พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8035/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในเอกสารทางการเงินโดยมิชอบ เพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้อง ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเองในช่องผู้ถือบัตรในใบบันทึกรายการขาย เพื่อให้ ท. กับพวกและผู้อื่นหลงเชื่อว่าใบบันทึกการขายเป็นเอกสารสิทธิที่ถูกต้องแท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยให้การรับสารภาพ โจทก์ไม่สืบพยานจึงต้องฟังตามฟ้อง เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยลงลายมือชื่อของจำเลยเอง มิได้ลงลายมือชื่อของเจ้าของบัตรเครดิตก็ตาม แต่การลงลายมือชื่อของจำเลยดังกล่าวเท่ากับยืนยันว่าบันทึกการขายนั้น ทำโดยเจ้าของบัตรเครดิต ถือว่าจำเลยลงลายมือชื่อจำเลยโดยมีเจตนาเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเจ้าของบัตรเครดิตเป็นผู้ลงลายมือชื่อที่แท้จริง การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใบบันทึกการขายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์ที่มีสัญญาเช่าซื้อก่อน การโอนกรรมสิทธิ์ และสิทธิของบุคคลภายนอก
โจทก์ซึ่งอยู่ในฐานะบุคคลภายนอกผู้มีเพียงบุคคลสิทธิเหนือห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ตามสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนทะเบียนรถบัสพิพาทระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กับจำเลยที่ 2 หรือให้จำเลยที่ 2 กรรมการบริษัท ด. โอนทะเบียนรถพิพาทมาให้โจทก์ได้ เพราะหลังจากทำสัญญาซื้อขายรถบัสพิพาทกับห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ไม่เคยได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทอันจะสามารถโอนทะเบียนให้แก่โจทก์ได้
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม
ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าเพราะเป็นเรื่องบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์โดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1303 และโจทก์เป็นผู้ครอบครองทรัพย์นั้น การเรียกเอาสังหาริมทรัพย์ตามหลักกฎหมายดังกล่าวผู้เรียกต่างต้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เรียกด้วยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งก่อนจึงจะพิจารณาว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายครอบครองทรัพย์ในลำดับต่อไป แต่คดีนี้ได้ความว่า โจทก์ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทแต่อย่างใด เพียงแต่มีสิทธิจะได้รับเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัท พ. ครบถ้วนแล้วเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าได้กรรมสิทธิ์ในรถบัสพิพาทโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์อย่างใดๆ ได้ แม้ว่าโจทก์จะครอบครองรถบัสพิพาทก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาต: การยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์เป็นเพียงข้อมูลประกอบการพิจารณา
แม้การค้าเร่และการค้าแผงลอยจะไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 มาตรา 7 (1) แต่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 ได้บัญญัติให้ผู้ประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและมีกฎกระทรวงว่าด้วยการขอและออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่าและแลกเปลี่ยน จำหน่ายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2552 ข้อ 1 (1) (ค) ได้กำหนดให้ผู้ขออนุญาตต้องนำเอกสารและหลักฐานซึ่งมีสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมคำอนุญาตด้วย เอกสารและหลักฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลที่จะให้นายทะเบียนใช้ประกอบในการพิจารณาเท่านั้น ซึ่งการไม่ยื่นสำเนาทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ใช่คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์ตามที่มาตรา 39 ได้บัญญัติไว้ ดังนั้น จึงยังมิอาจถือได้ว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ในความหมายตามมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 อันจะทำให้ฟ้องของโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6839/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอายัดเงินสหกรณ์: เงินปันผล vs. เงินเฉลี่ยคืน/ค่าหุ้น เมื่อสมาชิกลาออก
ข้อความในหนังสือแจ้งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่มีสาระสำคัญว่า ขออายัดเงินปันผลและเงินอื่นๆ ของจำเลยที่ 1 ทุกปีจนกว่าจะชำระหนี้ตามหมายบังคับคดีเสร็จสิ้น นั้น ได้แยกการอายัดเงินของจำเลยที่ 1 ออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ เงินปันผลส่วนหนึ่ง และเงินอื่นๆ นอกจากนั้นอีกส่วนหนึ่ง ในส่วนของเงินปันผล พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (1) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการขออายัดคดีนี้ บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นของสมาชิกแต่ละคนที่ชำระแล้ว เงินปันผลจึงเป็นเงินที่ผู้คัดค้านต้องจ่ายแก่สมาชิกทุกคนเป็นรายปีทุกๆ ปีขณะที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ ส่วนเงินอื่นๆ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 60 (2) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติให้สหกรณ์จัดสรรกำไรสุทธิประจำปีจ่ายเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนธุรกิจที่สมาชิกได้กระทำไว้กับสหกรณ์ในระหว่างปีแต่ละปี เงินเฉลี่ยคืนจึงเป็นการจัดสรรจ่ายให้แก่เฉพาะสมาชิกบางคนที่ทำธุรกิจกับสหกรณ์ และจ่ายเฉพาะในปีที่ทำเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายให้เป็นการเฉพาะในแต่ละครั้ง ไม่อาจจ่ายเป็นประจำทุกปีเสมอไปได้ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 เพราะ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 42 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นของสมาชิกนั้น เว้นแต่สมาชิกภาพนั้นจะสิ้นสุดลง ซึ่งไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด และไม่ทราบล่วงหน้าด้วยว่าจะต้องจ่ายเมื่อใด จึงเป็นการจ่ายเฉพาะในแต่ละครั้งและไม่อาจจ่ายเป็นประจำปีรายได้เช่นกัน ดังนั้น คำขออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามหนังสือแจ้งอายัดในข้างต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งอายัดรวมถึงเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทสันนิษฐานการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และการปรับบทกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย...(2) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไป หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป" ซึ่งเป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักสุทธิรวม 1.697 กรัม ซึ่งมีปริมาณน้ำหนักสุทธิตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ให้ถือว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยมีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงมีความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.244 กรัม ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 18 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 1.697 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.244 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย ปรับบทกฎหมายและกำหนดโทษใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำผิดแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ..." แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนไปด้วย แม้จำเลยจะรู้หรือไม่รู้ว่าพวกของจำเลยมีอาวุธปืนจำเลยก็ต้องมีความรับผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง
จำเลยกับพวกเดินทางมาที่เกิดเหตุโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แม้หลังจากที่ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนยิงจำเลย จำเลยกับพวกจะแยกย้ายกันหลบหนีโดยทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ที่มีการใช้สกอตเทปสีดำติดเปลี่ยนเลขทะเบียนรถอำพรางเลขทะเบียนที่แท้จริงเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ แล้วเข้าไปพยายามปล้นทรัพย์ที่บ้านของผู้เสียหาย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมายังบ้านของผู้เสียหายเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ และหากปล้นทรัพย์สำเร็จจำเลยกับพวกย่อมใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวพาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
จำเลยกับพวกเดินทางมาที่เกิดเหตุโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ แม้หลังจากที่ผู้เสียหายใช้อาวุธปืนยิงจำเลย จำเลยกับพวกจะแยกย้ายกันหลบหนีโดยทิ้งรถจักรยานยนต์ไว้ในที่เกิดเหตุก็ตาม แต่การที่จำเลยกับพวกใช้รถจักรยานยนต์ที่มีการใช้สกอตเทปสีดำติดเปลี่ยนเลขทะเบียนรถอำพรางเลขทะเบียนที่แท้จริงเป็นยานพาหนะเดินทางมายังที่เกิดเหตุ แล้วเข้าไปพยายามปล้นทรัพย์ที่บ้านของผู้เสียหาย ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยใช้รถจักรยานยนต์เดินทางมายังบ้านของผู้เสียหายเพื่อกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ และหากปล้นทรัพย์สำเร็จจำเลยกับพวกย่อมใช้รถจักรยานยนต์คันดังกล่าวพาทรัพย์นั้นไปจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ: มาตรา 226 และ 226/1 ป.วิ.อ. ศาลพิจารณาประโยชน์อำนวยความยุติธรรมเหนือกว่า
การแอบบันทึกเทปขณะที่มีการสนทนากันระหว่างโจทก์ร่วมกับพยานและจำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์ร่วมและพยานไม่ทราบมาก่อน เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบห้ามมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานนั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 แม้หลักกฎหมายดังกล่าวจะใช้ตัดพยานหลักฐานของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ แต่ ป.วิ.อ. มาตรา 226 ไม่ได้บัญญัติห้ามไม่ให้นำไปใช้กับการแสวงหาพยานหลักฐานของบุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม ระหว่างพิจารณาคดีได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมาตรา 11 บัญญัติให้เพิ่มมาตรา 226/1 ป.วิ.อ. กำหนดให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบได้ ถ้าพยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรมมากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อมาตรฐานของระบบงานยุติธรรมทางอาญา ศาลจึงนำบันทึกเทปดังกล่าวมารับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญของสหกรณ์ ต้องผ่านมติคณะกรรมการดำเนินการก่อน ไม่สามารถเรียกโดยประธานหรือเลขานุการได้โดยลำพัง
