พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13881/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา จากการไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล
ตามรายงานกระบวนพิจารณา ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า คดีของโจทก์มีมูล ให้ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยทั้งสามมาให้การในวันเดียวกับวันนัดพร้อม และให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วัน โจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวตามที่โจทก์ได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณานั้นแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลานั้น ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) อันเป็นการทิ้งฟ้อง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เสียจากสารบบความจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการส่งคำบังคับ: ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์ชำระได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกคำบังคับเพื่อให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นออกคำบังคับจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการส่งคำบังคับ: อำนาจศาลสั่งให้โจทก์รับผิดชอบได้ตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกคำบังคับเพื่อให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นออกคำบังคับจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์ ดังนั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสามได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7548/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยไม่ชำระค่าธรรมเนียมส่งสำเนาอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ
ในชั้นตรวจอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยภายใน 15 วัน แต่จำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น แม้ตามทางปฏิบัติจะมีหนังสือแจ้งให้ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแทนก็ตาม แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง ส่วนเงินที่โจทก์ได้วางไว้ในขณะยื่นคำฟ้องเป็นประกันค่าใช้จ่ายต่อศาลตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 11 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 6 มิใช่เงินที่โจทก์ได้วางไว้เป็นการชำระค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้า หากโจทก์ประสงค์จะให้หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเป็นค่าธรรมเนียมในคดีจากเงินประกันดังกล่าว ก็ชอบที่โจทก์จะแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบและได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นก่อน ข้อที่โจทก์อ้างว่าได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายนำหมายของศาลชั้นต้นว่าได้วางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาลแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่าจะดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยโดยหักเงินค่าธรรมเนียมในการส่งจากเงินประกันดังกล่าว แม้เป็นความจริงก็เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบ เมื่อโจทก์มิได้ชำระเงิน ค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลย เป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) และมาตรา 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำส่งสำเนาอุทธรณ์: การปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการเสียค่าธรรมเนียมเพียงพอต่อการนำส่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของผู้ร้องว่าส่งให้โจทก์หากไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมายได้นั้นจะถือว่าศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยหาได้ไม่กรณีเช่นนี้เพียงแต่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมในการส่งไปชำระแก่เจ้าหน้าที่ก็ถือว่าผู้ร้องได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัด การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่านัดไต่สวนมูลฟ้องให้โจทก์นำส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดให้จำเลยส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องกำหนด7วันดังกล่าวแม้จะไม่ระบุให้ชัดว่านับแต่วันใดก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่าในแถลงใน7วันนับแต่วันส่งสำเนาคำฟ้องและหมายนัดไม่ได้หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานเดินหมายรายงานผลการส่งหมายต่อศาลไม่เมื่อโจทก์ไม่แถลงต่อศาลใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้ตามคำสั่งศาลจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้จำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษ ศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่จำเลยในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ และผลของการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามคำสั่งศาล
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่ง สำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้อง จัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมาย รายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่ง ในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลงถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควรเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลจะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า "จำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15 สิงหาคม 2534 ว่าจำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงินและเรียกคืนหนี้เมื่อผู้กู้ผิดสัญญา การกระทำไม่เป็นละเมิด
คดีนี้จำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้ผู้อุทธรณ์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายภายในกำหนด 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง จึงเป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์จะต้องนำพนักงานเดินหมายไปส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเอง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสี่ได้ไปเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น ปรากฏว่าพนักงานเดินหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 15 เดือนเดียวกันว่า รอจำเลยทั้งสี่แถลง ถ้าจำเลยทั้งสี่นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ด้วยตนเองแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็จะทราบผลทันทีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสี่ก็ต้องแถลงให้ศาลชั้นต้นทราบต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรภายในเวลาอันสมควร เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่นำส่งเองกลับปล่อยให้พนักงานเดินหมายไปส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยทั้งสี่เองที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า"รอจำเลยทั้งสี่แถลง" โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสี่แถลง และไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยทั้งสี่ทราบอีก จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยชอบแล้ว การที่จำเลยทั้งสี่ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 15สิงหาคม 2534 ว่า จำเลยทั้งสี่ไม่แถลงเข้ามาเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือนเศษศาลชั้นต้นจึงได้มีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว ได้สั่งให้ โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน แต่โจทก์มิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ ให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด อีกทั้งโจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งเท่านั้น มิได้นำส่งเอง กรณีถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง