คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 34

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8218/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, การส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์, และการฟ้องคดีที่เกินกำหนดเวลา
ตามสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 144 ถนนราชเสียงแสน ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบ้านตั้งแต่ปี 2509 ตลอดมา ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์อยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้นแต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานข้างต้นได้กลับปรากฎว่าโจทก์ยอมรับว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ส่งไปที่บ้านภรรยาเดิมของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโจทก์เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถือว่าบ้านดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ดังนั้น ถึงแม้จะรับฟังว่า โจทก์มีที่อยู่และที่ทำงานที่บ้านเลขที่ 542/94ถึง 97 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร อีกแห่งหนึ่งก็ดี ต้องถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่2 แห่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ดังนั้นบ้านเลขที่ 144 ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของโจทก์ตามกฎหมาย การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฎตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าอุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสนตำบลหายยา อำเภอเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียงและโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และ มาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าว ข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยชอบตามประมวลรัษฎากร เมื่อผู้รับเป็นผู้ทำงานในสำนักงานของบริษัท แม้ไม่ใช่พนักงานโดยตรง
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160แขวงหัวหมากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ. แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ. เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ. มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค. พนักงานของบริษัท อ. เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทนจึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารทางไปรษณีย์โดยชอบต่อบริษัท ที่มีบริษัทแม่มอบหมายให้บริษัทอื่นดูแลและใช้พนักงานร่วมกัน
โจทก์ประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย โดยมีสำนักงานอยู่ที่อาคารเลขที่ 2160 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร และใช้อาคารเลขที่ดังกล่าวเป็นสำนักงานประกอบพาณิชยกิจตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การที่จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปยังที่อยู่ของโจทก์ตามอาคารเลขที่ดังที่ระบุไว้ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
โจทก์เป็นบริษัทในเครือของบริษัท อ.แต่โจทก์ยังมีพนักงานไม่ครบสมบูรณ์ บริษัทแม่ในประเทศอังกฤษจึงมอบหมายให้บริษัท อ.เป็นผู้ดูแล การที่โจทก์ใช้พนักงานของบริษัท อ.มาโดยตลอดในการปฏิบัติงานจนเป็นปกติ ถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้หรือยอมรับเอาพนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้ดำเนินงานเสมือนหนึ่งว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นพนักงานของโจทก์เอง ฉะนั้นการที่พนักงานไปรษณีย์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ที่อาคารเลขที่ 2160 ดังกล่าว โดยมี ค.พนักงานของบริษัท อ.เป็นผู้รับเอกสารดังกล่าวไว้แทน จึงถือได้ว่าเป็นการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของโจทก์แล้ว จึงเป็นการส่งโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ค่าใช้จ่ายทางภาษี: ใบเสร็จที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่หักลดหย่อนได้
โจทก์มีใบเสร็จรับเงินซึ่งเขียนด้วยลายมือบุคคลคนเดียวกันรวม 43 ฉบับมาแสดงอ้างว่าซื้อสินค้าจากร้าน ช.และร้านท.แต่โจทก์ไม่อาจหาผู้รับเงินได้ทั้งสองรายอ้างว่าร้านค้าทั้งสองรายเลิกกิจการไปแล้ว และไม่อาจตามหาเจ้าของร้านมาแสดงตัวได้ดังนี้ โจทก์น่าจะนำสืบพยานหลักฐานอื่นประกอบให้น่าเชื่อว่าโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าไปจากร้านค้าทั้งสองจริง และได้ชำระเงินไปจริงด้วยวิธีการใด แต่โจทก์หาได้นำสืบอย่างหนึ่งอย่างใดไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินค่าสินค้าไปจริง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับยืนตามความเห็นของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อได้ทำคำวินิจฉัยเป็นหนังสือและส่งไปยังโจทก์ผู้อุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 จึงชอบแล้ว เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องให้เหตุผลในคำวินิจฉัยแจ้งไปยังผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใด รายจ่ายใดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินในรายการเกี่ยวกับรายจ่ายเหล่านั้นแล้ว โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินรายการนั้นไม่ถูกต้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากรต้องเป็นไปตามกฎหมาย มิฉะนั้นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ห้างหุ้นส่วนแม้จะได้เลิกกันแล้วก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1249 ดังนั้น การแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างฯ โจทก์ในอรรถคดีต่าง ๆ และการดำเนินกิจการของห้างฯ จึงเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1)และ (2) ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 และ 34 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและให้ส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการส่งไว้โดยเฉพาะแล้ว การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้โจทก์จะต้องไปส่งที่สำนักงานของห้างฯ โจทก์ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งให้ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ จึงจะเป็นการส่งโดยชอบ กรมสรรพากรจำเลยได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์โดยนำไปปิดไว้ที่หน้าบ้านของป. ซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของห้างฯ โจทก์ เมื่อห้างฯ โจทก์เลิกไปแล้ว ป. จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนโจทก์อีกต่อไป และสำนักงานของโจทก์อยู่คนละเลขที่กับบ้านของ ป. การส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้โจทก์ จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ประกอบมาตรา 8 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้เจ้าพนักงานของจำเลยทำเพื่อจะให้เกิดผลตามกฎหมาย หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามก็จะทำให้การส่งนั้นไม่มีผลเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยจงใจหรือละเลยไม่นำส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวแต่อย่างใดศาลจึงไม่อาจที่จะสั่งตามคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ใหม่ได้ เมื่อการส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์ยังมิได้ทราบผลการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการที่จำเลยสั่งยึดทรัพย์และประกาศยึดทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. มิใช่ทรัพย์ของโจทก์ จึงไม่มีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางอ้อมผ่านการส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการแจ้งโดยชอบตามกฎหมายภาษีอากร
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งหนังสือซึ่งมีถึงบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะ 2แห่งประมวลรัษฎากรไว้เป็นพิเศษในมาตรา 8 การที่เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายนั้น นอกจากเจ้าพนักงานศาลจะไม่ใช่เจ้าพนักงานสรรพากรตามกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว จำเลยยังเพียงแต่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แนบไปในฐานะเป็นเอกสารประกอบคดีดังกล่าวเท่านั้น หาใช่มีเจตนาจะส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โดยตรง ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.รัษฎากร การส่งแนบไปกับเอกสารคดีอื่นไม่ถือเป็นการแจ้งโดยชอบ
หลังจากโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ ต่อมากรมสรรพากรจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แนบไปด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายนั้น นอกจากเจ้าพนักงานศาลจะไม่ใช่เจ้าพนักงานสรรพากรตาม ป.รัษฎากร แล้ว การส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้จำเลยเพียงแต่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีนี้แนบไปในฐานะเป็นเอกสารประกอบคดีดังกล่าวเท่านั้น หาใช่มีเจตนาที่จะส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีนี้ให้แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โดยตรงตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติไว้ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสามโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และการฟ้องคดีเกินกำหนดในคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีภาษีอากร เกินกำหนดฟ้อง และการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การฟ้องเกินกำหนด 30 วัน และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับและข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาวส.อายุ 18 ปีคนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 3