้ ค. ผู้เยาว์ เป็นผู้มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย บ. มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทน ค. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น บ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ค. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: การบวกโทษคดีเก่า, ผลกระทบ พ.ร.บ.ล้างมลทิน, และการริบของกลาง
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 มีผลให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ที่ได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเท่านั้น จำเลยที่ 1 ได้รับการรอการลงโทษ ย่อมไม่มีวันพ้นโทษ ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงไม่ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาลสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ขอให้บวกโทษและไม่ฎีกา ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ศาลย่อมบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนได้
แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ขอให้บวกโทษและไม่ฎีกา ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ศาลย่อมบวกโทษจำคุกของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับการรอการลงโทษไว้ในคดีก่อนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนคำพิพากษาบุตรชอบด้วยกฎหมาย - สิทธิมรดก - การโต้แย้งสิทธิ
คำพิพากษาในคดีก่อนที่พิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547, 1557 (3) เดิม เมื่อไม่มีบทกฎหมายสารบัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลภายนอกที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีคำพิพากษาหรือคำสั่งไม่ผูกพันบุคคลภายนอกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผลของการที่ไม่อาจเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าวได้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายซึ่งเป็นทายาทลำดับแรกมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทลำดับถัดลงไปย่อมไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคแรก จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในการรับมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นจำคุกหลังอายุครบ 24 ปี จากเดิมคือควบคุมและอบรม
จำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปี ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้ใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไว้จึงไม่เหมาะสม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาในการกำหนดวิธีการสำหรับเด็กหรือเยาวชนซึ่งศาลคำนึงถึงพฤติการณ์เฉพาะเรื่องตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 119 ประกอบมาตรา 142 แม้โจทก์จะไม่อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีการให้เหมาะสมได้เพราะมิใช่การเปลี่ยนแปลงโทษ จึงไม่ใช่การเพิ่มเติมโทษ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. 212 และมาตรา 225 เมื่อพิจารณาความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว อาศัยอำนาจตามมาตรา 142 วรรคท้ายเปลี่ยนแปลงวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนใหม่เป็น หลังจากจำเลยทั้งสองอายุครบ 24 ปีแล้วให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปจำคุกไว้ในเรือนจำมีกำหนด 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยร่วมกระทำความผิด มีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กนั้นไม่ยินยอม
การที่ บ. ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้วเรียกจำเลยเข้าไปในห้อง ส่วน บ. ออกจากห้องไปรอที่รถ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเรา จำเลยก็เรียกให้ บ. เข้าไปช่วยจับหัวไหล่ผู้เสียหายที่ 2 ไว้เพื่อข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ได้นั้น เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยกับ บ. คบคิดหรือนัดแนะกันมาแต่ต้น ถือว่าได้กระทำชำเราโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กนั้นไม่ยินยอมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.สถานบริการและการกำหนดโทษที่เหมาะสมตามบทกฎหมายอื่น
ที่โจทก์ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดโทษปรับแก่จำเลยก่อนลดโทษเป็นเงิน 4,000 บาท เป็นการวางโทษต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง เห็นว่า แม้ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 โดยไม่ระบุวรรคให้ชัดเจน แต่ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 อ้างว่าเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ย่อมแสดงว่าศาลชั้นต้นลงโทษตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอาวุธที่จำเลยพาติดตัวไปเป็นอาวุธปืน เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด โดยให้ยกโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 55 และให้ปรับ 4,000 บาท ก่อนลดโทษนั้น เป็นเพียงการปรับบทลงโทษตามมาตรา 28/2 วรรคสอง ให้ถูกต้องเท่านั้น แต่มิได้แก้ไขโทษให้สูงขึ้นด้วย เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในส่วนที่พิพากษาให้ยกโทษจำคุก และให้ปรับ 2,000 บาท จึงเป็นการกำหนดโทษให้เหมาะสมสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่ายังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยเท่านั้น หาใช่ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 กำหนดโทษเช่นว่านั้นสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 28/2 วรรคสอง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 215/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พฤติการณ์ต้องแสดงถึงเจตนาและพฤติการณ์ร่วมกัน
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของสายลับโทรถึงจำเลยที่ 2 ให้นำ 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 4 เม็ด มาส่งให้จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายแก่สายลับ จากนั้นจำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบ 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้สายลับและรับเงินจากสายลับก็เพื่อหักเอากำไรไว้ก่อน ก่อนที่จะชำระแก่จำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 มี 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 8 เม็ด และส่งให้จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายแก่สายลับ 4 เม็ด แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเคยมีพฤติการณ์ร่วมกันจำหน่าย 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนมาก่อน จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครอง 3,4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน 8 เม็ด เพื่อจำหน่ายอีกฐานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17167/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถ vs ผู้ครอบครอง: หน้าที่ทำประกันภัย พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย - ผู้ใช้รถมีหน้าที่
ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถถือเป็นผู้หนึ่งที่เป็นเจ้าของรถตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 นอกจากนี้ผู้มีสิทธิครอบครองรถก็ถือว่าเป็นเจ้าของรถด้วยซึ่งหาได้จำกัดเฉพาะแต่ผู้มีสิทธิครอบครองรถตามสัญญาเช่าซื้อเพียงอย่างดียวไม่ แต่ผู้เป็นเจ้าของรถที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยนั้นต้องเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ หากเป็นเจ้าของรถแต่ไม่ได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 ที่จะต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย คดีนี้จำเลยขายรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุให้ พ. ตามสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขบังคับโดยมีข้อสัญญาว่ากรรมสิทธิ์ในรถจะโอนไปยังผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อผ่อนชำระราคาครบถ้วน และจำเลยมอบรถให้ พ. ไปครอบครองเป็นผู้ใช้แล้ว พ. ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หาใช่จำเลยผู้ขายซึ่งมิได้ใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น จำเลยมิใช่ผู้มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย จึงไม่ต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นแก่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย