คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 48

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15984/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าใหม่หลังข้อตกลงเดิมไม่เป็นผล และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต รวมถึงอำนาจฟ้องแย้ง
คดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนหย่ากันและต่างฝ่ายจะถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้งซึ่งกันและกัน โดยศาลชั้นต้นจดข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว และโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ถอนฟ้องแล้วตามข้อตกลง แต่ต่อมาโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนหย่า ภายหลังกลับมาฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะมีเหตุใหม่และเป็นคนละประเด็นกับคดีเดิม ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ: การขาดการจดบันทึกการนั่งพิจารณาและการพิจารณาพยานหลักฐานโดยไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ กำหนดนัดพิจารณาให้โจทก์จำเลยมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ย ให้การและสืบพยาน ก่อนถึงกำหนดนัด ศาลสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 เนื่องจากโจทก์ทิ้งฟ้อง เมื่อถึงวันนัดโจทก์อ้างส่งเอกสารต่อศาล 14 ฉบับ แล้ววันเดียวกันนั้น ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งดังกล่าว โดยศาลชั้นต้นมิได้จดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาว่ามีคู่ความฝ่ายใดมาศาลบ้าง รวมทั้งการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ที่จำเป็นตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ทั้งไม่ปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาดังกล่าว จำเลยที่ 2 มาศาลหรือไม่ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ตามมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ถ้าจำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การก่อนหรือในวันนัดดังกล่าวให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การด้วย อันเป็นเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ตามมาตรา 204 กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นศาลจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ตามมาตรา 206 วรรคสอง ประกอบมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ที่นำมาบังคับใช้โดยอนุโลม การพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมาจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะสามารถอ้างส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายที่ยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน ถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (1) (2), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบันทึกคำให้การด้วยวาจาในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ต้องทำตามแบบพิมพ์ที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเป็นกระบวนการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก คดีนี้จำเลยแสดงความจำนงที่จะให้การด้วยวาจาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 193 วรรคสาม ศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องจัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดของคำให้การลงในแบบพิมพ์บันทึกคำให้การด้วยวาจาคดีมโนสาเร่ (แบบ ม.2 ) แล้วอ่านให้จำเลยฟังและให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ข้อ 2 การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดคำให้การด้วยวาจาของจำเลยลงในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งเป็นเอกสารที่บันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 โดยไม่ได้จัดให้เจ้าพนักงานศาลจดบันทึกรายละเอียดคำให้การของจำเลยลงในแบบพิมพ์ ม.2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุเวลาในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ไม่ได้ทำต่อหน้าคู่ความ
ป.วิ.พ. มาตรา 48 (3) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งสถานที่ วัน เวลา ที่ศาลนั่งพิจารณาหรือดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา แต่กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้กระทำต่อหน้าคู่ความ และต้องส่งรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นทำการอ่านแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงไม่ต้องระบุเวลาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในช่องที่ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การและการขาดนัดยื่นคำให้การ: รายงานกระบวนพิจารณาไม่ใช่คำให้การตามกฎหมาย
รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดแจ้งข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆ ของศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ป.วิ.พ. มาตรา 67 ว่าให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลที่จัดไว้และมีรายการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกคำแถลงของจำเลยที่ 4 ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ถือไม่ได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวเป็นคำให้การของจำเลยที่ 4
เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง และศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการมีคำขอของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198
รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 48 ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งใน ป.วิ.พ. มาตรา 67 ว่าให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลและมีรายการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในบทบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกคำแถลงของจำเลยที่ 4 ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ถือไม่ได้ว่ารายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าวเป็นคำให้การของจำเลยที่ 4
เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด กรณีจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องมีคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง และศาลชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานกระบวนพิจารณาไม่ใช่คำให้การ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องทำคำขอเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา
รายงานกระบวนพิจารณาเป็นเอกสารที่ศาลจดบันทึกข้อความเกี่ยวด้วยเรื่องที่ได้กระทำในการนั่งพิจารณาหรือในการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ส่วนคำให้การเป็นคำคู่ความซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 67 ว่า ให้คู่ความทำเป็นหนังสือโดยใช้แบบพิมพ์ของศาลและมีรายการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้บันทึกแถลงของจำลยที่ 4 ที่ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา และจำเลยที่ 4 ได้ลงลายมือชื่อไว้ ก็ถือว่าไม่ได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นคำให้การจึงถือว่าจำเลยที่ 4 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 4 ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป้นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตามมาตรา 198 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสี่จะแถลงยอมรับว่าเป็นหนี้ดจทก์ตามฟ้องและศาลชั้นต้นสามารถพิพากษาคดีโดยไม่ต้องทำการสืบพยานอีกต่อไป ก็ไม่ทำให้โจทก์หมทดหน้าที่ที่จะต้องมีคำขอตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อโจทก์มิได้มีคำขอศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ออกจากสารบบความได้ตามมาตรา 198 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบคำให้การจำเลยและทนายความ หากศาลชั้นต้นไม่ได้จดบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา แต่คดีความชัดเจน ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297, 83และคดีได้ความตามความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ.ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และ ป.วิ.พ.มาตรา 48 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ แม้มิได้จดบันทึก แต่การพิจารณาคดีไม่เสีย มิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297,83 และคดีได้ความตรงความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้น ได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลย เรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 48บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจาก ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้ พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้น ได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าทายข้อกฎหมายในคดีแรงงาน และผลผูกพันของข้อตกลงต่อโจทก์ที่ไม่ได้ร่วมท้า
โจทก์ทั้งเจ็ดคนและจำเลยตกลงท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า การที่ ร. ค้างชำระค่าจ้างโจทก์นั้นจำเลยจะต้องรับผิดด้วยหรือไม่ ถ้าจำเลยไม่ต้องรับผิดโจทก์ยอมแพ้คดี ถ้าต้องรับผิดจำเลยยอมใช้ค่าจ้างตามฟ้อง เมื่อศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าจ้างแก่โจทก์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 จำเลยก็ต้องแพ้คดีตามคำท้าหาจำต้องวินิจฉัยว่าลักษณะคดีเป็นจ้างทำของหรือจ้างแรงงานไม่ แต่เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานมิได้พิพากษาให้จำเลยชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ซึ่งร่วมท้าด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 5 ด้วย
ในวันท้ากันดังกล่าวศาลแรงงานจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ที่1ในรายงานนั้น และไม่แจ้งว่าโจทก์ที่ 1 ไม่มาศาล คำท้าจะมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วยหรือไม่ ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานดำเนินการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 3