คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1054

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนต่อหนี้ภาษีที่เกิดขึ้นจากการใช้ชื่อร่วม
จำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศ คือบริษัท พ. และบริษัท ล. ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้ชื่อประกอบการว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." และเข้าทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร จากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศอีกสองบริษัทดังกล่าวร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง แม้หลังจากกิจการร่วมค้าฯ ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะโอนสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดในกิจการร่วมค้าฯ ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่กิจการร่วมค้าฯ ทำสัญญากับกรุงเทพมหานครและยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจนกระทั่งเลิกกิจการ มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ มาโดยตลอด โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกิจการร่วมค้าฯ ย่อมต้องทราบเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น กลับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการไม่ยินยอมหรือคัดค้านการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ และเหตุในการประเมินภาษีคดีนี้เนื่องจากการกิจการร่วมค้าฯ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงระยะเวลาที่มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของกิจการร่วมค้าฯ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของบุคคลภายนอกต่อหนี้ของห้าง ความแตกต่างจากห้างหุ้นส่วนสามัญ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ก็หามีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความรับผิดของหุ้นส่วนและบุคคลภายนอกที่เข้าไปดำเนินกิจการ
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ การที่จำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมถึงการรับฟังพยานหลักฐานทางเอกสาร
ป.วิ.พ. มาตรา 93 บัญญัติให้รับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานแต่ก็มีข้อยกเว้นให้รับฟังสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับได้ ตามอนุมาตรา (1) ถึง (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจกท์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของท้ายฟ้อง และสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบส่งของอยู่ที่จำเลย จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับได้ โดยโจทก์ไม่จำต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 (นางประไพ) เป็นสามีภริยากันและเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ในห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกู้เงินจากธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น พฤติการณ์บ่งชี้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นเชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้น บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วนคือต้องรับผิดโดยไม่จำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภท คือผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความรับผิดไม่เท่ากันจึงไม่อาจนำเอามาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 4 (นางประหยัด) ไม่ใช่หุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้าง จำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดและการใช้ชื่อร่วมในห้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันสั่งซื้อและรับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยทั้งสี่มิได้ร่วมกันสั่งซื้อสินค้าและ รับสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากโจทก์ตามสำเนาใบสั่งของชั่วคราวและสำเนา ใบสั่งของชั่วคราวดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม เท่ากับว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่รับว่าต้นฉบับสำเนาใบสั่งของชั่วคราว ดังกล่าวอยู่ที่จำเลยทั้งสี่ จึงเป็นกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาโดยประการอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) ศาลย่อมมีอำนาจที่จะรับฟังสำเนาเอกสารใบส่งของชั่วคราวแทนต้นฉบับเอกสารดังกล่าวได้ โดยโจทก์ไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกต้นฉบับเอกสารก่อน
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นสามีภริยา และเป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คนในห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 2 นำชื่อของตนไประคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 แต่แรกเริ่มจัดตั้งห้างจำเลยที่ 1 และได้ร่วมกันกู้เงินธนาคารมาก่อสร้างสถานีบริการน้ำมันและเป็นทุนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 มาแต่ต้น จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์เสมือนหนึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1082
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญคือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด ดังนั้นบุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1054 จึงบัญญัติให้รับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามัญเสมือนเป็นหุ้นส่วน คือต้องรับผิดโดยไม่มีจำกัดจำนวนหนี้ ส่วนห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองประเภทคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดและพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งมีความผิดไม่เท่ากัน จึงไม่อาจนำมาตรา 1054 มาใช้บังคับกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ เพราะไม่อาจกำหนดได้ว่าจะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนประเภทใด จึงได้บัญญัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อบังคับใช้กับผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไว้โดยเฉพาะในมาตรา 1082 โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ยินยอมโดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็น ชื่อห้างรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด
จำเลยที่ 4 ไม่ใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 แม้จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนเป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้ลงชื่อในเช็คโดยไม่ได้ประทับตรา
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ. น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ. เป็นที่ตั้งห้างฯอ. บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ. นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ. นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ. กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมูลหนี้จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นหุ้นส่วนและการรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การที่จำเลยนำสืบและฎีกาว่า อ.น้องภริยาจำเลยต้องการตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยจึงตกลงให้ใช้ชื่อจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใช้บ้าน อ.เป็นที่ตั้งห้างฯ อ.บริหารกิจการเอง จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเอกสารต่าง ๆของห้างฯ รวมทั้งเช็ค 3 ฉบับ เพื่อให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ โดยยังไม่ได้ประทับตราของห้างฯและกรอกข้อความนั้น ถือว่าจำเลยเป็นผู้ที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วน จึงต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้สินของห้างนั้นเสมอเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1054 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เช็คที่จำเลยในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วนลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายและประทับตราของห้างฯ เป็นเช็คของห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ซึ่งจำเลยได้ลงชื่อสั่งจ่ายเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวให้ อ.นำไปใช้ในกิจการของห้างฯ เมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกไม่ทราบการปฏิบัติระหว่าง อ.กับจำเลย ดังนั้น ในระหว่างคนทั้งสองใครจะเป็นผู้ประทับตราของห้างฯ และกรอกข้อความลงในเช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่สาระสำคัญ เช็คทั้งสามฉบับจึงไม่ใช่เช็คปลอม และต้องถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ค.ออกเช็คทั้งสามฉบับแลกเงินสดจากโจทก์ เช็คทั้งสามฉบับจึงมีมูลหนี้ จำเลยในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้หนี้เงินกู้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทซึ่งได้ระบุจำนวนเงินกู้ 690,000 บาท เท่ากับเงินตามเช็คทั้งสามฉบับและมีข้อความกล่าวถึงเช็คทั้งสามฉบับว่า หากเช็คดังกล่าวสามารถเรียกเก็บเงินได้ครบถ้วนแล้วให้ถือว่าหนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับในทันที ดังนี้มูลหนี้ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทจึงสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามเช็คซึ่งจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและแม้จำเลยได้ลงชื่อในสัญญากู้โดยไม่ได้ประทับตราของห้างฯ ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินจำนวน 690,000 บาท แก่โจทก์ตามสัญญากู้ที่โจทก์ฟ้องพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและผู้สั่งจ่ายเช็คในสัญญาประนีประนอมยอมความ รวมถึงการล้มละลาย
ข้อพิพาทตามสิทธิเรียกร้องที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ จำเลยที่ 2 จึงลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยไม่ต้องประทับตราห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ออกเช็คชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นความรับผิดตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 3 หาได้แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และได้ลงลายมือชื่อทางด้านห้างจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีข้อความระบุว่า "การชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้ชำระด้วยเช็คซึ่งสั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 3" ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 839,000 บาท ห้างจำเลยที่ 1 ได้ปิดกิจการตั้งแต่ก่อนถูกฟ้องคดีนี้ ตัวอาคารห้างรวมทั้งที่ดินถูกธนาคารยึด นำขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2ต้องอาศัยบุตรสาวอยู่ พฤติการณ์ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดไม่ต้องรับผิดหากตัวการเป็นผู้รับผิดตามสัญญาซื้อขาย
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มาด้วยก็ตามแต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้และโจทก์ก็มิได้คัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ หากศาลไม่วินิจฉัยประเด็นแสดงตนเป็นหุ้นส่วน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในการสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ได้แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะกล่าวว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มาด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ และโจทก์ก็มิได้คัดค้าน ถือได้ว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าต่อโจทก์
of 3