พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีต้องยื่นรายการและมีสิทธิโต้แย้งการประเมินตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 18 และ 19 กำหนดให้ผู้รับประเมินหรือบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีมีหน้าที่ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณภาษีที่จะต้องเสียในปีต่อมา ดังนั้น ทรัพย์สินที่บริษัทจำเลยใช้ในปี 2539 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2540 เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินและแจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระไปยังจำเลย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีของโจทก์ทำแบบแจ้งรายการคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ให้แก่จำเลยซึ่งได้รับทราบแล้ว หากไม่พอใจจำเลยก็ชอบที่จะยื่นคำโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามมาตรา 25 ได้ และหากยังไม่พอใจในการชี้ขาดการประเมินก็อาจนำคดีไปสู่ศาลเพื่อแสดงให้ศาลเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้องได้แต่ต้องกระทำภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามมาตรา 31วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านหรือยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2540 ของโจทก์ไม่ชอบจำเลยต้องรับผิดชำระค่าภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 10 ของค่าภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 43(4) เนื่องจากจำเลยมิได้นำเงินมาชำระภายใน 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9691/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการเสียเงินเพิ่ม
หนังสือที่จำเลยมีถึงผู้อำนวยการเขตจตุจักรชี้แจงว่าจำเลยเช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี โรงเรือนหรืออาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นลักษณะชั่วคราว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งมีสิทธิที่จะขอคืนภาษีโรงเรือนและทีดินที่ชำระไปแล้ว และหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีโรงเรือนและที่ดินและรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระหนี้สินของจำเลยภายหลังถูกรัฐบาลบอกเลิกสัญญาสัมปทานก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานชั่วคราวที่พิพาทให้แก่บริษัทแล้ว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินนั้น มิใช่คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 และมาตรา 26 แห่งพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร และการฟ้องผู้ว่าฯ กทม. ในฐานะผู้ชี้ขาดประเมิน
ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม และคัดค้านการกำหนดภาระการพิสูจน์ ศาลชั้นต้นสั่งว่า หากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 25 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109 นอกจากนี้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่า เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้น ได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่า ปี 2539 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะ ที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ถูกต้อง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 25 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109 นอกจากนี้ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่า เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้น ได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำ ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่า ปี 2539 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะ ที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 361/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทภาษีอากร: การประเมินค่าเช่าที่สมควร และการพิจารณาทำเลที่ตั้งในการกำหนดอัตราค่าเช่า
ชั้นกำหนดประเด็นข้อพิพาท ทนายจำเลยได้โต้แย้งด้วยวาจาขอให้กำหนดประเด็นเพิ่ม ศาลชั้นต้นสั่งว่าหากจำเลยจะคัดค้านให้คัดค้านเข้ามาเป็นหนังสือภายใน 8 วัน จำเลยยื่นคำร้องแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่า ไม่มีเหตุสมควรเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสาม จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้ง จำเลยก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 50 จึงอาจฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีความในศาลได้ ไม่จำต้องเอากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความเสมอไป โดยเฉพาะในกรณีของภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครยังเป็นผู้พิจารณาการประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2535 มาตรา 25 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ มาตรา 50 และ 109นอกจากนี้พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 32 ยังกำหนดว่าเมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลซึ่งแก้คำชี้ขาดของอธิบดี กรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล (ในคดีนี้คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) นั้นได้ส่งไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แก้บัญชีการประเมินให้ถูกต้องโดยเร็ว ดังนี้ ผู้ที่จะถูกบังคับตามกฎหมายและคำพิพากษาโดยตรงก็คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการทั้งปวงของกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรุงเทพมหานคร และเมื่อมีการแก้ไขประเมินก็หมายถึงต้องคืนเงินภาษีที่รับชำระเกินมาจากผู้รับประเมินด้วย โจทก์จึงฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นจำเลยขอให้แก้ไขการประเมินและคืนเงินภาษีได้ เพราะเป็นการฟ้องจำเลยในฐานะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินและเป็นผู้แทนของกรุงเทพมหานคร มิใช่ฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัว
ค่ารายปีของโรงเรือนนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ จึงไม่อาจนำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเพียงอย่างเดียวมาเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีหรือค่าภาษีในปีภาษีที่พิพาทได้ ปรากฏว่าปี 2539เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อัตราค่าเช่าโรงเรือนในปีดังกล่าวจึงน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ทั้งตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 63/2538 ข้อ 2.1 ก็กำหนดให้พิจารณาปรับค่ารายปีตามภาวะเศรษฐกิจ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงต้องประเมินค่ารายปีโดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาดพื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 8 ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยใช้ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมาเพียงอย่างเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องทำภายในกำหนดและชำระภาษีค้างชำระก่อน