แม้ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 116 วรรคสาม จะบัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่สมาชิกเป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญ ให้คณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ" อันมีลักษณะเป็นสภาพบังคับให้คณะกรรมการดำเนินการฯ ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกร้องขอก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่อำนาจของกรรมการดำเนินการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนที่จะเรียกประชุมได้โดยลำพัง เมื่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ชอบที่เรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณากันเสียก่อน และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ จะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นการกระทำของคณะกรรมการดำเนินการฯ นั้น ตามระเบียบสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยว่าด้วย การเลือกตั้ง การประชุม และการดำเนินกิจการของคณะกรรมการดำเนินการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2542 ข้อ 78
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
เมื่อผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 จำนวน 56 คน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของผู้แทนของสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 400 คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการดำเนินการฯ ให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญในวันที่ 9 มกราคม 2544 การที่ ช. กรรมการดำเนินการกำหนดนัดประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกโจทก์ที่ 1 ร้องขอ โดยไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมคณะกรรมการดำเนินการฯ เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าวก่อนมีมติให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ การประชุมและการลงมติในที่ประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2544 จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมติที่กำหนดนัดวันประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 ในวันที่ 22 มกราคม 2544 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือว่าการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 2/2544 เป็นการประชุมที่ไม่มีการเรียกนัดประชุมไว้ก่อน การประชุมและการมีมติในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเช่าทรัพย์สินทางปัญญา: เริ่มนับเมื่อมีอัตราค่าบริการที่ชัดเจน
การที่จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากท่อร้อยสายและเส้นใยแก้วนำแสงอันเป็นสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ โดยมีการกำหนดอัตราค่าใช้บริการตามระยะทางที่ใช้งานจริงเป็นรายเดือนหรือช่วงระยะเวลาอันจำกัดตามระเบียบองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จำเลยตกลงยอมชำระตามอัตราที่โจทก์กำหนดขึ้น อันมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ เมื่อโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการค้าและให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกชนิดทุกประเภท รวมทั้งการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับโทรคมนาคม วิทยุคมนาคม กับธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องและใกล้เคียงกัน ดังนั้น การให้เช่าท่อร้อยสายและเส้นใยแก้วนำแสงของโจทก์จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับโทรคมนาคม วิทยุคมนาคม กับธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องและใกล้เคียงกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์จากจำเลย อันมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
ขณะอนุญาตให้จำเลยใช้บริการนั้นโจทก์ยังไม่ได้มีการกำหนดอัตราค่าใช้บริการไว้ โจทก์เพิ่งกำหนดอัตราค่าใช้เส้นใยแก้วนำแสงและอัตราค่าใช้ท่อร้อยสายตามระเบียบองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2540 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ ย่อมแสดงว่าก่อนหน้าที่ระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับโจทก์และจำเลยไม่อาจนำปริมาณการใช้ท่อร้อยสายและเส้นใยแก้วนำแสงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2540 มาคิดคำนวณเป็นค่าเช่าในแต่ละเดือนได้เพราะยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการกันไว้ ต่อมาเมื่อโจทก์มีระเบียบกำหนดอัตราค่าใช้เส้นใยแก้วนำแสงและอัตราค่าใช้ท่อร้อยสายใช้บังคับ โจทก์จึงสามารถนำอัตราค่าใช้บริการตามระเบียบดังกล่าว ไปคำนวณกับปริมาณการใช้งานจริงเพื่อให้ทราบถึงค่าเช่าในแต่ละเดือนได้ โจทก์จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)
ขณะอนุญาตให้จำเลยใช้บริการนั้นโจทก์ยังไม่ได้มีการกำหนดอัตราค่าใช้บริการไว้ โจทก์เพิ่งกำหนดอัตราค่าใช้เส้นใยแก้วนำแสงและอัตราค่าใช้ท่อร้อยสายตามระเบียบองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2540 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับ ย่อมแสดงว่าก่อนหน้าที่ระเบียบดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับโจทก์และจำเลยไม่อาจนำปริมาณการใช้ท่อร้อยสายและเส้นใยแก้วนำแสงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2540 มาคิดคำนวณเป็นค่าเช่าในแต่ละเดือนได้เพราะยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการกันไว้ ต่อมาเมื่อโจทก์มีระเบียบกำหนดอัตราค่าใช้เส้นใยแก้วนำแสงและอัตราค่าใช้ท่อร้อยสายใช้บังคับ โจทก์จึงสามารถนำอัตราค่าใช้บริการตามระเบียบดังกล่าว ไปคำนวณกับปริมาณการใช้งานจริงเพื่อให้ทราบถึงค่าเช่าในแต่ละเดือนได้ โจทก์จึงอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6)