พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ซิมการ์ดเป็นทรัพย์มีรูปร่าง การรับซิมการ์ดที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกงเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
ตามคำฟ้องของโจทก์ ข้อ 1 บรรยายสรุปได้ว่า มีคนร้ายเอาไปเสียซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหายที่ 1 แล้วนำไปทำปลอมโดยนำภาพถ่ายของบุคคลอื่นมาปิดทับภาพถ่ายผู้เสียหายที่ 1 ในบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าว จากนั้น คนร้ายได้นำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมดังกล่าว ไปหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จนได้ซิมการ์ดและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้เสียหายที่ 2 ไป และตามคำฟ้องโจทก์ ข้อ 2 บรรยายว่า ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ซึ่งใช้กระทำผิดโดยใช้กับหมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ดของผู้เสียหายที่ 2 อยู่ในความครอบครองของจำเลยเป็นของกลาง ทั้งนี้โดยจำเลยรับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง หมายเลขโทรศัพท์และซิมการ์ด ไว้จากคนร้ายโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดลักษณะลักทรัพย์และฉ้อโกง ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ชัดเจน ทรัพย์แห่งการกระทำผิดฐานรับของโจรอันหนึ่งคือซิมการ์ด ของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างอันเป็นทรัพย์ตามคำจำกัดความตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 137 ไม่ใช่สิทธิการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรซิมการ์ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกข้อมูลและเอกสารจากบริษัท ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือเอาไปเสียซึ่งเอกสาร เนื่องจากข้อมูลไม่ใช่ทรัพย์และเอกสารไม่ใช่ความลับ
เอกสารข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไร-ขาดทุน และ สำเนาหนังสือเดินทาง เป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์จึงไม่ถือเป็นความลับของบริษัทลูกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด การที่จำเลยใช้เอกสารดังกล่าวปฏิบัติในหน้าที่ให้แก่โจทก์ร่วมเสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วม จึงไม่น่าจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น
ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง ดังนั้นข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ข้อมูล ตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า ข้อเท็จจริง หรือ สิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง ดังนั้นข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8915/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารที่ขายก่อนเสร็จและให้แก่ผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม: การหักลดหย่อนและการประเมิน
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ข้อ 2 (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขายไปภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประกาศดังกล่าวมิได้กำหนดว่าอาคารที่ขายต้องก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์หรือต้องขายในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แม้อาคารที่โจทก์ขายจะยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และขายให้แก่บริษัท ป. จำกัด ซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวก็ต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
อาคารแม้จะก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับ กับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับ ไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีข้อหารวม 18 ข้อหา ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ
อาคารแม้จะก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 การที่โจทก์ขายอาคารดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์
ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละฉบับรวม 17 ฉบับ กับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจำนวน 1 ฉบับ ไม่ถูกต้อง ซึ่งการประเมินแต่ละรายไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมีข้อหารวม 18 ข้อหา ตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงโดยการหลอกลวงให้ส่งมอบทรัพย์สินที่จำเลยมีสิทธิอยู่ การยึดถือเพื่อชำระหนี้
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่จำเลยมอบให้โจทก์เป็นประกันตามสัญญากู้ยืม โจทก์มีสิทธิจะยึดถือไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสียก่อน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แม้เป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว ตามสภาพเป็นวัตถุมีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงเป็นทั้งทรัพย์และทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137,138 ฉะนั้น ถ้าหากจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงโจทก์และการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ก็เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้ เพราะความผิดฐานนี้ ไม่ได้จำกัดว่าผู้ที่ถูกหลอกลวงจะต้องเป็นเจ้าของทรัพย์แม้จะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้ ใครหลอกลวงให้เขาส่งทรัพย์นั้นก็อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ทำขึ้นโดยถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ หากบอกล้างสัญญาก็เป็นโมฆะ
โจทก์กับพวกประมาณ 8 คน ไปที่บ้านจำเลยซึ่งมีเพียงจำเลยอาศัยอยู่กับบุตร 2 คน อายุ 10 ปี และ 12 ปี แล้วโจทก์ข่มขู่จำเลยว่าหากไม่ลงชื่อในสัญญากู้จะรื้อหรือเผาบ้านจำเลยนั้น ถือได้ว่าเป็นภัยถึงขนาดที่จะจูงใจจำเลยให้มีมูลต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของตนเองอันใกล้จะถึงและร้ายแรงเท่ากับที่จะพึงกลัวต่อการอันเขากรรโชกเอานั้น สัญญากู้ที่จำเลยทำให้แก่โจทก์จึงเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ จำเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างเหตุดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยบอกล้างสัญญากู้อันเป็นโมฆียะกรรมนั้นแล้วสัญญากู้จึงเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมโมฆียะจากเจตนาบกพร่องของผู้ป่วยหนัก ญาติสนิททราบแต่ยังทำสัญญา
แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในช่วงเวลาที่มีการโอนขายรถยนต์พิพาทส.ป่วยมากทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ก็ปรากฏในคำขอโอนทะเบียนรถยนต์ว่า ส.ลงชื่อในช่องผู้โอนในเอกสารดังกล่าวโดยวิธีลงลายมือชื่อ แสดงว่าขณะที่ ส.โอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองนั้น ส.มิได้ขาดเจตนาในการทำนิติกรรมเสียเลย แต่การกระทำโดยมีเจตนาบกพร่อง เนื่องจากขณะนั้น ส.มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองในฐานะที่เป็นญาติสนิทย่อมต้องทราบดี นิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทย่อมมีสิทธิบอกล่างโมฆียกรรมดังกล่าว และการที่โจทก์ฟ้องคดี ถือได้ว่าเป็นการบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143 แล้วนิติกรรมโอนขายรถยนต์พิพาทจึงตกเป็นโมฆะมาแต่แรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากสติไม่สมบูรณ์และฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรมซื้อขายจากสติไม่สมบูรณ์และการฉ้อฉล ทายาทมีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์กับ พ. จดทะเบียนสมรสกันเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2514ที่ดินตามฟ้อง พ. ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินเดิมของ พ. ต่อมาเมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แล้วที่ดินนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัวของ พ. ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง พ. จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ให้พ. ทำนิติกรรมเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องทั้งสองเหตุรวมกันมาก็ไม่เคลือบคลุมเพราะเหตุทั้งสองคือการใช้อุบายหลอกลวง กับการขู่เข็ญอาจเกิดพร้อม ๆ กันได้ ส่วนการใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ จำเลยกระทำอย่างไรเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้
พ. ทำสัญญาขายที่ดินให้จำเลยในขณะสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์และนิติกรรมดังกล่าวเกิดจากกลฉ้อฉลหรือการใช้อุบายหลอกลวงของจำเลย ย่อมเป็นโมฆียะ โจทก์ในฐานะทายาทของ พ. ย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137
การบอกล้างโมฆียะกรรมไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจให้บอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
เมื่อบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว นิติกรรมการซื้อขายตกเป็นโมฆะในการนี้ให้ผู้เป็นคู่กรณีได้กลับคืนยังฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม จำเลยจึงต้องโอนที่ดินกลับคืนให้แก่ทายาทของ พ. โดยผลของกฎหมาย และมิใช่เป็นการคืนโดยการเลิกสัญญา โจทก์จึงมิต้องเสนอคืนราคาที่ดินที่ พ.ได้รับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่เป็นโมฆียะตามพินัยกรรม
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.