เมื่อจำเลยไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยอาจขอให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่มีมติยืนตามการประเมินที่แจ้งไป แล้วต่อมาคณะเทศมนตรีเมืองหนองคายมีคำชี้ขาดการประเมิน แล้วจำเลยยังไม่พอใจ จำเลยอาจนำคดีมาสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ทั้งนี้จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิโต้แย้งการประเมินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การต่ออายุสัญญาเช่า, และการประเมินค่าเช่าที่สมควร
สัญญาเช่าทรัพย์สินระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับโจทก์ผู้เช่าระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า การที่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าว เกินไปจำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่คืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินจำนวนนั้นไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ชำระเงินส่วนที่อ้างว่าเกินนั้น โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนี้คืนได้แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เองกรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องแทนผู้ให้เช่าโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินค่ารายปีโดยใช้ หลักเกณฑ์เทียบเคียงกับอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งใช้ประโยชน์ คล้ายคลึงกันและมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันคือ เทียบเคียงกับโรงเรือนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตรโดยคำนึงถึงค่ารายปีในปี 2537 ด้วยแล้วจึงประเมินพื้นที่อาคารสำนักงานและลายจอดรถ ซึ่งราคาประเมินลายจอดรถยังต่ำกว่าของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงดังกล่าว สำหรับป้อมยาม โรงอาหารโรงไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ต่อเนื่องกับอาคารไม่มีการประเมินเพิ่มทั้งนี้ได้คำนึงถึงดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการประกอบสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย ค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ประเมินไว้เป็นเงินค่ารายปีอันสมควร และมิได้สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปี 2538 การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องใช้สิทธิคัดค้านตามขั้นตอนกฎหมายก่อนจึงจะโต้แย้งความถูกต้องได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยชอบที่ จะยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 25 ได้ และหากจำเลยยังไม่พอใจในคำชี้ขาดก็นำคดีไปสู่ศาลได้ตามมาตรา 31 แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และมิได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นแก่โจทก์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นอันยุติห้ามมิให้จำเลยนำคดีไปสู่ศาลซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ดังนั้น จำเลยจะต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การเพิ่มค่ารายปีและเหตุผลอันสมควร
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถ และอาคารชั้นที่ 5 โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว ซี่งในส่วนที่เป็นลานจอดรถนั้น จำเลยที่ 1 เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคาร แม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตาม เมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่ง เพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้ เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 1 ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้ว โจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่ 7 ถึงที่ 10 โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมา แม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้ว เมื่อปรากฏว่าอาคารต่าง ๆ หลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้น จึงไม่มีเหตุผลอันสมควร การประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การเพิ่มค่ารายปีต้องมีเหตุผลสมควร และการพิจารณาค่าเช่าลานจอดรถ
กรุงเทพมหานครจำเลยที่1ประเมินค่ารายปีของอาคารโจทก์ในส่วนที่เป็นลานจอดรถและอาคารชั้นที่5โดยได้ประเมินเท่ากับค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วซึ่งในส่วนที่เป็นลาดจอดรถนั้นจำเลยที่1เคยกำหนดค่ารายปีให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาคารแม้ค่าเช่าลานจอดรถจะรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยก็ตามเมื่อโจทก์ยอมรับว่าลานจอดรถสามารถคิดค่าเช่าได้เป็นส่วนหนึ่งเพียงแต่โจทก์คิดรวมอยู่ในค่าเช่าอาคารด้วยเท่านั้นดังนั้นจำเลยที่1ย่อมจะประเมินจำนวนเงินที่สมควรจะให้เช่าลานจอดรถได้เมื่อโจทก์ยอมชำระภาษีไปแล้วโดยมิได้ร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่เท่ากับโจทก์เห็นด้วยว่าจำเลยที่1ได้ประเมินราคาค่าเช่าอันสมควรแล้วโจทก์จึงมิอาจยกมาโต้เถียงได้อีก จำเลยที่1ประเมินค่ารายปีในส่วนเป็นอาคารชั้นล่างและชั้นที่7ถึงที่10โดยได้ประเมินเพิ่มขึ้นจากการประเมินค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วและปีก่อนหน้านั้นซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา18การประเมินค่ารายปีจะต้องอาศัยค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีในปีต่อมาแม้ค่ารายปีอาจจะมีค่าไม่เท่ากันแต่จำเลยที่1ก็ต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะเพิ่มค่ารายปีขึ้นจากค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วเมื่อปรากฏว่าอาคารต่างๆหลายอาคารที่ตั้งอยู่บนถนนเดียวกับอาคารของโจทก์จำเลยที่1ก็ประเมินค่ารายปีเท่ากับปีที่ล่วงมาแล้วดังนั้นการที่จำเลยที่1นำอาคารของโจทก์ไปเปรียบเทียบกับอาคารบริเวณใกล้เคียงแล้วประเมินค่ารายปีเฉพาะบางชั้นของอาคารโจทก์ให้สูงขึ้นจึงไม่มีเหตุผลอันสมควรการประเมินในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีนำก่อนจึงจะรับฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้