คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือน เจ้าของอยู่อาศัยเอง แม้ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ว่าโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง เจ้าของจะต้องมีชื่อในทะเบียนด้วยจึงจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โรงเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์อยู่เอง แม้โจทก์จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โจทก์ก็ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน
จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1แกล้งชี้ขาดและรับชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือน เจ้าของไม่ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้รับสิทธิได้
พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475มาตรา 10 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ ว่าโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เอง เจ้าของจะต้องมีชื่อในทะเบียนด้วยจึงจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โรงเรือนพิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์อยู่เองแม้โจทก์จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน โจทก์ก็ย่อมได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีในฐานะผู้ชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แกล้งชี้ขาดและรับ ชำระภาษีไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 คืนภาษีที่จำเลยที่ 2 รับชำระไว้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 705/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์การประเมินภาษีทำให้จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุผลต่อสู้คดีในศาล
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินหรือขอให้ผู้มีอำนาจตามที่ระบุไว้ในมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ จำเลยจึงไม่อาจนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ตามมาตรา 31 และการนำคดีขึ้นสู่ศาลหมายความรวมถึงการต่อสู้คดีเมื่อถูกฟ้องด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผลของการไม่โต้แย้งการประเมินและการสิ้นสิทธิในการอ้างเหตุผลความไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมิน หรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ตามที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 25 กำหนดไว้ และมิได้ชำระค่าภาษีให้โจทก์ตามที่กฎหมายกำหนด จึงเท่ากับว่าผลของการประเมินของโจทก์เป็นยุติแล้ว โดยห้ามมิให้จำเลยนำคดีมาสู่ศาล ซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งว่า การประเมินไม่ถูกต้องด้วย ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว จำเลยจะต่อสู้คดีว่าการประเมินไม่ถูกต้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนโดยไม่ขอพิจารณาการประเมินใหม่ ขัดต่อก.ม.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปแล้วโดยอ้างว่าโรงเรือนของโจทก์เป็นโรงเรือนที่ได้รับงดเว้นภาษีนั้นเป็นฟ้องที่ถือได้ว่าการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานในปีที่ขอคืนนั้นเป็นการไม่ชอบในเมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันฟังเป็นยุติว่าเงินค่าภาษีในปีที่โจทก์ขอคืนนั้นโจทก์มิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา25และ26ของพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา31ของกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนโดยไม่ขอประเมินใหม่ตามกฎหมาย
การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปในปีภาษี 2520 และ 2522 โดยอ้างว่าโรงเรือนของโจทก์เป็นโรงเรือนที่ได้รับงดเว้นภาษีนั้น เป็นฟ้องที่ถือได้ว่าการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานในปีที่ขอคืนนั้นเป็นการไม่ชอบ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงรับกันว่าเงินค่าภาษีในปีที่โจทก์ขอคืนนั้น โจทก์มิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 และ 26 ของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลตามที่กำหนดในมาตรา 31 ของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่ารายปีจากค่าเช่าหอพัก และอำนาจพิจารณาของเทศบาล
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ให้ผู้รับประเมินชำระภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่า ก็ให้ถือเอาค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปีมิใช่จะต้องคำนวณค่ารายปีจากค่าเช่าที่เจ้าของโรงเรือนให้เช่าเท่านั้น โรงเรือนของโจทก์แบ่งเป็นห้องๆใช้ทำเป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพัก เป็นรายได้ที่แน่นอนการประเมินค่ารายปีจากรายได้นี้ จำเลยย่อมคิดค่าภาษีโดยวิธีคำนวณจากรายได้ที่โจทก์ได้รับเป็นเกณฑ์ เท่ากับที่สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ได้
โรงเรือนของโจทก์ใช้เป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพักแม้โจทก์จะอยู่อาศัยในหอพักด้วยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การติดตั้งเครื่องมิเตอร์ปั๊มน้ำและมิเตอร์ประปา กับเครื่องปั๊มลมและอื่น ๆ ในโรงเรือนของโจทก์ ก็เพื่อความสะดวกและเป็นเพียงบริการแก่ผู้มาพักเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องกระทำเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมตามความหมายของมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงไม่ได้รับลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 4 บัญญัติให้เทศบาลจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในเขตเทศบาลเป็นของเทศบาลเอง และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 36 และมาตรา 39 บัญญัติให้มีเทศมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลดังนั้น อำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ซึ่งเดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 25 ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรจึงตกมาเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของคณะเทศมนตรีอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอพิจารณาการประเมินค่าภาษีโรงเรือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2925/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีและการฟ้องคัดค้านการประเมิน: การชำระภาษีหลังได้รับคำชี้ขาดไม่ตัดสิทธิในการฟ้อง
มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ที่บัญญัติให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีแก่กรมการอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งทรัพย์นั้นตั้งอยู่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินนั้น เป็นหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระได้ที่ไหนเมื่อใดเท่านั้นหาใช่เป็นบทบังคับเด็ดขาดว่าจะต้องชำระค่าภาษีตามการประเมินเบื้องต้นเสมอไป เพราะตามมาตรา 25 และมาตรา 26 บัญญัติให้โอกาสแก่ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจการประเมินเบื้องต้นร้องขอไปยังผู้มีอำนาจชี้ขาดการประเมินได้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมินเพื่อให้มีการพิจารณาการประเมินนั้นใหม่ ทั้งค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 นั้น ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นเงินค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา 43 และอาจถูกบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยพนักงานเก็บภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 ต่อไปด้วย การไม่ชำระภาษีตามมาตรา 38 กฎหมายมิได้ถือเป็นการตัดสิทธิผู้รับประเมินในการฟ้องร้องคดีเพื่อโต้แย้งการประเมินภาษีแต่ประการใด
วันที่ 5 สิงหาคม 2508 โจทก์ได้รับใบแจ้งการประเมินภาษีจากจำเลยให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินไปชำระให้จำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ประเมินภาษีใหม่เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 21 พฤษภาคม2512 โจทก์ได้รับคำชี้ขาดจากจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเท่าที่ประเมินไว้เดิมโจทก์จึงนำภาษีกับเงินเพิ่มอีกร้อยละสิบไปชำระให้จำเลยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2512 แล้ววันรุ่งขึ้นโจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อแสดงว่าการประเมินภาษีไม่ถูกต้อง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 31 เพราะโจทก์ได้ฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดและฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการต้องห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามมาตรา 39 เพราะก่อนฟ้องโจทก์ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นเสร็จแล้ว ทั้งนี้ ไม่จำต้องคำนึงว่าหนี้ค่าภาษีถึงกำหนดชำระหรือเลยกำหนดชำระขณะฟ้องหรือยัง
จำเลยประเมินภาษีจากรายได้ค่าเช่าห้องพักตามแบบ ภ.ร.ด.2ของโจทก์ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้รับประเมินจะต้องกรอกรายการตามความเป็นจริง ตามความในมาตรา 20 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิได้สั่งการให้แก้ไขรายการเป็นอย่างอื่น ก็ต้องถือว่าเป็นจำนวนค่าเช่าสุทธิสำหรับการประเมินภาษีเพราะตามมาตรา 8 บัญญัติว่า ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่าท่านว่า ค่าเช่านั้นเป็นหลักคำนวณค่ารายปี ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอลดค่าภาษี ลงโดยอาศัยเทียบเคียงเสมอกับโรงแรมอื่นแต่อย่างใดจะฟังว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่เป็นการถูกต้องหาได้ไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตัดสินลดภาษีให้โจทก์ได้ (ฟ้องต้องห้ามตามมาตรา 39 หรือไม่วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2516)
of 4